10 ธ.ค. 2564 – นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ…. รัฐสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยกเลิกเกณฑ์ระยะเวลา !
เมื่อวานนี้ (9 ธันวาคม) ได้มีการลงมติสำคัญในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯ ฉบับปฏิรูป คณะกรรมาธิการมีมติด้วยคะแนน 14 : 8 งดออกเสียง 1 แก้ไขมาตรา 69 ตัดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของข้าราชการตำรวจในแต่ละระดับชั้นก่อนได้รับการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายเลื่อนตำแหน่งสู่ระดับสูงขึ้นไปออกทั้งหมด
ทั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่าควรกำหนดไว้ในกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เหมือนเดิม เพื่อความยืดหยุ่นในแต่ละห้วงเวลา และที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2547 – 2557 ก็ไม่เคยมีปัญหา เพิ่งจะมามีปัญหาในยุค คสช. ตั้งแต่ปี 2557 มานี่เอง
เพราะถ้ากำหนดเกณฑ์ระยะเวลานี้ไว้ในกฎหมายหลักตามร่างฯที่ผ่านวาระ 1 มา ก็จะต้องมีข้อยกเว้นกำหนดไว้ด้วยกรณีเหตุจำเป็นในวรรคสามของมาตรา 69 นี้เอง อันจะเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงได้อยู่ดีแม้ว่าจะกำหนดเงื่อนไขไว้เข้มข้นให้ใช้มติเอกฉันท์ของ ก.ตร. แล้วก็ตาม
ผมเป็น 1 ใน 8 เสียงที่ไม่เห็นด้วย และขอสงวนความเห็นไว้ ไปชี้แจงแสดงเหตุผลในรัฐสภา วาระ 2 รายมาตรา
เหตุผลหลักคือการกำหนดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจริง โดยไม่นับระยะเวลาทวีคูณ ก่อนได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งแต่ละระดับชั้น ไว้ในกฎหมายหลักระดับพระราชบัญญัติ ไม่ใช่แค่ในกฎ ก.ตร. ที่เป็นกฎหมายลำดับรองซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า จนถูกครหาและมีตัวอย่างให้เกิดข้อสงสัยมาแล้วว่าเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บางบุคคล คือหนึ่งใน ‘หัวใจ’ สำคัญที่สุดของ ร่างพ.ร.บ.ตำรวจฉบับปฏิรูปนี้ที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเป็นหนึ่งในกรอบสำคัญที่นายกรัฐมนตรีมีดำริแจ้งต่อคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ชุดท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ในการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2561
พูดง่ายๆ ตามภาษาผู้รู้วงในตำรวจว่าป้องกันทั้ง ‘ต่อยอดทอดสะพานสูง’ (ลดเกณฑ์ระยะเวลาดำรงตำแหน่งระดับสูง) และ ‘ชักบันไดหนี’ (เพิ่มเกณฑ์ระยะเวลาดำรงตำแหน่งระดับล่าง) นั่นเอง
หากจะตัดหรือปรับแก้บทยกเว้นในวรรคสามของมาตรา 69 นี้ก็สามารถพิจารณาได้เฉพาะประเด็นนั้น แต่ไม่ใช่เป็นเหตุให้ไปตัดเกณฑ์ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งออกทั้งหมดด้วย
หมายเหตุ : แม้กรรมาธิการเสียงข้างมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นอนุกรรมาธิการจะมีข้อเสนอให้บัญญัติเกณฑ์ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่ตัดออกจากมาตรา 69 วรรคหนึ่งนี้ ไปไว้ในบทเฉพาะกาลมาตรา 169/1 เพื่อทดลองใช้บังคับ 5 ปี ผมก็ไม่เห็นด้วย เพราะ
(1) เป็นเรื่องของกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย – ขณะนี้ยังพิจารณาไม่ถึงมาตรา 169/1 ไม่มีหลักประกันเลยว่าในการพิจารณาชั้นรัฐสภาวาระ 2 จะไม่ถูกตัดออกไปอีก
และ (2) เป็นเรื่องของวิธีคิด – เกณฑ์ระยะเวลาต้องเป็น ‘บทหลัก’ อยู่ในบททั่วไป ใช้ตลอดไปจนกว่าจะมีการแก้ไข จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่เป็น ‘บทยกเว้น’ อยู่ในบทเฉพาะกาล ทดลองใช้เฉพาะช่วง 5 ปีแรก แล้วจากนั้นให้ไปอยู่ในการพิจารณากำหนดเกณฑ์ของก.ตร.
ทั้งหมดไว้ไปตัดสินกันในชั้นรัฐสภาวาระ 2 พิจารณารายมาตราละกันครับ
ช่วงนี้ในชั้นกรรมาธิการก็จะมีการตัดสินประเด็นสำคัญๆ กันตลอด ตามตารางคาดการณ์เนื้อหารายมาตราที่ฝ่ายเลขานุการทำมาให้นี้ ขอนำลงมาให้ดูกันด้วย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักการเมืองไทยอย่าทะลึ่ง! ยก 4 เคส บัวแก้วเคยประท้วงกัมพูชา อ้างสิทธิ 'เกาะกูด'
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คนกัมพูชาจำนวนไม่น้อยเคยเชื่อหรือยังเชื่อว่าเกาะกูดเป็นของเขา ไม่ทั้งหมดก็อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง!
รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .
'คำนูณ' จับผิดเส้น 'ละติดจูด' ที่ 11° 'E' เอกสารแนบท้าย MOU44 เตือนกต.อย่าคิดผิดในหลักการ
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว !ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” เอกสารแนบท้าย MOU 2544