สารคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เนื่องใน “วันแรงงานสากล” 1 พฤษภาคม ประจำปี 2566
30 เม.ย. 2566 – สิทธิแรงงานเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน เพื่อให้ได้รับสิทธิการเข้าถึงการจ้างงานโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิที่จะมีหลักประกันสังคมอย่างทั่วถึง ครอบคลุมแรงงานทุกคน ทุกประเภท ทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานภาคบริการ รวมทั้งได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือองค์กรของแรงงาน เพื่อให้สามารถเจรจาต่อรองกับนายจ้างและรัฐ จึงเป็นเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
สังคมปัจจุบันได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในสังคม โดยมีการจ้างงานในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น อาชีพรับส่งสินค้าหรืออาหาร (ไรเดอร์) ซึ่งเป็นอาชีพอิสระ และมีข้อถกเถียงกันว่ารูปแบบการจ้างงานเช่นนี้ถือว่าเป็นนิติสัมพันธ์ที่เข้าข่ายเป็นลูกจ้าง-นายจ้างหรือไม่ และแรงงานเหล่านี้ควรได้รับการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิแค่ไหน อย่างไร
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ข้อ 9 ได้รับรองสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคมรวมทั้งการประกันสังคม และ ข้อ 11 ได้รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับตนเองและครอบครัว ซึ่งคณะกรรมการประจำกติกา ICESCR มีความเห็นว่ารัฐต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าระบบประกันสังคมจะครอบคลุมแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานอิสระ
เนื่องในวันแรงงานสากล 1 พฤษภาคม ประจำปี 2566 กสม. ขอเน้นย้ำความสำคัญของสิทธิแรงงาน โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่ายด้านแรงงาน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ในการขับเคลื่อนให้เกิดการยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานสากล ส่งเสริมการมีงานทำของแรงงานที่ว่างงาน รวมทั้งผลักดันให้รัฐบาลให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มเข้าถึงระบบประกันสังคมและมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอและเหมาะสมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2
กสม.แถลงค้าน ปิดศูนย์เรียนรู้เด็กข้ามชาติ ชี้สถานศึกษาในพื้นที่ ยังไม่มีความพร้อม
ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกาศปิดศูนย์การเรียนมิตตาเย๊ะ บางกุ้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
'ทวี' ขึงขัง! สั่ง 'กรมคุก' ตามดู 'นช.ทักษิณ' รักษาตัวชั้น 14 ละเมิดสิทธิผู้ต้องขังภาพรวมหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ส่งเรื่องให้
เอาแล้ว! ป.ป.ช.รับข้อมูล กสม. พิจารณา ปมเอื้อ ‘ทักษิณ’ รักษาตัวชั้น 14
เรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานของคณะทำงานไต่สวนที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและทบทวนพยานหลักฐาน ซึ่งสุดตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ส่งรายงานการพิจารณาของกสม.มาให้ป.ป.ช.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
กสม. ชงแก้กม. ให้ผู้ติดยาเสพติดได้บำบัดรักษา โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิ
'กสม.' ชงแก้ไข กม. ให้ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้ โดยไม่จำกัดสิทธิว่าเป็นผู้กระทำผิด ตามหลักสากล 'ผู้เสพคือผู้ป่วย'
เปิดผลสอบ 'กสม.' ชี้ชัด 'ทักษิณ' อภิสิทธิ์ชน ยื่น ป.ป.ช. ฟัน 'เรือนจำ-รพ.ตำรวจ'
กสม. สอบร้องเรียนปม 'ทักษิณ' ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น ชี้ชัด 'เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ-รพ.ตำรวจ' เลือกปฏิบัติละเมิดสิทธิ ยื่น ป.ป.ช.ฟัน