ชี้ช่อง เร่งสร้างระบบสุขภาพปฐมภูมิ สกัดสมองไหล บุคลากรทางการแพทย์

วงอภิปรายสภาที่ 3 ชี้ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการรักษา ลดภาระแพทย์และแก้โรคสมองไหล

18 มิ.ย.2566 - เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30-12.00 น. สภาที่ 3 จัดเวทีสภาที่ 3 Speak วาระประเทศไทย เรื่อง "ระบบสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญ - การแก้สมองไหลของบุคลากรทางการแพทย์" ถ่ายทอดสดทาง Facebook Live โดยนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ผู้ริเริ่มงสร้างสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน กล่าวว่า ได้ผลักดันเรื่องระบบสุขภาพปฐมภูมิ จนสามารถปลูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กระทั่งมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ระบบสุขภาพปฐมภูมิออกมารองรับแล้ว รวมทั้งการมีแพทย์วิทยาศาสตร์ครอบครัวรองรับในบางโรงพยาบาล จึงยืนยันว่าเรื่องนี้ทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศ ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

 

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30-12.00 น. สภาที่ 3 จัดเวทีสภาที่ 3 Speak วาระประเทศไทย เรื่อง "ระบบสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญ - การแก้สมองไหลของบุคลากรทางการแพทย์" ถ่ายทอดสดทาง Facebook Live "สภาที่สาม - The  Third Council Speaks" กล่าวเปิดประเด็นโดย นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35 ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายแพทย์ (นพ.) ชูชัย ศุภวงศ์ ผู้ริเริ่มสร้างระบบสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน , นายกิตติพันธุ์ ศิริคุปต์เกษ จาก Alliance Intertrade , นายจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร จากบริษัท โค้ดดิ้ง ฮับ จำกัด (Coding Hub) ผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์โซลูชั่น เครือ Huawei และนายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

 

โดยนพ.ชูชัย กล่าวว่า ได้ผลักดันเรื่องระบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน จนสามารถบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กระทั่งมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ระบบสุขภาพปฐมภูมิออกมารองรับแล้ว รวมทั้งการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรองรับในบางโรงพยาบาลชุมชน จึงยืนยันว่าเรื่องนี้ทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนสังคมและประเทศ ไม่ใช่ของข้าราชการประจำหรือนักการเมือง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบทพยายามทำงานคู่ขนานในส่วนที่ติดระเบียบระบบราชการ รวมทั้งการส่งเสริมด้วยการเชื่อมต่อกับสปสช.ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประสานกับ สสส. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) รวมทั้งองค์กร เครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ ตลอดจนมีพรรคการเมืองหลายพรรคให้ความสนใจและมี หนึ่ง พรรคการเมืองได้สังเคราะห์นำมาเป็นนโยบายด้วย ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งก็ให้ความสนใจที่จะดำเนินการเรื่องปฏิรูประบบสาธารณสุขหรือสุขภาพปฐมภูมิและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ในระดับพื้นที่ของจังหวัดนั้นๆ

 

“ส่วนการแก้ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ลาออกเนื่องจากมีงานหนักนั้นเป็นเรื่องระยะยาว แต่ระยะสั้นที่เห็นผลบ้างแล้วคือ มีแพทย์จบใหม่หันมาสนใจมาเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมากขึ้น จะเห็นว่าหากดำเนินการเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงรุกเข้าไปถึงครัวเรือน ถึงชุมชน ให้เกิดผลเป็นจริงจะช่วยลดภาระงานของโรงพยาบาลได้อย่างมาก อีกทั้งต้องเร่งผลิตนักบริบาลท้องถิ่น ซึ่งตนได้เสนอพรรคการเมืองบางพรรคให้ผลิตนักบริบาลท้องถิ่น 100,000 คนต่อปีที่จะสามารถดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงได้ 1 คนต่อ 3 ครัวเรือน ได้ประมาณ 200,00 ครอบครัวในเบื้องต้น ให้งบประมาณไม่เกิน หนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี รวมทั้งการเร่งยกระดับร้านยาที่มีคุณภาพ พร้อมเภสัชกรปฐมภูมิ ทั่วประเทศประมาณ 15,000 ร้าน ทางเลขาธิการสป.สช. นพ.จเด็ด ธรรมธัชอารีย์ พร้อมที่สนับสนุนร้านยาคุณภาพทั่วประเทศโดยคนไทยเข้าไปรับยาจากร้านยาคุณภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ทางนายกสภาเภสัชกรรมรศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี เภสัชกรปฐมภูมิมีบทบาทที่สำคัญมากในการลดผู้ป่วยที่จะเข้าโรงพยาบาลได้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านคนต่อปี”

 

นพ.ชูชัย กล่าวอีกว่า  น่ายินดีที่มีพรรคการเมืองบางพรรคให้ความสนใจนำไปเป็นนโยบาย ที่จะช่วยดูแลผู้สูงอายุกว่า 13 ล้านคนได้ และหากดำเนินการในระดับนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในการเร่งผลิตนักบริบาลท้องถิ่นร่วมกับ อปท. รวมทั้งที่มีค่าตอบแทนหรือเงินเดือนประมาณ 12,000 บาท เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากชุมชนทั่วประเทศ  ส่วนการฝึกอบรมระยะสั้น( 72ชั่วโมงต่อรุ่น) ทั่วประเทศ ใช้เวลาเพียง 6-9 เดือนสามารถสร้างบุคลากรนักบริบาลท้องถิ่นได้ 100,000 อัตรา ดูแลประชากรได้ 200,000-500,000 ครอบครัวทั่วประเทศ ที่สำคัญผู้สูงอายุ ครอบครัวและญาติจะมีความสุข แม้แต่การต้องสิ้นใจในวาระสุดท้ายของชีวิต ก็จะจากไปสู่สุคติเพราะได้สิ้นใจที่บ้านใกล้ชิดลูกหลานและญาติมิตรในวาระสุดท้ายที่ผู้ป่วยล้วนปรารถนา และในขณะที่ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิรูประบบอื่นๆได้ก็ควรจะปฏิรูประบบสุขภาพที่สามารถทำได้และเห็นผลแล้วให้สมกับที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่ามีระบบสุขภาพที่ดีลำดับต้นๆของโลก

นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ระบุว่า รัฐธรรมนูญได้มีการบัญญัติเรื่องแพทย์วิทยาศาสตร์ครอบครัว ซึ่งเป็นระบบสาธารณสุขเชิงรุก หากดำเนินการได้จะช่วยชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการดูแลอย่างองค์รวมตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน อีกทั้งร้านขายยาทั่วประเทศราว 15,000 แห่ง ถ้าระบบปฐมภูมิทำได้สมบูรณ์ ประชากร 40% ที่เข้าร้านขายยานั้น ถ้าพัฒนาระบบให้ประชาชนเข้าร้านยาโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)เป็นคนจ่ายให้ 180 บาทต่อราย โดยมีเภสัชกร อธิบายการใช้ยาอย่างมีคุณภาพ เชื่อว่าจะลดความแออัดของโรงพยาบาลได้อย่างน้อย 2 ล้านคนต่อปี

“ยืนยันว่าจะลดภาพ ที่เห็นคนไข้ติดเตียงต้องเหมารถมาโรงพยาบาลจนถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัว ซึ่งการทำงานชำนาญเชิงรุกจะครอบคลุมทั้งกรณีผู้ป่วยกดทับ ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่งและอื่นๆที่สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อสม.และนักบริบาลท้องถิ่นดูแลร่วมกัน” นพ.สันติ ระบุ

นายกิตติพันธุ์ ศิริคุปต์เกษ จาก Alliance Intertrade ระบุว่า ปัจจุบันมี application ใช้รองรับการตรวจและรักษาผู้ป่วย แล้วผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลสามารถดำเนินการเองได้ผ่านระบบเทคโนโลยี 5g ทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้เร็วขึ้นมากช่วยเติมเต็มความจำเป็นของแพทย์วิทยาศาสตร์ครอบครัว ซึ่งผู้เกี่ยวข้องและผลักดันเรื่องนี้ได้มีการอบรมถ่ายโอนความรู้ให้กับศูนย์เด็กเล็ก ที่เทคโนโลยีดังกล่าวใช้ได้ทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์โดยเห็นว่าควรขยับการอบรมในหมู่บ้านเพื่อพัฒนาและเติมเต็มระบบสาธารณสุขและการศึกษาที่ควรเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก

นายกิตติพันธุ์ ระบุด้วยว่า ในส่วนการขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์หรือ สมองไหล ที่พูดจบแพทย์ไปทำงานสวนอื่นและเป็นปัญหาของประเทศที่ผ่านมานั้น เห็นว่ามีแพทย์จบใหม่ราว 3,000 คนต่อปีมี 2,400 คนที่อยู่ในระบบอีกประมาณ 600 คนเปลี่ยนอาชีพ เพราะวงการสาธารณสุขไม่ตอบโจทย์และแพทย์ทำงานหนักเกินไปไม่คุ้มกับค่าตอบแทน โดยยืนยันว่าทางบริษัทเห็นความสำคัญของปัญหานี้

“มองว่าควรจะมีวิทยาการหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้หมอไม่ต้องทำงานหนักเกินไปหรือให้ การทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวที่สมดุลกัน และโรงพยาบาลบางแห่งได้ดำเนินการแล้วยืนยันว่ามีประสิทธิภาพดี พร้อมกันนี้สนับสนุนให้หน่วยงานสาธารณสุขทำโครงการร้านขายยาให้เป็นเซ็นเตอร์โดยให้ประชาชนใช้บัตรประกันสุขภาพเข้าร้านขายยาได้เลย เพียงใช้เทคโนโลยีลิงค์กับหน่วยงานภาครัฐ “นายกิตติพันธุ์ ระบุ

นายกิตติพันธุ์ กล่าวยืนยันว่า การอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยทางการแพทย์เป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของไทยได้ โดยหน่วยงานกลางในกรุงเทพฯสามารถเทรนนิ่งออนไลน์หรืออบรมออนไลน์เจ้าหน้าที่บริบาล อสม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยในส่วนงานระดับจังหวัดที่สามารถอัพสกิลหรือรีสกิลบุคลากรได้ จะทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศพัฒนาไปได้อีกหลายขั้น

ทางด้าน นายอดุลย์นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35   กล่าวว่า โชคดีมีหลายจังหวัดอยากจะดำเนินการเรื่องสุขภาพปฐมภูมิและแพทย์วิทยาศาสตร์ครอบครัว โดยเฉพาะจังหวัดพะเยาที่ให้ความสนใจพยายามร่วมมือกับ อปท. โดยจังหวัดพะเยามีประชากรไม่มากนักซึ่งน่าจะนำร่องได้ เพราะหากรอให้รัฐบาลดำเนินการก็ไม่ทราบว่าจะใช้เวลายาวนานแค่ไหน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอสมอง' เตือน! 'บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ' เสี่ยงอัมพฤกษ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์

'หมอธีระวัฒน์' แนะ 'เวียนหัว บ้านหมุน' ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เวียนหัว บ้านหมุน ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้

ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ จับตาโรค 'โอโรพุช' ระบาดในลาตินอเมริกา อาการคล้ายไข้เลือดออก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

'ดี เจอร์ราร์ด' ขอโทษแฟนๆ หลังป่วยเส้นเสียงอักเสบ แพทย์งดใช้เสียง 7 วัน

ใจพร้อมเกินร้อยแต่ร่างกายยังไม่สามารถไปมอบความสุขให้แฟนๆได้ สำหรับนักร้องหนุ่มมาแรง บิ๊ก D Gerrard (ดี เจอร์ราร์ด) หรือ ไบรอัน เจอร์ราร์ด อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบียล ที่ล่าสุดทางต้นสังกัด Wayfer Records ได้โพสต์แถลงการณ์ถึงอาการป่วยของเส้นเสียงที่อักเสบและเป็นแผลบริเวณกล่องเสียง รวมถึงกล้ามเนื้อคออักเสบ

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด