แนะจุดสังเกตแอปเงินกู้ แบบไหนนอกระบบ-ปลอม

27 พ.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันบริการทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์มีความหลากหลาย โดยเฉพาะการให้สินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน ผู้ใช้บริการก็ให้ความนิยมเนื่องจากมีความสะดวกสบาย แต่ก็กลายเป็นช่องให้มิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวง ฉกฉวยเอารัดเอาเปรียบประชาชน มีตัวอย่างให้เห็นในข่าวตามสื่ออยู่เป็นระยะ

เมื่อเร็วๆ นี้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือแบงก์ชาติ จึงได้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสังเกตแอปพลิเคชันเงินกู้ว่าลักษณะแบบไหนเป็นแอปฯ ที่อยู่ในระบบได้รับการกำกับโดยแบงก์ชาติ แบบไหนเป็นแอปฯ เงินกู้นอกระบบ หรือลักษณะใดเป็นแอปฯ ปลอม เพื่อเป็นความรู้ป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกหลอกจากมิจฉาชีพ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กรณีแอปฯ เงินกู้ที่ถูกกฎหมาย จะต้องเป็นแอปฯของผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตที่เป็นสถาบันการเงิน 39 แห่ง และที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 120 แห่ง โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของ ธปท. หรือเข้าไปที่ https://bit.ly/3OG6vb7_BOT_license-loan

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจะถูกกำกับโดยกฎหมายที่เข้มงวด จ่ายเงินกู้ให้เต็มจำนวนตามกู้ และคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่กำกฎหมายกำหนด คือสินเชื่อส่วนบุคคลต้องคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (นาโน ไฟแนนซ์) ไม่เกินร้อยละ 33 ต่อปี บัตรเครดิตไม่เกินร้อยละ 16 ต่อปี โดยสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการให้สินเชื่อแต่ละรายได้ที่เว็บไซต์ของ ธปท. https://app.bot.or.th/1213/MCPD/ProductApp/PersonalLoan

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หากมีผู้มาเสนอให้บริการสินเชื่อผ่านแอปฯ ขอให้สนใจจะกู้เงินตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตตามช่องทางข้างต้นก่อน หากตรวจแล้วไม่พบชื่อ หรือมีชื่อแต่ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอไม่ตรงกับที่แจ้งไว้กับ ธปท. ขอ ให้คาดการณ์ไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพที่เป็นไปได้ทั้งแอปฯเงินกู้นอกระบบ หรือแอปฯ ปลอม

โดยกรณีแอปฯ เงินกู้นอกระบบจะมีลักษณะให้เงินกู้ไม่เต็มจำนวนตามกู้ เช่นอ้างว่าหักเป็นค่าดำเนินการ หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า แต่ผู้กู้ยังต้องชำระเต็มจำนวน มีการคิดดอกเบี้ย/ค่าปรับสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมาก ระยะเวลาการชำระคืนสั้น มีการทวงหนี้แบบข่มขู่ คุกคาม ซึ่งกรณีที่พบบ่อยคือเมื่อติดตั้งแอปพลิเคชันลงโทรศัพท์มือถือแล้ว ผู้ปล่อยกู้จะสามารถเข้าถึงรายชื่อในโทรศัพท์ของผู้กู้ จะมีการส่งข้อความ หรือโทรหาบุคคลต่างๆ ตามรายชื่อในโทรศัพท์เพื่อข่มขู่ ประจานให้ผู้กู้อับอาย เป็นต้น

ส่วนถ้าเป็นแอปฯ เงินกู้ปลอม จะหลอกให้โอนเงินเป็นค่าใช้จ่ายก่อน เช่น ค่าค้ำประกัน ค่าทำสัญญา แล้วให้โอนอีกเรื่อยๆ แต่สุดท้ายไม่ได้ให้กู้จริง

“ภาครัฐมีการปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการทำงาน เร่งรัดกวาดล้างมิจฉาชีพที่แพร่ระบาดในช่องทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก แต่การแจ้งเตือนให้ประชาชนให้ระมัดระวัง เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพ รู้วิธีหรือจุดสังเกตเปรียบเทียบได้บริการทางการเงินในช่องทางออนไลน์ จะเป็นการป้องกันที่สำคัญและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้มาก” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหาดไทยพร้อมชง ครม.กำหนด เวลาเล่นแข่งวัวลาน

โฆษก มท. เผยมหาดไทยพร้อมชง ครม. เคาะกฎกระทรวงกำหนดเวลาเล่นแข่งวัวลาน 18.00 น. ถึง 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น หนุนท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายนายกรัฐมนตรี "อนุทิน" มอบปกครองวางมาตรการกวดขัน ป้องกันผลกระทบสังคม

มท.1 ขีดเส้น 15 วัน สอบข้อเท็จจริง-รายงานผลสรุปปมอื้อฉาว 'รองผู้ว่าฯยะลา'

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวทั้งในสื่อสาธารณะ และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของข้าราชการของกระทรวงมหาดไทยระดับรองผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

'มหาดไทย' แจงปมหลายอำเภองดทำบัตรประชาชน เหตุอยู่ในช่วงรอทดสอบมาตรฐานบัตร

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ในวันที่ 22 เม.ย. 2567 สื่อสังคมออนไลน์ได้เผยแพร่ข้อความถึงกรณีมีประชาชนเดินทางไปที่ว่าการอําเภอเพื่อติดต่อทำบัตรประชาชนบแต่ไม่สามารถทำได้

‘ศิริกัญญา’ กระตุกรัฐบาลคิดให้ดี เข็น ’ดิจิทัลวอลเล็ต’ หากพลาด ปชช.จะไม่เชื่อมั่นอีก

‘ศิริกัญญา’ แนะ ‘รัฐบาล’ คิดให้ดีก่อน หากพลาด  ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ อีก อาจทำ ปชช.ไม่เชื่อมั่น ชี้ ควรออกพันธบัตรสู้ พร้อมกำหนดอายุใช้งาน กันหนี้ตกทอดไปชุดหน้า

โฆษก มท. แจงดราม่าด้อยค่านมโรงเรียน ยันคุณภาพผ่านมาตรฐาน อย.

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับข้อคิดเห็นของประชาชนบางท่านเกี่ยวกับนม ตามโครงการอาหารเสริม (นม)