ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว
31 พ.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า
สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน ที่สาขาธนาคาร หรือที่ตู้เอทีเอ็มตามที่ธนาคารกำหนด
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ Mobile Banking ไม่ต้องดำเนินการยืนยันตัวตนดังกล่าว และยังสามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ตามปกติ เช่นการโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม สาขาธนาคาร หรือ Internet Banking โดยไม่ถูกจำกัดวงเงินตามจำนวนข้างต้น
ทั้งนี้ ธนาคารแต่ละแห่งจะให้ผู้ใช้บริการ Mobile Banking ดำเนินการยืนยันตัวตนไปตลอดเดือน มิ.ย. ก่อนที่จะเริ่มมาตรการจำกัดวงเงินผู้ไม่ดำเนินการยืนยันตัวตน ตั้งแต่ ก.ค.2566 เป็นต้นไป (บางแห่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย.) ซึ่งหลังจากนี้ผู้ยังไม่ยืนยันตัวตนก็จะยังทำธุรกรรมผ่านแอปพลิชันได้ เพียงแต่การโอนเงินต่อครั้งจะไม่สามารถโอนตั้งแต่ 50,000 บาทได้ หรือโอนรวมต่อวันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นอกจากการติดต่อสอบถามที่สาขาธนาคารแล้ว ธปท. ได้แนะนำช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบได้เองว่าตนเองเคยสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนแล้วหรือไม่ ด้วยแอปพลิเคชันธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. 66 มีธนาคาร 7 แห่งที่ให้บริการตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชันได้แล้ว ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, กสิกรไทย, เกียรตินาคินภัทร, ทหารไทยธนชาต, ไทยพาณิชย์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และออมสิน ส่วนอีก 5 แห่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ตรวจสอบได้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ, กรุงไทย, ซีไอเอ็มบีไทย, ทิสโก้ และ แลนด์แอนด์เฮาส์ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะมีการประกาศให้ทราบต่อไป
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบ ให้เข้าไปที่แอปพลิเคชันธนาคารในโทรศัพท์มือถือ จากนั้นเลือกเมนู อื่นๆ เลือก การตั้งค่า หรือตั้งค่าบัญชี และเลือก “จัดการบริการ NDID” หากเป็นผู้เคยยืนยันตัวตนแล้ว แอปพลิเคชันจะแจ้งว่า “ยืนยันตัวตนเรียบร้อย” แต่หายังไม่เคยดำเนินการจะแจ้งว่า “ยังไม่เคยยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน, ยังไม่เคยยืนยันตัวตนด้วยการบันทึกใบหน้า หรือไม่พบข้อมูล” ซึ่งผลดังนี้ ผู้ใช้บริการต้องไปสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนที่สาขาหรือตามช่องทางที่ธนาคารกำหนดต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลยันผู้ปลูกมันสำปะหลังไม่ถูกกดราคาแน่
รัฐบาลให้ความเชื่อมั่นผู้ปลูกมันสำปะหลัง เตือนพ่อค้ากดราคา โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี จัดสายตรวจเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตรวจสอบการซื้อขายมันฯ ในแหล่งเพาะปลูกทั่วประเทศ รับฤดูเก็บเกี่ยวที่จะเริ่ม ธ.ค.นี้
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
'อนุทิน' เปิดสัมมนาความปลอดภัยทางถนนหวังอุบัติเหตุเป็นศูนย์!
'อนุทิน' เปิดสัมมนาวิชาการระดับชาติ ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 ย้ำความสำคัญ 'Situation awareness' ตื่นตัว ตระหนัก รับผิดชอบ ชี้ต้องทำอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ เพราะหนึ่งชีวิตก็เป็นเกรดเอฟแล้ว
ข่าวดี! สปสช.เห็นชอบเพิ่มสัดส่วนล้างไตผ่านช่องท้องรายใหม่ 50%
'คารม' เผย บอร์ด สปสช. เห็นชอบข้อเสนอพัฒนาระบบมาตรฐานและคุณภาพของนโยบายล้างไต เพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องรายใหม่ 50% ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความยั่งยืน
ก.อุตฯ ลุยเสริมทักษะเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย
'ศศิกานต์' เผย ก.อุตฯ เดินหน้าส่งเสริมเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย เสริมทักษะ เพิ่มขีดการแข่งขัน เน้นดิจิทัลและความยั่งยืน คาดดันเศรษฐกิจโตกว่า 62 ล้านบาท