23 มิ.ย.2566 - ภายหลังหน่วยกู้ภัยยืนยันการพบชิ้นส่วนเรือดำน้ำท่องเที่ยว 'ไททัน' พบว่าเศษซากต่างๆ ห่างจากหัวเรือไททานิค 1,600 ฟุต (500 เมตร) เชื่อว่าผู้โดยสารทั้ง 5 คนเสียชีวิต ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า
คนทั้งโลกกำลังสนใจ “ทะเลลึก” จึงอยากเล่าให้เพื่อนธรณ์ทราบ
ขอบเขตของทะเลลึก เริ่มจากความลึก 200 เมตร เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์เริ่มหมดไป
แสงที่ความลึกนั้นเหลือไม่ถึง 1% เนื่องจากน้ำดูดกลืนแสง
เมื่อลงไปถึง 1000 เมตร จะไม่มีแสงใดเหลืออยู่เลย
ทะเลลึกคือพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดที่มนุษย์อยู่
ผิวโลกแบ่งง่ายๆ เป็นทะเล (70.8%) แผ่นดิน (29.2%)
มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทะเล ลึกเกิน 4,000 เมตร
จุดลึกสุดของมหาสมุทร ลึกกว่าซากเรือไททานิกมาก
จุดลึกสุดของแอตแลนติก 8,480 เมตร จุดลึกสุดของโลก (แปซิฟิก) ประมาณ 11 กิโลเมตร
ความลึกเฉลี่ยของแอตแลนติก 3,600 เมตร น้อยกว่าไททานิกเล็กน้อย
จุดที่ไททานิกจมอยู่ จึงไม่ใช่จุดที่ลึกมากมายเมื่อเทียบกับความลึกเฉลี่ย
ความลึกเฉลี่ยของแปซิฟิกคือ 4,000 เมตร ลึกกว่าไททานิก
ทะเลแบ่งเป็น 5 โซน ทะเลลึกแบ่งเป็น 4 โซน (ดูภาพ)
ไททานิกอยู่ในเขต Abyssopelagic
ที่นั่นไม่มีแสง อุณหภูมิน้ำใกล้ศูนย์องศา (แต่ไม่เป็นศูนย์) ความเค็ม 35 ppt ปรกติ แต่ความดันแตกต่าง
ความดันเพิ่ม 1 เท่าทุกความลึก 10 เมตร ความดันที่ไททานิกประมาณ 380 เท่าของผิวโลก
แรงกดจึงมหาศาล คิดง่ายๆ คือพื้นที่เท่ากับแสตมป์ 1 ดวง รับน้ำหนักเท่ากับช้างหนึ่งตัว
ช้างกับแสตมป์เป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นภาพ แต่ความกดระดับนั้น หากโครงสร้างยานทนไม่ได้ เกิดระเบิด จะรุนแรงมหาศาล
catastrophic implosion คือคำที่ใช้สำหรับเหตุการณ์แบบนั้น แรงกดดันจะทำลายทุกอย่างในเสี้ยววินาที
ผู้จากไปแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าจะเกิดระเบิดเพราะแรงดัน
ขอให้ดวงวิญญานของทุกคนไปสู่สุคติครับ
ทะเลไทยมีเขตทะเลลึกในอันดามัน ไม่มีในอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยตื้นมาก
ทะเลอันดามันในส่วนของประเทศไทย (EEZ) ลึกสุดประมาณ 2 พันเมตร แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 1,000 เมตร
การสำรวจทะเลลึกของไทยมีน้อยมาก เรียกว่าแทบไม่มีเลย เพราะต้องใช้อุปกรณ์ราคามหาศาล เรือสำรวจ ฯลฯ
มีการสำรวจอยู่บ้าง โดยเป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศ
ในอนาคต หากเริ่มมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพื้นทะเลอันดามัน เช่น ปิโตรเลียม เราอาจเรียนรู้เรื่องนี้มากขึ้น
เพื่อนธรณ์เรียนรู้เรื่องทะเลลึกมากกว่านี้ได้ หากลงทะเบียนเรียนวิชา man&sea มก. เทอมนี้มีนิสิตลงทะเบียนแล้วเกือบ 2 พันคน
บอกให้น้องๆ ไม่ว่าคณะไหนไปลงทะเบียนได้ เรากำลังจะเปิดหมู่ใหม่สำหรับนิสิตภาคปรกติ เทอมนี้จะเน้นทะเลึกเป็นพิเศษ
เปิดเทอมคอร์สแรกเริ่มวันอังคาร อาจารย์ธรณ์สอนเอง 4 หมู่ 1,200 คน แล้วจะตามไปสอนหมู่อื่นๆ จนครบ
เกินวัยเรียนแล้ว ? เป็นเพื่อนธรณ์ต่อไป จะนำเรื่องดีๆ จากท้องทะเลมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ ครับ
ภาพ - กุ้งและสัตว์อื่นๆ ผมถ่ายมาจาก deep sea museum หลายแห่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
โลกร้อนส่งผล ยอดฟูจิ ไม่มีหิมะ ดร.ธรณ์ ชี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล โพสต์ว่า มาถึงวันนี้ ฟูจิซังก็ยังไม่มีหิมะ ไม่ใช่แค่ครั้งแรกในรอบ 130 ปี ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ
ดร.ธรณ์ แจ้งพายุ ‘จ่ามี’ อีสานล่างโดนแล้ว ‘อุบลฯ’ มาแต่เช้า เคลื่อนเข้า ‘โคราช-ขอนแก่น’
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
พายุเข้ามาที่ชายฝั่งเวียดนาม 'ดร.ธรณ์' แนะหน่วยงานในพื้นที่เตรียมตัวแจ้งเตือนหากฉุกเฉิน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า