เผยผลสำรวจ ประชาชนเครียดจากปัญหาทางการเงิน มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจ ประชาชนส่วนใหญ่ตกอยู่ในภาวะความเครียดจากปัญหาทางการเงินเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต

3 ธ.ค.2564 - นายวศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง การเงินในภาวะวิกฤต และนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเห็นคุณค่าของคำปรึกษาจากนักวางแผนการเงิน CFP ที่มีความเป็นมืออาชีพที่จะช่วยแนะนำเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม การสำรวจครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง โดยเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา พบว่า

ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด 19 พบว่าร้อยละ 30.9 และร้อยละ 6.5 ระบุว่ามีความมั่นคงทางการเงินในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ ซึ่งมีถึงร้อยละ 60 ที่ระบุว่านับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด 19 จนถึงปัจจุบัน ได้รับผลกระทบทางการเงินในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 14.9 และร้อยละ 2.5 เท่านั้น ที่เชื่อว่าหลังวิกฤตโควิด 19 ฐานะการเงินจะกลับมามั่นคงในระดับที่มาก และมากที่สุดตามลำดับ

เมื่อถามถึงปัจจุบันหรือในอดีต ความเครียดเรื่องการเงินเกิดจากสาเหตุใด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.5 ระบุ สาเหตุเกิดจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รองลงมาร้อยละ 45.8 ระบุ สาเหตุเกิดจากค่าเช่า/ผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ

ที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.8 ระบุ ความเครียดเรื่องการเงินส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต รองลงมาหรือร้อยละ 24.2 ระบุ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในขณะที่ร้อยละ 22.9 ระบุ ไม่มีปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื่องการเงินและในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 66.8 ระบุ มีรายได้ ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่ง 1 ใน 3 ของประชาชนหรือร้อยละ 26.9 ระบุ นำเงินเก็บมาใช้ รองลงมาร้อยละ 24.1 ระบุนำสิ่งของไปจำนำ หรือจำนอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความสนใจเรื่องการวางแผนการเงิน พบว่า ร้อยละ 40.4 ระบุ สนใจมากถึงมากที่สุด สัดส่วนรองลงมา คือเกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 38.4 ระบุว่า มีความสนใจเรื่องการวางแผนการเงินปานกลาง และเมื่อถามถึงพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องการเงินที่ต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหากสามารถย้อนเวลากลับไปได้ ซึ่งอาจนำมาสู่กระบวนการการเรียนรู้ และปรับตัวเพื่อรองรับกับปัญหา หรือความไม่แน่นอนทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต พบว่าพฤติกรรมที่ต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ “เก็บออมเงินให้มากกว่าเดิม” “ใช้เงินไม่ประมาท/วางแผนการเงินให้รอบคอบ” และ “ประหยัดค่าใช้จ่าย”

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า แม้ประชาชนส่วนใหญ่ตกอยู่ในภาวะความเครียดจากปัญหาทางการเงินเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยกว่าครึ่ง ระบุว่า มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย แต่ที่น่าสนใจ คือ เมื่อถามถึงความสนใจเรื่องการวางแผนการเงิน พบว่าประชาชนยังมีความสนใจเรื่องการวางแผนการเงินในระดับมาก ถึงมากที่สุด จึงมีข้อแนะนำว่า ควรมีการให้คำแนะนำ เรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลแก่ประชาชน เพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือภาวะที่ขาดรายได้ที่อาจเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต

นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่า ความรู้ทางการเงินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนทุกระดับการศึกษา และทุกระดับรายได้ ทุกภาคส่วนควรเร่งเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลแก่ประชาชนและผลักดันให้เกิดการลงมือวางแผนการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุ การวางแผนการเงินเพื่อพึ่งพาตนเองได้ในวัยเกษียณจึงเป็นสิ่งจำเป็น สมาคมนักวางแผนการเงินไทยมุ่งมั่นส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของการวางแผนการเงิน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้บุคคลมีความพร้อมทางด้านการเงินและสามารถบริหารจัดการด้านเงินได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งนักวางแผนการเงิน CFP ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลจี้ตูด แก้ปัญหา 'ปากท้อง-ค่าครองชีพ' คลองหลอดขึ้นแท่นชาวบ้านตามข่าว

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจข่าวที่ปชช.สนใจ ยาเสพติดชายแดนมาอันดับแรก ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ปชช.สนใจติดตามข่าวมากที่สุด ด้านปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพแพง เรื่องสำคัญให้รัฐบาลแก้ปัญหาหลัก

ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ