ครม.เห็นชอบ 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนมาตรการให้เป็นรูปธรรม และเร่งให้ประชาสัมพันธ์มาตรการและแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบด้วย
10 พ.ค.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พ.ค.2566 ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 จำนวน 12 มาตรการ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการดังกล่าว เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย
มาตรการที่ 1 : คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงช่วงฝนทิ้งช่วง (มี.ค. 2566 เป็นต้นไป) โดยประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในช่วงมีนาคม-ธันวาคม 2566 และประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากช่วงฝนทิ้งช่วงในช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม 2566
มาตรการที่ 2 : บริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก (ภายในสิงหาคม 2566) เตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ ในช่วงฤดูน้ำหลาก หลักเกณฑ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองและการจ่ายเงิน ค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหายในพื้นที่เอกชน
มาตรการที่ 3 : ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ ในแหล่งน้ำ/เขื่อนระบายน้ำและจัดทำ แผนบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน) ทบทวน ปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำ สำหรับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของกลุ่มลุ่มน้ำ เช่น จัดทำทำบริหารจัดการน้ำระดับลุ่มน้ำในพื้นที่นำร่อง (ลุ่มน้ำวังและลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก) ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทุกขนาด และจัดทำแผนการบริหาร จัดการน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในช่วงภาวะวิกฤต
มาตรการที่ 4 : เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตร ให้พร้อมใช้งาน และปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ (ก่อนฤดูฝน และตลอดช่วงฤดูฝน) ได้แก่ 1.เตรียมความพร้อมซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ และระบบระบายน้ำ ให้พร้อมใช้งาน 2.ซ่อมแซม ปรับปรุง สถานีโทรมาตร ให้พร้อมใช้งาน และ 3.ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ
มาตรการที่ 5 : เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ บุคลากร ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน) ได้แก่ 1.เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร และ 2.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำในพื้นที่เสี่ยง ในช่วงฝนทิ้งช่วง เช่น วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้อง กับปริมาณน้ำต้นทุน
มาตรการที่ 6 : ตรวจความมั่นคงปลอดภัย คัน ทำนบ และพนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝน และตลอดช่วงฤดูฝน) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรง ของคันกั้นน้ำ ทำนบ และพนังกั้นน้ำ พร้อมทั้งซ่อมแซมและปรับปรุงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน
มาตรการที่ 7 : เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ของทางน้ำ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน) เช่น จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักรเครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ ในการกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และขยะในลำน้ำ ขุดลอกคูคลอง
มาตรการที่ 8 : ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่ สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) ได้แก่ 1.ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุและจัดเตรียมพื้นที่อพยพอย่างน้อยภาคละ 1 พื้นที่ 2.ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย เพื่อเตรียมความพร้อม และบริหารจัดการสถานการณ์ และ 3.จัดทำแผนการฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ
มาตรการที่ 9 : เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน (ตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 ) เร่งเก็บน้ำ/สูบทอยน้ำส่วนเกิน ในช่วงปลายฤดูฝนไปเก็บ และพัฒนา แหล่งเก็บกักน้ำขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ และบ่อน้ำตื้น
มาตรการที่ 10 : สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน)
มาตรการที่ 11 : การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน) ประชาสัมพันธ์ในการเตรียมความพร้อม รับสถานการณ์ช่วงฤดูฝนให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจ
มาตรการที่ 12 : ติดตาม ประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)
“นายกฯ ยังได้มีข้อสั่งการให้ประชาสัมพันธ์การเตรียมการในส่วนของมาตรการต่างๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และให้แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอย่างทันท่วงทีในช่วงฤดูฝนนี้ด้วย”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลดี๊ด๊า! เปิดทำเนียบฯ รับม็อบเชียร์ 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ ยื่น 1.5 หมื่นรายชื่อ หนุน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 'รองเลขาฯนายกฯ' รีบหอบส่ง ธปท.ทันที แย้มวันนี้ไม่เลื่อนแล้ว
กรมอุตุฯ ออกประกาศฉบับ 4 เตือน ภาคใต้เจอฝนถล่ม 3-6 พ.ย.นี้
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 4 เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 2–6 พฤศจิกายน 2567) ระบุว่า
1พ.ย.นายกฯอิ๊งค์ลงร้อยเอ็ดตามติดนโยบายปราบยาเสพติด
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯเร่งแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมบินร้อยเอ็ด 1 พ.ย. ตรวจการป้องกันและปราบปรามตามนโยบายรัฐบาล
นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการสนามบินเกือบ 120 ล้านคน
นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยาน 6 แห่ง เกือบ 120 ล้านคนในปีงบประมาณ 2567 พร้อมเปิดใช้งานเช็กอินระบบ Biometric นำร่องผู้โดยสารในประเทศก่อนเริ่ม 1 พ.ย.นี้
โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน
โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า
นักวิชาการ ชี้ ‘เมฆระเบิด’ ต้นเหตุฝนกระหน่ำหนัก เกิดบ่อยที่ไทยทุกฤดูฝน
นักวิาการ อธิบายเมฆระเบิด(Cloudburst) ทำให้เกิดฝนกระ หน่ำ(RainBomb)หนัก จะเกิดขึ้นบ่อยที่ประเทศไทยในทุกฤดูฝน