รัฐบาลเกาะติดบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

นายกฯ ติดตามการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว วางแนวทางแก้ปัญหาให้แรงงานอยู่ต่อ และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ถึงวันที่ 31 ก.ค. 66 หากยื่นเอกสารไม่ทัน แก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน

21 มิ.ย.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และรองรับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ภายหลังรัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความคุ้มครอง ดูแลสิทธิตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค.2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. แรงงานต่างด้าว MOU 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่วาระการจ้างงานครบกำหนด 4 ปี และ 2. แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งไม่สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและการตรวจลงตราได้ทันภายในวันที่ 15 พ.ค.2566 ให้สามารถอยู่ต่อและทำงานเป็นการชั่วคราวได้ถึงวันที่ 31 ก.ค. 2566 โดยแนวทางการจัดการดังกล่าวจะช่วยให้แรงงานสามารถจัดเตรียมเอกสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามขั้นตอน และเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังต้องการแรงงานเพื่อดำเนินกิจการในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

นายอนุชากล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการจัดการดังกล่าวของรัฐบาลได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั้งผู้ประกอบการธุรกิจและแรงงาน ซึ่งเป็นกระแสขอบคุณการทำงานของรัฐบาลที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที มีมาตรการเชิงรุกในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของประเทศ ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวกว่า 3 - 4 แสนคน ที่ประสบปัญหาไม่สามารถจัดทำหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและการตรวจลงตราได้ทัน รวมถึงเป็นการทำงานที่ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น

“นายกฯ ให้ความสำคัญกับภาคแรงงาน รวมถึงแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลให้การดูแล วางแนวทางเชิงรุกแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง และเร่งด่วน เพื่อรองรับการฟื้นตัวโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ นายกฯ เชื่อมั่นว่า มาตรการที่สอดคล้องของรัฐบาลจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการและแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ภาคธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระบบ ซึ่งการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบแบบแผนของรัฐบาลจะช่วยแก้ไขปัญหา ดูแลแรงงานได้อย่างทั่วถึง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป” นายอนุชากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์

'การไฟฟ้าไทย-สปป.ลาว' แข่งกีฬามิตรภาพ บรรยากาศสุดชื่นมื่น

ชาวการไฟฟ้า 2 ชาติ "ไทย-ลาว" กฟผ และ ฟฟล. สุดชื่นมื่น หลังร่วมแข่งขันกีฬามิตรภาพ ประจำปี 2567 ซึ่งฝ่ายไทย เป็นเจ้าภาพ ที่ปากช่อง เมืองโคราช

ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี

'ธนกร' หนุนรัฐบาลเร่งปราบนอมินี ธุรกิจอำพรางคนต่างด้าว แนะตั้ง KPI ประกบเห็นผลชัดใน 3 เดือน

นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า หลังจากมีคนต่างชาติลักลอบเข้ามา ประกอบธุรกิจต่างๆทั้งการขายสินค้าโรงงาน ร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ หลายย่านในกรุงเทพฯ

'ธีระชัย' เผย MOU44 จุดแข็งคือจุดอ่อน มาถึงบัดนี้ไทยย่อมจะไม่ใช้สิทธิที่จะทักท้วงอีกแล้ว

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังปร