6 ส.ค.2566-เพจกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงานการเก็บกู้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันของไทยที่หลุดออกจากตำแหน่งติดตั้งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ว่า จากกรณีทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิที่ได้ติดตั้งในทะเลอันดามัน (ตัวใกล้) สถานี 23461 ไม่รายงานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความดันน้ำ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 และตรวจสอบพบว่าทุ่นได้เคลื่อนที่ออกจากจุดติดตั้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และทัพเรือภาคที่ 3 นำเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ออกเดินทางจากท่าเรือฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 เพื่อเก็บทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน (สถานี 23461) ที่หลุดออกจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ซึ่งการออกไปเก็บกู้ต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องเรือ และพิจารณาสภาพอากาศและท้องทะเลที่ปลอดภัย โดยออกเดินทางในวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. ซึ่งได้ติดตามตามพิกัด GPS ของทุ่นที่ส่งสัญญาณ
และในเวลา 14.20 น. เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้พบ ทุ่นฯ อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร (16 ไมล์ทะเล) และได้ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิเป็นที่เรียบร้อย โดยเรือจะเดินทางกลับและถึงท่าเรือฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 08.00 น. และจะนำไปเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เพื่อหาสาเหตุและข้อเท็จจริงของการหลุดและทำการบำรุงรักษาต่อไป
ทั้งนี้ จากการที่ตรวจพบความผิดปกติในกรณีที่ทุ่นไม่ส่งสัญญาน เกิดจากสาเหตุ ดังนี้ 1. กรณีไม่ส่งสัญญาณชั่วคราว อาจเกิดจาก สัญญาณดาวเทียมขัดข้อง คลื่นมรสุม หรือพลังงานไม่เสถียร ทำให้รับ – ส่งข้อมูลไม่ได้ 2. กรณีไม่ส่งสัญญาณถาวร เกิดจาก 2.1 ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ติดตั้งเดิม แต่เกิดการชำรุดกับอุปกรณ์และระบบต่างๆ เช่น ระบบพลังงาน ระบบสื่อสาร อุปกรณ์บันทึกข้อมูล 2.2 ทุ่นลอย (Surface Buoy) ของทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ หลุดออกจากการยึดโยงของสมอ และห่างจากรัศมีการส่งสัญญาณ (watch circle) กับชุดอุปกรณ์วัดความดันใต้ท้องทะเล (Bottom Pressure Recorder :BPR) เกิน 2 กิโลเมตร ทำให้ไม่สามารถรับ – ส่งสัญญาณได้
อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังคงปฏิบัติภารกิจการติดตาม เฝ้าระวัง และแจ้งเตือนสึนามิตามระเบียบปฏิบัติประจำ (Standard Operating Procedure : SOP) ด้านการแจ้งเตือนภัยสึนามิฝั่งอันดามัน พร้อมทั้งนำข้อมูลจากต่างประเทศมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และแจ้งเตือนการเกิดสึนามิ ติดตามข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงข้อมูลที่บ่งชี้ว่าจะเกิดสึนามิอย่างรอบด้านบนฐานข้อมูลเชิงวิชาการ รวมถึงได้มีการวางระบบเตือนภัยสึนามิให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารและแจ้งเตือนสึนามิได้แม่นยำผ่านหลากหลายช่องทางให้เข้าถึงระดับพื้นที่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมอพยพหนีภัยสึนามิได้อย่างทันท่วงที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า
'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน
'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู
เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่
สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร
ปภ. แจ้ง 63 จังหวัด เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง 29 ก.ย.– 3 ต.ค.นี้
มีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 3 ตุลาคม 2567 แยกเป็นภาคเหนือ ทุกจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกจังหวัด ภาคกลาง ทุกจังหวัด ภาคใต้ จังหวัดชุมพร
เช็ก! สถานการณ์น้ำท่วม 18 จังหวัด ระดมกำลังให้ความช่วยเหลือประชาชน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) รายงานมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย เลย หนองคาย อุดรธา