รัฐผนึกเอกชนพัฒนา 'Doctor at Home' ใช้ AI ช่วยประชาชนประเมินโรคเบื้องต้นด้วยตนเอง

รัฐ เอกชน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จับมือพัฒนาแพลตฟอร์ม “Doctor at Home” ใช้ AI ช่วยประชาชนประเมินโรคเบื้องต้นด้วยตนเอง ก่อนพบแพทย์ออนไลน์พร้อมส่งยาถึงบ้านตามสิทธิบัตรทอง ตอบโจทย์ลดแออัดในโรงพยาบาล หนุนระบบสาธารณสุขภาพรวมดีขึ้น

23 ก.ค. 2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่รัฐบาลได้วางแนวนโยบายให้ทุกหน่วยงานนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการต่างๆ ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขก็ได้มีบริการผ่านแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้ร่วมกันพัฒนา แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เรียกว่า ‘Doctor at Home’ ซึ่งมีทั้งเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันไลน์ ให้ประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ การตรวจโรคเบื้องต้น การสอบถามอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ด้วยการใช้สมาร์ทโฟน ทำให้ทราบว่าอาการแบบไหนต้องไปโรงพยาบาล หรืออาการเพียงใดที่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญช่วยลดการเดินทางไปพบแพทย์ และลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลได้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ประชาชนสามารถสมัครใช้บริการผ่านการเพิ่มเพื่อนกับไลน์ @Doctorathome โดยตรง หรือสามารถเพิ่มเพื่อนผ่าน Line Official ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) @nhso จากนั้นกดเมนู “Doctor at Home หมอประจำบ้านอัจฉริยะ” จากนั้นก็สามารถใช้บริการเพื่อประเมินโรคเบื้องต้นได้ทันที
นอกจากนี้ Doctor at Home จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยบุคลากรสาธารณสุข เช่น กลุ่ม อสม. ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ห่างไกลที่อาจไม่มีแพทย์ประจำ ก็สามารถใช้แพลตฟอร์ม Doctor at Home เพื่อตรวจสอบประเมินการเจ็บป่วยเพื่อตัดสินใจดำเนินการรักษาที่ถูกต้อง และยังเป็นการลดภาระของแพทย์ที่ต้องออกตรวจในพื้นที่ห่างไกลด้วย

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อประเมินอาการป่วยเบื้องต้นในกรณีเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่รุนแรง กรณีที่ต้องปรึกษาแพทย์ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทองยังสามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์หรือ telemedicine พร้อมจัดส่งยาถึงบ้านได้ ซึ่งขณะนี้บริการดังกล่าวได้ขยายบริการจากเดิมที่มีเฉพาะในกรุงเทพฯ ให้ครอบคลุมปริมณฑลอีก 5 จังหวัด ประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม

โดยปัจจุบันมีแอปพลิเคชันสุขภาพ 4 แห่งที่เข้าร่วมให้บริการนี้ โดยเชื่อมต่อกับระบบของ สปสช. โดยผู้มีสิทธิบัตรทองทั้งที่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลสามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์และส่งยาถึงบ้านผ่านทั้ง 4 แอปพลิเคชัน ประกอบด้วย 1)แอปพลิเคชันซาลูเบอร์ เอ็ม ดี โดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม สอบถามเพิ่มเติม ที่ไลน์ไอดี @Sooksabaiclinic 2) แอปพลิเคชันคลิกนิก โดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี @clicknic 3)แอปพลิเคชันหมอดี โดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี @mordeeapp และ 4.โททอลเล่เทเลเมด โดยเดอะโททอลเล่คลินิก สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี @totale

“การที่ประชาชนสามารถคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยให้ระบบสุขภาพโดยรวมดีขึ้น ด้วยการลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดการรอคอยที่จะพบแพทย์ รวมถึงทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนจากบุคลากรแพทย์ดีขึ้น” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อนุทิน’ สั่ง กทม.เร่งสอบที่มาป้ายโฆษณาขายพาสปอร์ตและสัญชาติ ย่านห้วยขวาง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้ทราบถึงกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เปิดเผยและวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างถึงกรณีมีการติดตั้งป้ายโฆษณาภาษาจีน

รัฐบาลชวนปชช. จอง-แลกเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เริ่ม 24 ก.ค.

รัฐบาลเชิญชวนประชาชน จอง-แลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ตั้งแต่ 24 ก.ค.นี้

'คารม' แจงยิบยัน 'กยศ.' คิดดอกเบี้ยอัตรา 1%

'คารม' ย้ำ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาคิดดอกเบี้ยอัตรา 1% ตั้งแต่เริ่มกู้จนชำระเสร็จสิ้น ไม่มีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ขอให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามจำนวนที่แจ้งในหน้าแอปพลิเคชัน กยศ.Connect

'เกณิกา' ตีปี๊บฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดคืนสังคมกว่า 5 หมื่นราย

'เกณิกา' เผยข้อมูลติดตามผู้ป่วยบำบัดยาเสพติด ไม่เสพซ้ำกว่า 5 หมื่นคน ตามนโยบายรัฐบาลเศรษฐา 'ปราบปราม รักษา ฟื้นฟู ดูแล' ให้โอกาสผู้เสพคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ