ลุยงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อย. จัด e-Consult ช่วยผู้ประกอบการ

รัฐเร่งผลักดันงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อย. จัด e-Consult พร้อมระบบสนับสนุนผู้ประกอบการ นักวิจัย ออกผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสุขภาพสู่ท้องตลาดเร็วขึ้น

7 ส.ค. 2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มีนโยบายสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นรากฐานให้เศรษฐกิจเติบโตได้ยั่งยืนด้วยศักยภาพของคนไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการออกกฎหมายมารองรับหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

ขณะนี้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตผลิตภัณฑ์ก็ได้เร่งรัดกระบวนการทำงานเพื่อรับกับนโยบายการวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการปรับปรุงกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่าง โดยล่าสุดได้จัดทำระบบให้คำปรึกษา การอนุญาตที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์กลุ่มนวัตกรรมสุขภาพให้เติบโตได้มากขึ้น

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า อย. จัดให้มีบริการวินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือนักวิจัยสามารถยื่นขออนุญาตผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการวิจัยไปจนถึงพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ หรือ e-Consult

โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 66 ได้มีผู้ยื่นคำขอรับคำปรึกษาและคำขอรับการวินิจฉัยในระบบ e-Consult 4,892 คำขอ แบ่งเป็นคำขอรับการวินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3,236 คำขอ และคำขอรับคำปรึกษาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1,656 คำขอ แสดงให้เห็นแนวโน้มของการนำองค์ความรู้ งานศึกษาวิจัยด้านสุขภาพออกไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่มากขึ้น โดย อย.ได้ให้บริการ e-Consult แก่ผู้ประกอบการ หรือนักวิจัยที่ประสงค์รับคำปรึกษาผ่านช่องทาง [email protected], Line ID: @consult_fda และ โทร 1556

นอกจากนี้ อย. มีการจัดทำระบบสนับสนุนให้งานวิจัยนวัตกรรมสุขภาพออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยประสานงานกับภาคีเครือข่าย เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ หน่วยงานให้ทุน มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อดึงให้นักวิจัยที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและมีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology readiness level; TRL) อยู่ในระดับ 3 เป็นอย่างน้อยหรือมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว สามารถยื่นข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด และสินค้ากลุ่มนวัตกรรมสุขภาพสามารถอุตสาหกรรมที่เข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อนุทิน’ สั่ง กทม.เร่งสอบที่มาป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ตและสัญชาติ ย่านห้วยขวาง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้ทราบถึงกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงกรณีมีการติดตั้งป้ายโฆษณาภาษาจีน

เฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวง‘ ทส.-มท. ลุยแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ภัยแล้ง

‘เกณิกา’ เผย ‘ทส.-มท.’ จับมือเดินหน้าสานต่อ โครงการแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 72 แห่งเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง ครบ 6 รอบ 72 พรรษา

รัฐบาลชวนปชช. จอง-แลกเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เริ่ม 24 ก.ค.

รัฐบาลเชิญชวนประชาชน จอง-แลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ตั้งแต่ 24 ก.ค.นี้

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน