1 พ.ค. 2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นหนี้เสียให้สามารถแก้ไขกลับไปเป็นหนี้ปกติได้เร็วขึ้น ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการคลินิกแก้หนี้ ให้สามารถช่วยเหลือผู้เป็นหนี้เสียกรณีบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
ทั้งนี้ เกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 66 เป็นต้นไป โดยกำหนดคุณสมบัติให้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระมากกว่า 120 วันขึ้นไป สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ จากเดิมที่จำกัดว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ที่มีสถานะเป็นหนี้เสียก่อนวันที่ 1 ก.พ. 66 เท่านั้น ซึ่งการปรับเกณฑ์นี้จะทำให้ผู้มีปัญหาการชำระหนี้สามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยไม่ถูกจำกัดช่วงเวลาการเกิดหนี้เสียอีกต่อไป
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลขอเชิญชวนผู้ที่กำลังประสบปัญหาชำระหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล เข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ ซึ่งโครงการจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการแต่ละราย เพื่อจัดทำแผนการชำระหนี้ใหม่ที่เหมาะสมให้กับลูกหนี้เป็นรายกรณี เพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้ต่อเนื่องจนปลดหนี้ได้ ซึ่งภายใต้แผนการชำระหนี้ใหม่อาจมีการกำหนดเงื่อนไขบางประการ เช่น มีเงื่อนไขไม่ให้ลูกหนี้ก่อหนี้ใหม่ เพื่อสร้างวินัยและความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกหนี้ได้อย่างยั่งยืน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถ สมัครร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.คลินิกแก้หนี้.com หรือสอบถามข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่ LINE Official Account ของโครงการที่ @debtclinicbysam, ทางเฟซบุ๊ก คลินิกแก้หนี้ by SAM หรือสอบคอลเซ็นเตอร์ โทร. 1443 ได้ทุกวัน เวลา 9:00 – 19:00 น.
“โครงการคลินิกแก้หนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง ธปท. กับ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) มีเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี, เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท และต้องเป็นหนี้กับสถาบันที่เข้าร่วมโครงการซึ่ง ณ ปัจจุบันมีสถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคาร และไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) เช่นบริษัทบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เข้าร่วมโครงการมากกว่า 30 แห่ง” รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' จับโป๊ะ! ยิ่งฟังรัฐบาลแจง ยิ่งต้องรีบยกเลิก 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงต้องยิ่งยกเลิก MOU 44
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
‘อดีตรองหน.เพื่อไทย’ เตือนสติ ‘ไว้ใจ-ศรัทธา’ คือพื้นฐานเสถียรภาพความมั่นคงรัฐบาล
สามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เตือนสติรัฐบาล
ตัวจริงเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ลั่นอันตราย MOU44 ไทยไม่ยกเลิก ติดกับดักบันได 3 ขั้นกัมพูชา
ตอนนี้เราเข้าไปอยู่ในกับดักขั้นที่สองแล้ว คือมี MOU ไว้แล้ว ก็อย่างที่ผมเสนอว่าสิ่งที่ต้องทำอันแรก ก็คือหนึ่งยกเลิก MOU44 สอง คือในทุกกรณี เราต้องไม่เข้าไปสู่บันไดขั้นที่สอง