ภาพเรือดำน้ำท่องเที่ยว 'ไททัน' ขณะอยู่บนผิวน้ำ (Photo by Handout / OceanGate Expeditions / AFP)
22 มิ.ย.2566 - ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ว่า สรุปสถานการณ์กู้ภัยยาน Titan ยังคงตามหาต่อไปแบบปฏิบัติการ “ช่วยชีวิต” (Search&Rescue) แม้ออกซิเจนเหลือน้อย แต่ปริมาณออกซิเจนเป็นการคาดการณ์ อาจแตกต่างในสถานการณ์จริงของการหายใจแต่ละคน
ยังระบุจุดที่ได้ยินเสียงไม่ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถวิเคราะห์เสียงว่าเป็นอะไรแน่ แต่ยังพยายามส่ง ROV ไปสำรวจ ยังไม่พบอะไร
การค้นหาทางอากาศยังดำเนินต่อไป ครอบคลุมพื้นที่ 3 หมื่นตร.กม.หรือมากกว่า
เครื่องบินปล่อย sonobuoy มีทั้งแบบ active (Sonar) ยิงคลื่นลงไปเพื่อกระทบวัตถุแล้วรับสัญญาณสะท้อน และแบบ passive รับเสียงที่เกิดขึ้นใต้น้ำ (โซนาร์ที่เราเรียก หมายถึงระบบแอคทีฟเท่านั้น) ใช้ยาน ROV หลายลำ (ไม่มีคนขับ) ยาน Victor6000 ของฝรั่งเศสน่าจะเป็นความหวังมากสุด มีมือจับกลสามารถดึงหรือแกะของที่อาจติดอยู่ หรือนำสายไปเกี่ยวเพื่อช่วยดึงยาน titan ขึ้นมา
อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในโครงการ ทำให้เราเห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทะเลลึก เช่น sonobuoy, sidescan sonar, ROV ฯลฯ
sidescan sonar มีในไทย เคยนำมาลองใช้ทำ mapping พื้นที่ชายฝั่งขนาดเล็ก
ROV ในไทยมีนานแล้ว ตอนนี้มีใช้ทั่วไป รู้จักในนาม underwater drone ส่วนใหญ่ใช้สาย ลงลึกได้ 100-150 เมตร (ขนาดเล็ก) ปัญหาสำคัญคือสายแพง และกระแสน้ำอาจทำให้สายตกท้องช้าง
Deep Water Robot ใช้ในกิจการพลังงาน วางท่อ รวมถึงวางสายไฟเบอร์ออปติก/สายไฟใต้น้ำ ฯลฯ
เรายังไม่มียานสำรวจทะเลลึกแบบมีคนอยู่ข้างใน และคงยังไม่มีอีกนานเพราะราคาสูงมากและไม่จำเป็นขนาดนั้น (อ่าวไทยตื้นมาก)
ทั้งโลกมียานสำรวจที่ลงไปได้ในระดับ 3,800 เมตร ประมาณ 10 ลำ
ขอให้ทุกคนปลอดภัย ขอให้มีปาฏิหาริย์ครับ
ก่อนหน้านี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กให้ข้อมูลว่า การกู้ภัยยาน Titan เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล จึงขอพาเพื่อนธรณ์ไปตามสถานการณ์แบบต่อเนื่อง การค้นหา 3 บริเวณ มีความคืบหน้าไปบ้าง
บนผิวน้ำ - ใช้เครื่องบินเป็นหลัก ตอนนี้บินหาในพื้นที่กว้างมากกว่า 2 หมื่นตร.กม.
ปัญหาสำคัญคือต่อให้ยาน Titan ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ แต่ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่าประตูเปิดจากข้างในไม่ได้หรือยากมาก อันเป็นหลักการของยานสำรวจใต้ทะเลลึก ปรกติต้องให้คนข้างนอกมาเปิดให้ เพราะฉะนั้น คนข้างในยานอาจยังคงต้องใช้ออกซิเจนที่มีจำกัดต่อไป จนกว่าจะมีทีมกู้ภัยมาเจอ
การทุบยานให้เป็นรูหรือทุบกระจกเป็นไปไม่ได้ เพราะยานสร้างจากไททาเนี่ยม ป้องกันแรงกดดัน 370 เท่า (ลงไปใต้น้ำ แรงกดดันเพิ่ม 1 บรรยากาศต่อความลึก 10 เมตร)
กลางน้ำ - เครื่องบินทิ้ง Sonar probe ลงมาตามจุดต่างๆ นอกเหนือไปจากการใช้เรือ เพื่อครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
มีรายงานว่าได้ยินเสียงใต้น้ำ แต่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นเสียงอะไรหรือที่ไหน
บนพื้น - มีการส่งอุปกรณ์สำรวจทะเลลึกมาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทัพเรือสหรัฐ (อุปกรณ์เป็นความลับทางทหาร) ยานสำรวจไร้คน (ROV) จากฝรั่งเศสและอังกฤษ (ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทขุดเจาะน้ำมัน/วางท่อ โดยเฉพาะในยุโรปที่หลายแหล่งอยู่ลึก)
เรือ Atalante สำรวจทะเลลึกของฝรั่งเศสพร้อมยานสำรวจที่ลงได้ถึง 4,000 เมตร กำลังเดินทางมาที่จุดหมาย น่าจะเป็นความหวังมากที่สุดในขณะนี้
เมื่อเจอ Titan แผนช่วยเหลือจะปรับตามสภาพว่าควรทำอย่างไร
อากาศเหลือพอใช้ถึงวันพฤหัสตอนค่ำ นี่คือการกู้ภัยใต้ทะเลลึกครั้งสำคัญสุด และเป็นการระดมพลังในทุกด้าน ทุกเทคโนโลยีที่โลกคิดค้นมาในการสำรวจทะเลลึก ดินแดนลับแลแห่งสุดท้ายของดาวเคราะห์ดวงนี้ หวังว่าปาฏิหาริย์จะมีจริงครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' ไม่ขีดเส้นตาย 'ทัพเรือ' ชี้แจงเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำเป็นของจีน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ หลังสั่งการให้กองทัพเรือไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ CHD620 ของจีน และการขยายสัญญา 1,217 วัน
หนุ่มใหญ่เมืองคอนป่วยซึมเศร้า โดดน้ำปากพนังจมหาย
กิดเหตุการณ์ชายวัย 50 ปี ทราบชื่อว่า นายนิวิวัฒน์ ณรงค์ฤทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กระโดดลงน้ำที่แม่น้ำปากพนัง
เด็ก 3 ขวบติดในรถ! พ่อลงไปกดเงิน กู้ภัยเร่งช่วย
สมาคมกู้ภัยสว่างบุญช่วยเหลือจังหวัดตราด รับแจ้งมีเหตุเด็กติดในรถ บริเวณหน้าธนาคารออมสิน สาขาเขาสมิง อ.เขาสมิง
'รมว.กห.' เรียกถกสาง 'เรือดำน้ำ' ต้องตัดสินใจระวังอย่างยิ่งยวด
'ภูมิธรรม' เรียกถกเรือดำน้ำ รับต้องระวังอย่างยิ่งยวดในการตัดสินใจ เหตุมีความเห็นแตกสองฝ่าย พยายามทำให้จบยุคที่คุมกลาโหม
'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
กู้ภัยปั๊มหัวใจสุดชีวิตช่วย 'น้องแมว' กระโจนโดนหม้อแปลงไฟระเบิด
กู้ภัยปั๊มหัวใจสุดชีวิตจนแมวรอดตาย หลังกระโจนไปโดนหม้อแปลงไฟฟ้า เกิดระเบิดอัดกระเด็นตกจากเสาไฟ หยุดหายใจไปชั่วขณะ