อุตุเตือนอากาศร้อน ฟ้าหลัว ใต้ฝั่งอันดามัน ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง

21 พฤษภาคม 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่งในช่วงวันที่ 22 – 25 พ.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนาม ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีฝนตกในบางพืนที่ และมีการระบายอากาศดี

ออกประกาศ 21 พฤษภาคม 2566

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 38-40 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ
ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 38-40 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์
อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 38-40 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล

อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 21 พฤษภาคม 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.ปกครองฯ เชิญ 5 หน่วยงานถกระบบแจ้งเตือน 'กรมอุตุฯ-ปภ.-กสทช.' ปัดกันวุ่น

กมธ.ปกครองฯ เชิญ 5 หน่วยงานถกระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหว กรมอุตุฯ โบ้ย ไม่ได้รับผิดชอบ ‘ปภ.’ รับ ระบบเซลล์บรอดแคสต์ล่าช้า เหตุติดเรื่องงบประมาณ ส่งข้อความแจ้งเตือน ปชช.ช้า เพราะเรื่องเชิงเทคนิค ขณะที่ ‘กสทช.’ รออัปเดต IOS พัฒนา ‘เฟิร์มแวร์’ ชี้ หากทดลองแล้วใช้ได้ ระบบเซลล์บรอดแคสต์อาจจะสมบูรณ์ ก.ค.นี้

อาฟเตอร์ช็อก 'แผ่นดินไหว' เมียนมา ทะลุ 200 ครั้ง!

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้สรุปอาฟเตอร์ช็อก (Aftershocks) แผ่นดินไหวประเทศเมียนมา อัปเดตเวลา 07.00 น. (เวลาประเทศไทย) รวมทั้งสิ้น 200 เหตุการณ์

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่มถึง 1 เม.ย.

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 11 โดยมีใจความว่า