1 พ.ค.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2566 โดยระบุว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งช้ากว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศ ในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5 และจะน้อยกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 14 และปริมาณฝนรวมทั้งปีมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 24) โดยทั้งในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) และช่วงครึ่งหลังฤดูฝน(เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5
อนึ่ง ช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ซึ่งจะท้าให้เกิดการขาดแคลนน้้าในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้้าซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้้าเพื่อประโยชน์สูงสุด
ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน น้้าป่าไหลหลาก รวมทั้งน้้าล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่
ลักษณะอากาศทั่วไป ช่วงประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ กับจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่งเว้นแต่ บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยโดยจะมีกาลังแรงเป็นระยะๆ ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆนอกจากนี้ในบางช่วงจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวบริเวณทะเลอันดามัน แล้วทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นหรือพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ด้านตะวันตกของประเทศไทย
จากนั้น ในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง และจะทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ทั้งนี้เนื่องจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลงส่วนร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน
สำหรับช่วงตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ประเทศไทยจะกลับมามีฝนตกชุกหนาแน่นอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้าล้นตลิ่งในบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย จะกลับมามีกำลังแรงและต่อเนื่อง ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนกลับลงมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบนในบางช่วง
ส่วนในเดือนตุลาคม เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงและ เริ่มจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคเหนือ ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน นอกจากนี้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย จะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมแทน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เผยภาคใต้เจอฝนถล่มหนัก 60-80% ส่วน กทม.เจอ 20%
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
กมธ.ปกครองฯ เชิญ 5 หน่วยงานถกระบบแจ้งเตือน 'กรมอุตุฯ-ปภ.-กสทช.' ปัดกันวุ่น
กมธ.ปกครองฯ เชิญ 5 หน่วยงานถกระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหว กรมอุตุฯ โบ้ย ไม่ได้รับผิดชอบ ‘ปภ.’ รับ ระบบเซลล์บรอดแคสต์ล่าช้า เหตุติดเรื่องงบประมาณ ส่งข้อความแจ้งเตือน ปชช.ช้า เพราะเรื่องเชิงเทคนิค ขณะที่ ‘กสทช.’ รออัปเดต IOS พัฒนา ‘เฟิร์มแวร์’ ชี้ หากทดลองแล้วใช้ได้ ระบบเซลล์บรอดแคสต์อาจจะสมบูรณ์ ก.ค.นี้
ทั่วไทยอากาศร้อนส่วนภาคใต้ฝนถล่มหนัก 60-70%
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 1 เตือนภาคใต้รับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก 1-4 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 1 - 4 เมษายน 2568) ฉบับที่ 1
อาฟเตอร์ช็อก 'แผ่นดินไหว' เมียนมา ทะลุ 200 ครั้ง!
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้สรุปอาฟเตอร์ช็อก (Aftershocks) แผ่นดินไหวประเทศเมียนมา อัปเดตเวลา 07.00 น. (เวลาประเทศไทย) รวมทั้งสิ้น 200 เหตุการณ์
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่มถึง 1 เม.ย.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 11 โดยมีใจความว่า