"ประวิตร" ลุยเมืองมะขามหวาน ติดตามแก้ปัญหานำร่องที่ดิน ย้ำเร่งช่วยเหลือให้ทั่วถึงทุกภาค พร้อมดูปัญหาน้ำ สานต่อโครงการตามแนวพระราชดำริฯ ป้องกันราษฎรขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค-เกษตรกรรม
12 มิ.ย.2566 - เมื่อเวลา 09.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ดินทำกิน และการบริหารจัดการน้ำให้ทั่วถึงตามนโยบายของรัฐบาล โดยจุดแรก ที่ว่าการ อ.หนองไผ่ ติดตามรับทราบความคืบหน้าการการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งในภาพรวมพื้นที่เพชรบูรณ์ สามารถบริหารจัดการพื้นที่จากป่าห้วยทินและป่าคลองตีบ ป่าลุ่มน้าป่าสักฝั่งซ้าย ป่าห้วยน้าโจนและป่าวังสาร ป่าวังโป่ง ชนแดนและป่าวังกำแพง ให้ชุมชนได้แล้วถึง 12,224 ไร่ ประชาชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าร่วมกันได้เกือบ 1,215 ราย
ต่อจากนั้น ได้พิธีมอบหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยภายในป่าสงวนแห่งชาติ ให้กับประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชน และมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ( ส.ป.ก. 4-01) กับประชาชน ป่าเขาโปลกหล่น ต.ทุ่งสมอ และ ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ รวมจำนวน 231 คน พื้นที่ 261 แปลง รวม 1,722 ไร่
พล.อ.ประวิตร กล่าวชื่นชมและพอใจการทำงานร่วมกันของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และส่วนราชการต่างๆที่ร่วมกับขับเคลื่อนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน จากความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินตามนโยบายรัฐบาล โดยย้ำขอให้เร่งเข้าไปช่วยเหลือประชาชนอีกมาก ที่ยังไม่มีที่ดินทำกินให้ทั่วถึงทุกภาค โดยให้บริหารความสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ และให้ตามไปส่งเสริมพัฒนาอาชีพและสาธารณูปโภค เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน
ต่อจากนั้นเวลา 14.00 น. พล.อ.ประวิตร ติดตามความคืบหน้า โครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำ อ่างเก็บน้ำคลองลำกุง ต.วังท่าดี อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
โดยรับฟังการบรรยายสรุปและรับทราบผลการดำเนินงานจาก นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผอ.โครงการชลประทานเพชรบูรณ์ ซึ่งโครงการดังกล่าว เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2519 โดยความรับผิดชอบของกรมชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรจากการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และการเกษตรกรรม ในขณะนั้น ต่อมาในปี 2547 - 2548 รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริ ว่า " ควรพิจารณาวางโครงการเก็บกักน้ำตอนบน ของลำน้ำสาขาแม่น้ำป่าสัก ไว้ให้มากเพื่อใช้ในด้านการเกษตร และป้องกันอุทกภัย เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนป่าสักมีจำนวนมาก โดยให้พิจารณาจัดเก็บกักให้เหมาะสม " ทั้งนี้กรมชลประทานได้น้อมนำมาปฏิบัติ ซึ่งโครงการดังกล่าว มีระบบส่งน้ำแบ่งเป็นประเภท ระบบท่อส่งน้ำและระบบคลองส่งน้ำ มีความยาวรวม 99 ก.ม. และหากดำเนินการแล้วเสร็จ จะมีพื้นที่รับประโยชน์ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน จำนวน 50,000 ไร่ และในฤดูแล้ง จำนวน 22,000 ไร่ รองรับพื้นที่ 4 ตำบล ของ อ.หนองไผ่ จ. เพชรบูรณ์ ซึ่งการก่อสร้าง งบประมาณปี62-70 ได้ดำเนินการไปแล้ว 78.93 % (1,250 ล้านบาท)
พล.อ.ประวิตร ได้มอบนโยบายจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกำชับ กรมชลประทาน ให้เร่งรัดการก่อสร้างระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองลำกง ให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามแผนงาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ ป้องกันการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรกรรม ตามแนวพระราชดำริฯ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น จ.เพชรบูรณ์ และ จังหวัดใกล้เคียงด้วย
จากนั้นได้พบปะพี่น้องประชาชนที่มาให้การต้อนรับ อย่างเป็นกันเอง ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ลุงป้อม' ร่วมลอยกระทง อวยพรคนไทย สุขสมหวัง สิ่งใดไม่ดีขอให้หลุดพ้น
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ร่วมกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ พล.อ. กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ พล.ต.ท ปิยะ
'บิ๊กป้อม' สั่งลูกพรรคให้ทำทุกวิถีทางเพื่อยกเลิก MOU 44
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เดินทางกลับจากพรรคพลังประชารัฐ ภายหลังร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารและ ส.ส.พรรคประจำสัปดาห์
'บิ๊กป้อม' ประกาศสู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า ตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลเขต 77 จังหวัด
นายภัทรธรณ์ เทียนไชย รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เป็นประธานว่า
'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร
'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%
'นายกฯอิ๊งค์' ยกนิ้วโป้ง! หายป่วย ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด
’นายกฯอิ๊งค์‘ นำคณะลงพื้นที่ร้อยเอ็ด แม้เสียงยังแหบ ยกนิ้วโป้งอาการดีขึ้น เปิดตารางงาน ลุยปัญหายาเสพติด พร้อมพบปะชาวบ้าน ก่อนกลับ กทม. ช่วงเย็น
ระแวง-ระวัง “ประโยชน์ทับซ้อน” ถกขุมทรัพย์ไทย-กัมพูชาไปถึงไหน?
การเคลื่อนไหวต่อต้านบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนและแผนพลังงานเมื่อปี 2544 หรือ MOU44 และการปลุกกระแสการเสียเกาะกูดให้กัมพูชา ถ้ามีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาล 2 ชาติ