10 พ.ค.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นประกาศฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้มีผลกระทบถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 โดยระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้น ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่าวเบงกอลตอนล่าง ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศบังคลาเทศและเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66 ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 11-16 พ.ค. 66
ด้านนายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า วันที่ 10-14 พ.ค.66 ทะเลอันดามัน (อ่าวเบงกอล) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และคืนนี้จะแรงขึ้นเป็นไซโคลนได้ ศูนย์กลางไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย แต่ขอบของพายุอาจจะส่งผลต่อทางด้านตะวันตกของประเทศไทยได้
ลมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 11 - 14 พ.ค.66 คลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น โดยเฉพาะอ่าวเบงกอลตอนบน ช่วงวันที่ 10 - 13 พ.ค.66 ต้องติดตามและเฝ้าระวังต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว