กองทัพเรือ ใช้ยานเกราะ VN16 เข้าฝึกร่วมนาวิกโยธินจีน เรียนรู้เทคโนโลยีรถรบ

ส่ง VN16 ฝึก“บลู สไตร์ค” กับ นย.จีน หลังเว้นมา 4 ปี ขณะที่ ทร.เตรียมจัดหารถเกราะ 8 คูณ 8 เข้าประจำการ หลังเอกชนสู้กันเดือด เปิดข้อมูล AAVรุ่นปรับคืนสภาพจาก “ชัยเสรี” เครื่องแรงใช้ต่อได้อีกหลายปี ขณะที่ทัพไทย พาสื่อชมประสิทธิรถสะเทินน้ำสะเทินบก 2 ตระกูลขับเคลื่อนบนบก-ทะเล

24 ก.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพไทยนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชม กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน (พัน. รนบ.พล.นย.) กองทัพเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้เข้าร่วมชมยุทโธปกรณ์ที่ประจำการในหน่วย 4 แบบ ได้แก่ ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกVN16 , รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกแบบพเลียงพล AAVP7A1,รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกแบบลำเลียงพล AAVP7A1 Ram-Rs , รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกแบบกู้ซ่อม AAVR7A1 และร่วมชมประสิทธิภาพระหว่างการขับเคลื่อนในทะเลและบนบก

มีรายงานว่า ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 กองทัพเรือไทยซึ่งจัดหาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเข้าประจำการเมื่อไม่นานมาแล้ว จะได้เข้าร่วมฝึก Blue Strike กับหน่วยนาวิกโยธินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่าง 1-10 กย. ในพื้นที่สัตหีบ หลังจากที่เว้นไป4ปีเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเมื่อปี 2562 ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นอีกครั้งที่กำลังพลของไทยจะได้สัมผัสกับรถเกราะจีนรุ่นใหม่ที่จีนจะขนมาร่วมฝึกด้วย เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีรถรบ และฝึกร่วมกันระหว่างมิตรประเทศ ทั้งนี้ ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ออกแบบและผลิตโดยบริษัท โนรินโก้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มม.เกราะทำด้วยอะลูมิเนียมอัลลอย มีความเร็วบนถนน 65 กม./ชม. ความเร็วในน้ำ 25 กม./ชม. ระบบอำนวยการรบ และ การบรรจุกระสุนยังเป็นแบบเดิม

ขณะที่ รถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก AAV สัญชาติสหรัฐฯ ที่ประจำการอยู่ที่ พัน.นรบ.นย.มีอายุการใช้งานเกือบ 50 ปี ในปัจจุบันมีการปรับปรุงในลักษณะสร้างใหม่ ได้มาตรฐาน Rebuild to standard ในแบบลำเลียงพลจำนวน 3 คัน ดำเนินการโดยบริษัทชัยเสรี โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังเป็นเครื่องยนต์CUMMINS 525 แรงม้า แบบเดียวกับที่ใช้ในรถสายพานลำเลียงพล(รสพ.) M2A1 BRADLEY ของกองทัพบกสหรัฐฯ ทั้งนี้เพื่อให้มีเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและง่ายต่อการส่งกำลังบำรุง และซ่อมบำรุง

พร้อมทั้ง เปลี่ยนช่วงล่างเพิ่มความแข็งแกร่งทนทานกว่าเดิมโดยใช้แบบเดียวกับรพส.M2A1 BRADLEY ติดตั้งล้อรับสายพาน เพื่อให้สายพานหลุดยากขึ้น .ติดตั้งแผงช่วยการทรงตัวหรือแผ่นกันคลื่นบริเวณส่วนหัวของรถ (STABILIZING BOW VANE) เพื่อให้การเคลื่อนที่ในน้ำดีขึ้น ส่วนหัวของรถไม่ทุดน้ำ สามารถติดตั้งเกราะเสริม (EAAK: Enhance Applique Armor kit)เพื่อเพิ่มขีดควาทสามารถต่อต้านกระสุนเจาะเกราะ เปลี่ยนป้อมปืนเป็นแบบUGWS Gen3 ระบบสื่อสาร Tales TRC-9310 พร้อมอุปกรณ์ประกอบจำนวน2ชุด ระบบติดต่อภายในรถแบบ Sotas Digital Communication Systems

น.ท.เกษมศักดิ์ ชาจันทึก ผู้บังคับกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน (พัน. รนบ.พล.นย.) กล่าวว่า รถทั้งสองแบบสามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย โดยเข้าร่วมการฝึกยกพลขึ้นบกทุกรายการ การฝึกทร.ประจำปี คอบร้าโกลด์ ฝึกการัต ถือว่าเป็นรถเกราะที่มีขีดความสามารถในการฝึกยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีภารกิจที่นอกเหนือจากการรบ ซึ่งรถ AAV ได้เข้าพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติมาแล้ว จากเหตุการณ์น้ำท่วมกทม.เมื่อปี 54 อุทกภัยที่จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงเหตุการณ์ในอดีตเหตุการณ์สึนามิ ฝั่งอันดามัน เข้าค้นหาผู้บาดเจ็บ ผู้บาดเจ็บและลำเลียงอาหาร

น.ท.เกษมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ตามแผนของ นย.ในการปฏิบัติการฝึกยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกมีความต้องการยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกVN16 ประมาณ 10 คัน แต่ตอนนี้มีประจำการแล้ว 3 คัน ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อจำกัดด้านงบประมาณฯด้วย ส่วน AAV ทร.มีอัตราประจำการ 33 คัน แต่เนื่องจากสภาพการรบปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไป ต้นแบบยานรบอย่าง AAV ของสหรัฐฯ ก็ได้เปลี่ยนไปเป็นยานเกราะล้อยาง8 คูณ8 ซึ่งปัจจุบันเราก็มีแนวคิดในการจัดหาอยู่ แต่ในส่วน AAV ก็มีการซ่อมปรับคืนสภาพ เนื่องจากต้นทางหยุดสายการผลิตไปแล้ว ซึ่งรถทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน ภายใต้สภาพการยุทธ์ในพื้นที่ทุรกันดารทาง AAV จะมีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ก็เคลื่อนตัวช้าบนบก มีค่าใช้จ่ายในการปรนนิบัติบำรุงส ส่วนการรบในเมืองทางยานเกราะล้อยาง 8 คูณ 8 ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า การยกพลขึ้นบกเป็นการรุกเข้าไปในดินแดนข้าศึก

“เพราะฉะนั้นเราต้องการอำนาจการยิงสูงสุด เพื่อให้การปฏิบัติการยุทธ์ได้มากขึ้นเพื่อให้ข้าศึกร่นถอยไป ซึ่งถ้าเป็นเป้าหมายเช่นในพื้นที่เมือง ยานเกราะ 8คูณ8 จะคล่องตัวกว่าในเป้าหมายทางลึก ยกตัวอย่างเช่น สงคราม รัสเซีย - ยูเครน ความรวดเร็วในการเข้ามาหมายมีความสำคัญสูง การใช้ยานเกราะล้อยางเข้าที่หมายได้ ซึ่งอยู่ที่นโยบายของทร.ในการดำเนินการ “

มีรายงานว่า ในปัจจุบันมีเอกชนสองรายที่เสนอยานเกราะ8 คูณ 8 ให้ทร.พิจารณาได้ R600 ของ บริษัทPANUS ซึ่งเพิ่งผ่านการทดสอบรถต้นแบบไปเมื่อไม่นานและได้รับการรับรองวจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ หรือ กมย.กระทรวงกลาโหมมาแล้ว โดยต้องทอดสอบการขับเคลื่อนในทะเลอยู่หลายรอบ ขณะนี้ประจำการอยู่ที่ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน ส่วน รถ8คูณ8 ของบริษัท CHAISERI อยู่ระหว่างการผลิตรถต้นแบบ และยังไม่ได้มีการทดสอบคาดว่าจะเปิดตัวปลายปีนี้ แต่ได้เข้าดำเนินการโครงการปรับคืนสภาพ AAV และมีประสบการณ์ในการผลิตรถ 4คูณ4 จำหน่ายในหลายประเทศ รวมถึงสหประชาชาติด้วย โดยก่อนหน้านี้เคยมีดราม่าในโลกโซเชี่ยลเรื่องความไม่ชอบมาพากลในการประมูลโครงการ พาดพิงไปที่นายทหารระดับสูงใน ทร.ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทหารเรือ' หนี้ท่วมเงินเดือนเหลือใช้ไม่ถึง 30% นับหมื่นราย

พลเรือเอกชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้แทน ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี/ประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย และคณะ ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินกำลังพลของกองทัพเรือ

'เศรษฐา' ยังไม่เคาะซื้อเรือดำน้ำ รอความชัดเจนข้อตกลงตอบแทนการค้า

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาเรือดำน้ำเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์จีน รุ่น CHD620 ได้มีการพูดคุยกับ นายจักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วหรือยัง

'สุทิน' ยังไม่เซ็นเปลี่ยนสัญญาซื้อเรือดำน้ำ รอคุยกฤษฎีกา รับกังวลเสี่ยงถูกฟ้อง

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ว่า ตนเองยังไม่ได้มีการเซ็นลงนามเปลี่ยนสัญญาการจัดซื้อเรือดำน้ำและยังไม่ได้มีการส่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้เซ็นยอมรับผลการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้จะมีการเร่งรัด

'วัชระ' ช่วยทหารเรือชั้นผู้น้อยยื่น ป.ป.ช.สอบทุจริตจัดซื้อปืนกล 30 มม.

"วัชระ เปิดใจยื่นเรื่องนี้แทนกำลังพลชั้นผู้น้อยที่รักชาติไม่ยิ่งหย่อนกว่านายพล เพื่อตอบแทนพี่น้องทหารเรือที่ช่วยนักศึกษามาตลอดตั้งแต่สมัย 6 ตุลาคม 2519 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ..."

ผบ.ทร. ลั่นเรือดำน้ำจีนอยู่ในมือรัฐบาล หากไม่ได้ทัพเรือไทยจะรั้งบ๊วยอาเซียน

พลเรือเอกอะดุง พันธ์เอี่ยม ผบ.ทร. ชี้แจงความคืบหน้าเรือดำน้ำ ว่าอยากที่จะชี้แจงมานาน ยืนยันว่าในปีที่เราเซ็นสัญญา จีนมีสิทธิ์ในการผลิตเครื่อง mtu เยอรมันขาย จึงมีการเซ็นสัญญากัน บางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจีนมาหลอกเรา อยากจะเคลียร์ให้ชัดเจน

'บิ๊กทิน' ชง ครม. แก้ไขสัญญาจัดหา 'เรือดำน้ำ' แล้ว

พลเรือเอกชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดหาเรือดำน้ำ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนของกองทัพเรือ