กรมการจัดหางานจี้นายจ้างยื่นเอกสารต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว ย้ำทุกขั้นตอนต้องเสร็จสิ้นใน 15 พ.ค.2566 พ้นกำหนดหากพบคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างและลูกจ้างเจอโทษหนัก
11 พ.ค.2566 - นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2566 กำหนดให้คนต่างด้าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ภายในวันที่ 13 ก.พ.2566 โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนภายในวันที่ 15 พ.ค.2566 โดยที่ยังสามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการยังคงจ้างแรงงานเหล่านั้นได้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งภาครัฐยังสามารถกำกับและบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งมิติของความมั่นคงและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ระบุว่า มีคนต่างด้าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานและชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 1,873,798 คน ซึ่งมีผู้ที่ยังยื่นเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนอีกจำนวนหนึ่ง กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังนายจ้างและคนต่างด้าวให้เร่งดำเนินการยื่นเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 โดยดำเนินการ ดังนี้
1.คนต่างด้าวที่ได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานแล้ว ให้ดำเนินการยื่นเอกสารหลักฐานดังนี้
- ยื่นหนังสือเดินทาง (Passport : PP) หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ได้แก่ เอกสารเดินทาง (Travel Document : TD) กรณีแรงงานกัมพูซา และเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) กรณีแรงงานเมียนมา
- หลักฐานการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (Visa) หรือย้ายรอยตราประทับ
- หลักฐานการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและซื้อประกันสุขภาพ
- หลักฐานการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และการตรวจโรคต้องห้าม (สำหรับคนต่างด้าวตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 กลุ่มที่มีสถานะไม่ถูกต้องที่ยังดำเนินการไม่ครบถ้วน)
2. ยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวที่ระบบต่ออายุใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว (4 สัญชาติ) ทางอิเล็กทรอนิกส์ และกรอกข้อมูลดังกล่าวในระบบเดียวกัน โดยเลือกหัวข้อ "มีเอกสาร Passport และ Visa ที่ยังไม่หมดอายุ" และกด "ยื่นแบบ บต. 50”
ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ครบถ้วนแล้ว นายทะเบียนจะเร่งพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวให้แล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เพื่อมีสิทธิทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 หรือวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามแต่ละกรณี
นายไพโรจน์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด หากกรมการจัดหางานตรวจสอบพบคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดทั้งนายจ้างคนไทยและลูกจ้างคนต่างด้าว โดยคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ และนายจ้างซึ่งรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน กรณีกระทำความผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนายจ้างจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ
“กรมการจัดหางานยืนยันว่าไม่มีการขยายระยะเวลา ขอให้นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวตามมติ ครม. วันที่ 7 ก.พ. 66 เร่งดำเนินการยื่นเอกสารให้ทันภายในกำหนด มิฉะนั้นการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานจะเป็นอันสิ้นสุด แรงงานต่างด้าวต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางและหากประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องดำเนินการตามกระบวนการนำเข้า MOU”
อธิบดีกรมการจัดหางานย้ำว่า สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายจ้างแฉส่วยระบบขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เรียกเก็บเงินไร้ใบเสร็จ แถมล่าช้าทำหลุดระบบนับแสนคน
นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว (นายจ้างสีขาว)เปิดเผยถึงปัญหากระบวนการทำ CI (Certificate of Identity) เพื่อรับรองสถานะบุคคลสำหรับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ
สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ล่มรอบสอง!ถกค่าแรง400
บอร์ดค่าแรงล่มรอบสอง มติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทยังเป็นหมัน
พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง
วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30
นายจ้างปืนโหด! จ่อยิงลูกน้องกลางอกดับคาห้องพัก
เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สำโรงเหนือ รับแจ้งมีเหตุยิงกัน มีผู้เสียชีวิต ภายในหอพักแห่งหนึ่ง ซอยศรีด่าน 5 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ตม.สมุทรสาคร รวบ 7 ชาวลาว แย่งอาชีพคนไทย
พ.ต.อ.ปกฉัตร ชัยสุกวัฒน์ ผกก.ตม .จว.สมุทรสาคร ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าภายใต้การสั่งการของ พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม., พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม.,