โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ปลื้มชาวญี่ปุ่นสนใจกล้วยและผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปของไทย สร้างมูลค่าทางการค้าแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมผลักดันความตกลง JTEPA ขยายการส่งออกตลาดญี่ปุ่น
15 มิ.ย.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ได้รับทราบว่า กล้วยสดและผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปของไทยได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น โดยกระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางการค้าได้ถึง 1,070.55 ล้านบาท พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) เป็นอีกช่องทางสำคัญในการขยายการส่งออกสู่ตลาดญี่ปุ่นต่อเนื่อง
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า จากการจัดงาน THAIFEX – Anuga Asia 2023 ที่ผ่านมาของไทย มีผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นรวม 10 บริษัท ทั้งจากซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ อาทิ Gyomu Super ซึ่งมีกว่า 1,050 สาขา และ Beisia ซึ่งมีกว่า 130 สาขาทั่วญี่ปุ่น และผู้ประกอบการที่มีศักยภาพต่างให้ความสนใจในสินค้ากล้วยสดและผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปจากไทย ทำให้เกิดการเจรจาการค้าร่วมกับผู้ส่งออกชาวไทยจาก 23 บริษัท จำนวน 38 ราย จากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอม ผู้ผลิตกล้วยแปรรูป และผู้ประกอบการกล้วย GI ของไทยที่ได้รับการรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าจะมียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2,000 ตัน รวมเป็นมูลค่าทางการค้าได้ถึง 1,070.55 ล้านบาท สอดคล้องกับข้อมูลที่ระบุว่า ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคกล้วยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย มีคุณค่าทางอาหารสูง อีกทั้งยังมีราคาที่เข้าถึงได้และสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นขนมได้อีกมากมาย โดยในแต่ละปี ญี่ปุ่นจะนำเข้ากล้วยบริโภคในประเทศถึงปีละกว่า 1 ล้านตัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของญี่ปุ่นไม่เอื้ออำนวย ทำให้ปลูกกล้วยได้ในปริมาณน้อย
นอกจากนี้รัฐบาลยังเล็งเห็นถึงโอกาสจากการมีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อขยายช่องทางการค้าระหว่างกัน รวมถึงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือสาขาต่าง ๆ โดยญี่ปุ่นได้ให้สิทธิพิเศษการยกเว้นภาษีนำเข้ากล้วยจากประเทศไทยเป็นจำนวน 8,000 ตัน ซึ่งไทยยังสามารถส่งออกกล้วยได้อีกจำนวนมาก ควบคู่กับการเตรียมแผนงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งออกให้แก่กลุ่มเกษตรกรไทย โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 นี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จะนำผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นลงไปให้ความรู้และเตรียมความพร้อมในการส่งออกแก่กลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกล้วยไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายด่วน 1169 บริการให้คำปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศ
“นายกฯ เชื่อมั่นในคุณภาพของผลไม้ไทยที่หลายประเทศต่างให้การยอมรับ ซึ่งผลการเจรจาการค้าดังกล่าวจะเป็นลู่ทางสำคัญที่สามารถขยายโอกาสทางการค้าได้ โดยกล้วยสดและผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปของไทย มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ มีนวัตกรรมแปรรูปสินค้าได้น่าสนใจ ซึ่งสามารถดึงดูดตลาดผู้บริโภคได้หลากหลายกลุ่ม โดยรัฐบาลพร้อมที่จะผลักดันผลไม้ไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาและสนับสนุนภาคการผลิต ทั้งจากผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตให้มีความพร้อมเพียงพอ สามารถรองรับตลาดต่างประเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ” นายอนุชากล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แพทองธาร' ขนคณะลงพื้นที่ภูเก็ตตัดริบบิ้นเปิดงานพิธีแสดงเรือนานาชาติ!
'นายกฯ' ลงพื้นที่ภูเก็ตพรุ่งนี้ ขอแก้ไขปัญหาให้ครบทุกวงจร เพิ่มศักยภาพทุกมิติทั้งท่องเที่ยว ยกเป็นต้นแบบทำให้ได้ทุกจังหวัด
'แพทองธาร' พร้อมสุภาพบุรุษหมายเลข 1 ทำบุญตักบาตรทำเนียบฯ 2 ม.ค.นี้
นายกฯ เป็นประธานทำบุญตักบาตร เทศกาลปีใหม่ที่ทำเนียบรัฐบาลเช้าวันพรุ่งนี้
'ลุงป้อม' เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่
'ลุงป้อม' สดใส เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่ ย้ำพระราชเสาวนีย์พระพันปีหลวง ปกป้องป่าให้ลูกหลาน ด้าน ผบ.เหล่าทัพ ทยอยอวยพร 3 ป. วานนี้
นายกอิ๊งค์ควง 2 รมต.หญิงลง 'ขอนแก่น-มหาสารคาม' ติดตามแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-ตัดริบบิ้นเปิดงาน
นายกฯ เร่งสปีดนโยบายรัฐบาล ลงขอนแก่น-มหาสารคาม 20 ธ.ค. แก้ไขน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พร้อมตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ของไทย
ครม.เคาะแพ็กเกจใหญ่ช่วยเหลือ 'ลูกหนี้รายย่อย-เอสเอ็มอี'
ครม. อนุมัติชุดใหญ่! จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นแน่
นายกฯ อิ๊งค์ลั่นกลาง ครม.พร้อมลงภาคใต้แต่ไม่รู้เมื่อไหร่!
นายกฯ แจ้งที่ประชุม ครม. พร้อมลงภาคใต้ ขอ ศปช.ส่วนหน้าสรุปแผนแก้ไขน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก