21 เม.ย.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21-27 เมษายน ในช่วงวันที่ 21-23 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป
สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย และขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 21 – 27 เมษายน พ.ศ. 2566
ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 22 – 24 เม.ย. 66 อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 – 43 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
ส่วนช่วงวันที่ 25 - 26 เม.ย. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
วันที่ 27 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 22 เม.ย. 66 อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 – 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนช่วงวันที่ 23 – 26 เม.ย. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
วันที่ 27 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 21 – 24 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในวันที่ 25 - 26 เม.ย. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
วันที่ 27 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 21 – 22 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ส่วนในวันที่ 23 – 26 เม.ย. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส
วันที่ 27 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) อากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 21 - 24 เม.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 27 เม.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 39 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 21 - 22 เม.ย. 66 ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 27 เม.ย. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 21 – 24 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในวันที่ 25 - 26 เม.ย. 66 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
วันที่ 27 เม.ย. 66 อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันฉบับ 3 เตือนฝนตก 25-26 ธ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง
รับมือด่วน! ‘กรมอุตุฯ’ ประกาศ ฉ.1 เตือนพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง
หนาวสะท้าน! ยอดดอย ’เลย-เชียงใหม่’ 7 องศาฯ อ.คลองหลวง ปทุมธานี 18.5 องศาฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทย เช้าวันนี้ (22 ธ.ค. 67) วัดได้ 11.0 องศาเซลเซียส บริเวณภาคเหนือ ที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อ.เมืองเลย จ.เลย
ลมหนาวมาอีกระลอก อุตุฯชี้อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกในระยะต่อไป
กรมอุตุฯ จับตาพายุในทะเลจีนใต้ ทำหลายพื้นที่มีฝนตก อากาศแปรปรวนช่วงสิ้นปี
กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 21 ธ.ค.67 - 4 ม.ค.68 init. 20241212012 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก