'ธรรมศาสตร์' ฉลองวาระ 90 ปี จัดแสดง 'ศิลปนิพนธ์' กว่า 100 ชิ้นงานตอกย้ำปณิธาน มหา'ลัย เพื่อปชช.

Loading...

‘ธรรมศาสตร์’ จัดนิทรรศการ-แฟชั่นโชว์ ศิลปนิพนธ์ผลงานนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ กว่า 100 ชิ้นงาน เนื่องในวาระเฉลิมฉลองก้าวเข้าสู่ปีที่ 90 ตอกย้ำปณิธานการสถาปนา ‘มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน’ ผ่านสุนทรียะทางศิลปะที่สะท้อนถึงความยั่งยืน

4 ก.ค.2566 - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดแสดงนิทรรศการและงานแฟชั่นโชว์ “ศิลปนิพนธ์ Pastra 24” เนื่องในวาระครบรอบ 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้นำผลงานของนักศึกษา สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 กว่า 100ผลงาน มาจัดแสดง ณ อาคารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มธ. ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ท่ามกลางความสนใจของนักศึกษา คณาจารย์ คณะเอกอัครราชฑูต ผู้แทนทางการฑูต และผู้แทนจากหน่วยงานหลากหลายประเทศ กว่า 100 คน

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. เปิดเผยว่า การจัดงานแสดงนิทรรศการและแฟชั่นโชว์ในครั้งนี้เป็นการนำผลงานธีสิสของนักศึกษามาจัดแสดง ซึ่งในปีนี้ต้องยอมรับว่าค่อนข้างมีความโดดเด่นทั้งในเรื่องเทคนิค แนวคิด และที่สำคัญคือการสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุเหลือใช้ รวมถึงแต่ละชิ้นมีการสะท้อนความหมายบางอย่างในเชิงปัญหาสังคม เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งถือเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยและประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

นอกจากนี้ ในทางอ้อมยังเป็นการสื่อให้เห็นถึงจิตวิญญาณของการรักประชาชนที่อยู่ในตัวนักศึกษาเองซึ่งได้รับการบ่มเพาะในมหาวิทยาลัยตลอด 4 ปี ที่ได้สอนให้รับฟังตลอดจนมีส่วนร่วมกับชุมชน อีกทั้งในยุคสมัยนี้ที่มีความเชื่อว่าทุกปัญหาทางสังคมควรจะมีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงได้อย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจากความรุนแรงและวาระซ่อนเร้น เพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

“ด้วยโลกปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงที่เร็วและแรงทั้งจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อ หรืออะไรก็ตามแต่ เราจึงอยากให้นักศึกษาได้เชื่อมต่อกับโลกและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เขาจะต้องอยู่ต่อไปในอนาคต ผ่านการเปิดพื้นที่ให้เขาได้สื่อสารสิ่งที่คิด สิ่งที่เชื่อ และเป็นการร่วมเฉลิมฉลองและสะท้อนความเป็นธรรมศาสตร์ผ่านวิธีการทางสุนทรียะทางศิลปะเนื่องในวาระพิเศษครบรอบ 90 ปีของ มธ. แล้วยังเป็นการครบรอบ 20 ปี ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ด้วย” คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. ระบุ

อาจารย์ ดร.วุฒิไกร ศิริผล หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ด้วยความที่ธรรมศาสตร์เป็นพื้นที่ที่โอบรับทุกความหลากหลาย ตรงนี้จึงเป็นโจทย์กว้าง ๆ ที่ให้กับนักศึกษาในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเอาเข้าจริงมันคือการกำหนดที่ไม่กำหนด เพราะคิดว่านักศึกษาได้รับการติดอาวุธจากการเรียนรู้ทั้งจากในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมาค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นจึงควรให้สิทธิเขาได้เลือก เพียงแต่แจ้งมาที่อาจารย์ผู้ดูแลว่าจะทำอะไรอย่างไร

อย่างไรก็ดี จากผลงานต่าง ๆ ที่ออกมาก็ทำให้เห็นถึงจุดร่วมหลาย ๆ อย่างของนักศึกษา โดยในส่วนของแฟชั่นก็จะสื่อสารถึงเรื่องสิทธิในตัวและร่างกาย สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งมีความใกล้ตัวและเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ในสังคม ขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงคุณค่าของโลกสมัยใหม่ สำหรับฝั่งนิทรรศการสิ่งทอจะเป็นการนำศิลปหัตกรรมของไทยมาต่อยอดพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น

“ความเป็นอิสระ การมีเสรีภาพในการที่จะเลือก คือสิ่งที่เราคิดว่ามันเชื่อมร้อยจิตวิญญาณของบางสิ่งบางอย่างระหว่างธรรมศาสตร์และศิลปกรรมเข้าด้วยกัน เขาอยากแสดงออกไปในรูปแบบไหน มองวิธีที่จะนำเสนอผลงานยังไง ซึ่งคิดว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปนักศึกษานำไปใช้พัฒนาตัวเองในอนาคตได้ด้วย” อาจารย์ ดร.วุฒิไกร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

'ธรรมศาสตร์' เตือน! อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แจ้งเตือนบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาคมธรรมศาสตร์ และประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ขณะนี้พบพฤติกรรมของมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็น “เจ้าหน้าที่กอง

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ