ทบ. หนีบ ‘พลทหาร-ผู้พัน’ แจงดราม่า ‘ต้มฟักวิญญาณไก่’ ร.151 พัน.2 ชี้เป็นเรื่องเข้าใจผิด ‘พลทหาร’ นำน้ำซุปใส่ปิ่นโตไปปรุงใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่กองร้อย แต่ทหารเวรฯคนอื่นเข้าใจผิดเป็นอาหารเวรรักษาการณ์ของตน เลยถ่ายภาพส่งให้เพื่อนโพสต์เฟซบุ๊ก
25 เม.ย.2566 - พล.ต.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก ทบ. แถลงข่าว ร่วมกับ พ.ท.สกล มีสัมฤทธิ์ ผบ.ร.151 พัน 2 และพลทหาร ชุติเดช หลิ่มชู ทหารกองประจำการ ผลัด 2/64 ประเด็นการประกอบเลี้ยงของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 151 (ร.151 พัน.2) จ.นราธิวาส ว่า กองทัพภาคที่ 4 ระบุภาพน้ำซุปที่อ้างเป็นกับข้าวทหาร เป็นเรื่องเข้าใจผิด ยืนยันคุณภาพการประกอบเลี้ยงตามมาตรฐาน ทบ. ในส่วนที่สื่อโซเชียลมีเดียได้นำเสนอภาพอาหารที่อ้างว่าเป็นการประกอบเลี้ยงทหารกองประจำการของ ร.151 พัน.2 โดยร้องให้ตรวจสอบถึงคุณภาพอาหารดังกล่าวนั้น
พ.ท.สกล มีสัมฤทธิ์ ผู้บังคับการ ร.151 พัน.2 แถลงชี้แจงข้อเท็จจริงยืนยันการประกอบเลี้ยงของหน่วยว่ามีคุณภาพและได้มาตรฐานตามนโนบายของกองทัพบก ส่วนภาพที่นำมาเผยแพร่นั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของกำลังพล ซึ่งมิได้มีการตรวจสอบการประกอบเลี้ยงในวันดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อน แต่นำไปร้องผ่านเพจเฟซบุ๊กจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด
สำหรับรายละเอียดของเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ 23 เมษายน 2566 โดยในการประกอบเลี้ยงของหน่วยเป็นไปตามปกติ คือจัดให้มีการรับประทานอาหารเป็นส่วนรวมที่โรงอาหาร กับ การนำอาหารใส่ภาชนะ (ปิ่นโต) ไปให้เวรรักษาการณ์รับประทานที่กองร้อย
ภายหลังรับประทานอาหารเสร็จ มีทหารกองประจำการ 1 นาย ได้นำกล่องพลาสติกมาขอน้ำต้มซุปเพื่อจะนำไปปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรับประทานส่วนตัวและได้นำไปไว้ที่กองร้อย
ต่อมาทหารที่ทำหน้าที่เวรรักษาการณ์มาพบกล่องพลาสติกจึงเข้าใจผิดว่าน้ำซุปในกล่องพลาสติกดังกล่าวเป็นอาหารเวรรักษาการณ์ของตน นำไปสู่การถ่ายภาพส่งข้อมูลไปให้เพื่อนในเพจเฟซบุ๊กจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด
จึงขอเรียนว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการรับ - ส่งอาหารของเวรรักษาการณ์ ทำให้เกิดความไม่สบายใจของทหารกองประจำการที่ทำหน้าที่เวรรักษาการณ์ได้รับอาหารนั้น จึงได้มีการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลตามที่ปรากฏในสื่อโซเชียล
สำหรับการประกอบเลี้ยงทหารกองประจำการของกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 151 ได้ดำเนินการตามระเบียบการใช้เงินเบี้ยเลี้ยงทหาร เพื่อการประกอบเลี้ยงในอัตรา 70 บาท/คน/วัน สำหรับอาหาร 3 มื้อ (เป็นค่าข้าว กับข้าว และค่าเชื้อเพลิง) ซึ่งในทุกมื้อมีอาหารจำนวน 2 อย่าง พร้อมของหวานในมื้อเที่ยงของทุกวัน และอาหารพิเศษในมื้อเที่ยงทุกวันพุธ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
สำหรับทหารกองประจำการทุกนาย กองทัพบกให้การดูแลในเรื่องของสิทธิสวัสดิการ เบี้ยเลี้ยง เครื่องแต่งกาย เครื่องนอน เครื่องสนาม การเลี้ยงดูความเป็นอยู่ การพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย ส่งเสริมการศึกษา ให้โอกาสต่อยอดรับราชการทหาร ส่งเสริมการฝึกอาชีพ โดยในส่วนของอัตราเงินเดือนทหารกองประจำการภายหลังผ่านการฝึกทหารใหม่ ปีที่ 1 ประมาณ 3,670 บาทต่อเดือน เมื่อเข้าประจำการในปีที่ 2 จะได้รับเงินเดือน 4,400 - 4,870 บาท, ค่าเบี้ยเลี้ยง 96 บาทต่อวัน รวมเงินเดือนและค่าเบี้ยเลี้ยงทหารกองประจำการจะได้รับประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้หากทหารเข้าประจำการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับค่าเสี่ยงภัย 2,500 บาทต่อเดือน และเมื่อปฏิบัติภารกิจสนาม จะได้รับค่าเสบียง 15 บาท/คน/วัน, ค่าเลี้ยงดู 6 บาท/คน/วัน, ค่าเบี้ยเลี้ยงสนาม 104 บาท/คน/วัน เพิ่มเติม โดยสรุปแล้วเมื่อทหารกองประจำการปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับค่าตอบแทนประมาณ 15,000-16,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ขอเรียนว่ากองทัพบกโดยกรมพลาธิการทหารบกได้กำหนดแนวทางการประกอบเลี้ยงทหารกองประจำการ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน่วย รวมถึงได้มีการปรับปรุงเมนูอาหารกว่า 400 รายการ มอบให้หน่วยทหารไปดำเนินการประกอบเลี้ยงโดยยึดหลัก คุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณเพียงพอ ถูกสุขลักษณะและสอดคล้องกับวัตถุดิบหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น เพราะตระหนักถึงการพัฒนาศักยภาพของทหารกองประจำการ ที่ต้องมีทั้งด้านกายภาพและทักษะทางด้านการทหารเพื่อพร้อมในการทำหน้าที่ด้านความมั่นคงและการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผบ.ทบ. เซ็น แต่งตั้ง-โยกย้าย ผู้บังคับกองพันทั่วประเทศ 461 นาย
การแจกจ่ายคำสั่งกองทัพบกที่ 442/ 2567 โดยมี พ.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก ลงนาม เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2567 แต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับผู้บังคับกองพันทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 461 นาย
ผบ.ทบ. ถอด 'คอแดง' ใส่ชุดฝึก 'คอเขียว' หลังปรับโครงสร้างหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904
พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก นำคณะผู้บังคับบัญชาของกองทัพบก เดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และศูนย์การบินทหารบก
ไม่ชอบดราม่า! 'ป้าแสงเดือน' โพสต์เจอน้ำท่วมยังไม่ร้ายแรงเท่าคลื่นแห่งความเกลียดชัง
นางแสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม
ศปช.ส่วนหน้า เผยคืบหน้าฟื้นฟูแม่สาย ในพื้นที่รับผิดชอบ 'มหาดไทย-กลาโหม'
ในการประชุมศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศปช.ส่วนหน้า) วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ซึ่งมี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ และพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์
ไม่ชอบดราม่า! 'ป้าแสงเดือน' ขู่ฟ้อง ลั่น! การใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น มีมูลค่าที่ต้องจ่ายเสมอ
นางแสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟ
ผบ.ทบ. สั่งสำรวจความต้องการสิ่งจำเป็นในพื้นที่น้ำท่วม เพื่อขอพระราชทานเพิ่มเติม
พลเอกพนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานการประชุมสรุปสถานการณ์ประจำวันของศูนย์ปฏิบัติก