เด็ก มธ. สร้างชื่อระดับเอเชียแปซิฟิก คว้าเหรียญทองแดง แข่งขันประมวลผลบนคอมพ์สมรรถนะสูง

‘เด็กธรรมศาสตร์’ สร้างชื่อระดับเอเชียแปซิฟิก แข่งขันประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง คว้าเหรียญทองแดง ร่วมกับ ‘สิงคโปร์-ไต้หวัน’

เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ทำให้แอปโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) สามารถเลือกเนื้อหามาวางบนสร้างหน้าเพจ ยิงโฆษณา และแนะนำฟีดที่ตรงใจผู้ใช้แต่ละคนได้ การปฎิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่งเอไอเกิดจากการดึงขุมพลังการคำนวณขั้นสูงของระบบซูปเปอร์คอมพิวเตอร์หรือเฮชพีซี (HPC: High Performance Computing) จากเดิมที่เคยใช้เพื่อการค้นคว้าทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ขั้นสูง มาใช้ในการคำนวณเอไอด้วย ทักษะความรู้ความสามารถในการดึงพลังการคำนวณบนระบบเฮชพีซีจึงเป็นกำลังสำคัญที่สามารถช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ ผลักดันธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ

จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เมื่อทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์ลำปาง ในฐานะตัวแทนเยาวชนไทยที่สามารถปักธงบน เวที APAC HPC-AI 2021 การแข่งขันประชันสมรรถนะของโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง โดยคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ร่วมกับทีมจาก National Tsing Hua University ประเทศไต้หวัน และทีมจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

สำหรับสมาชิกทีมธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ วงค์สอน นักศึกษาชั้นปี 4 นายนพณัฐ นามปั๋น นักศึกษาชั้นปี 4 น.ส.สุชาดา สุริวงค์ นักศึกษาชั้นปี 4 น.ส.สุชานันท์ ใจมุข นักศึกษาชั้นปี 4 นายศุภเกียรติ์ ไหวพินิจ นักศึกษาชั้นปี 3 และ น.ส.ศิริภัสสร ขวัญจิตร์ นักศึกษาชั้นปี 3

การแข่งขัน APAC HPC-AI 2021 ถือเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดโดย HPC-AI Advisory Council และ the National Supercomputing Centre (NSCC) Singapore เป็นการดึงสมรรถนะของโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ในปีนี้เป็นการจัดการแข่งขันครั้งที่ 4 มีทีมผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 36 ทีม จาก 13 ประเทศ โดยแข่งขันผ่านทางออนไลน์ที่ใช้เวลาแข่งขันนานถึง 5 เดือน

นายอภิสิทธิ์ เล่าว่า การแข่งขันครั้งนี้ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงของ the National Supercomputing Centre (NSCC) ประเทศสิงคโปร์เพื่อทำโจทย์ ซึ่งโจทย์แต่ละปีจะไม่เหมือนกัน โดยในปีนี้โจทย์จะมี 2 ข้อ เป็นโจทย์เฮชพีซีและเอไอ โจทย์เฮชพีซีเราต้องดึงสมรรถนะของโปรแกรมโกรแมคส์(GROMACS) ในการจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล ของไวรัส STMV และ Lignocellulos มาทำการประมวลผลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงโดยใช้ซีพียูพร้อมกันได้มากถึง 768 ซีพียู ให้มีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนโจทย์ด้านเอไอ เราต้องดึงสมรรถนะของโมเดลแนะนำไอเท็มบนหน้าฟีดของเฟซบุ๊ค (Facebook DLRM) เมื่อประมวลผลบนเครื่องจีพียูคลัสเตอร์ Nvidia DGX-1

ในการแข่งขันทีมธรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ทีมย่อย ทีมละ 3 คน แยกกันทำทีมละโจทย์ สำหรับโจทย์โมเดล HPC เป็นโจทย์ที่ค่อนข้างแพร่หลายแล้ว การวิเคราะห์แบบจำลองนี้เราได้เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งได้ทำการศึกษามาก่อนแล้ว ส่วนโจทย์โมเดลปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้แพร่หลายเหมือนโมเดล HPC ทีมก็พยายามเสนอผลลัพธ์ที่พอจะทำได้

“อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร. วรวรรณ ดีอัซ การ์บาโย มีส่วนร่วมในการแข่งขันครั้งนี้มาก เพราะหัวข้อที่ทำการแข่งขันไม่ได้มีสอนในหลักสูตรตรงๆ จะมีการประยุกต์จากวิชาที่เรียน ฉะนั้นเวลาฝึกอาจารย์จะต้องเข้ามาอธิบายและสอนเพิ่มเติมให้ทีม อาจารย์มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ช่วยเทรน ช่วยสอนให้พวกเรา ทำให้พวกเราสามารถคว้ารางวัลมาได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นอกจากฝีมือและไอเดียแล้ว อีกปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง สามารถคว้ารางวัลมาได้ นั่นคือประสบการณ์ที่ได้จากการแข่งขัน

เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขัน ทว่า “นายอภิสิทธิ์” และเพื่อนอีก 2 คนในทีม ก็เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ เมื่อปีก่อนมาแล้ว “นายอภิสิทธิ์” เล่าว่า เคยร่วมการแข่งขันเมื่อปีที่แล้ว แต่ขณะนั้นทุกคนยังใหม่ ซึ่งประสบการณ์จากเวทีแรกทำให้กลับมาฟอร์มทีมใหม่ โดยได้กำลังสำคัญมาจากน้องๆ ปี 3 อีก 2 คน

“ปีที่แล้วมีทั้งหมด 6 รางวัล แต่ทีมเราได้คะแนนลำดับที่ 7 พลาดไป 1 อันดับ แต่ในปีนี้สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 มาได้ ถือว่าได้อันดับที่ดีขึ้นจากการแข่งปีที่แล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรามีประสบการณ์มาก่อนแล้ว สำหรับน้องๆ ปี 3 ในทีมคาดว่าปีหน้าถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด คงจะฟอร์มทีมเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้ง ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ได้อันดับและคะแนนที่ดีกว่าเดิม” นายอภิสิทธิ์ ระบุ

นายอภิสิทธิ์ บอกว่า การเรียนในห้องเหมือนเป็นการสอนทฤษฎี ส่วนการแข่งขันเหมือนการหาประสบการณ์จากการปฏิบัติที่จะเอาไปใช้ ในการทำงานหรือการเรียนต่อการวิจัย ถ้ามีโอกาสที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน ก็เหมือนได้รับโอกาสเพิ่มมาจากคนอื่นๆ ด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ
MEDIA HOTLINE : พรศรินทร์ ศรีสวัสดิ์ / 087-171-8944 / [email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม

ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม

ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 7 นวัตกรรมเพื่อสังคม ส่งมอบ 'SIT-TO-STAND' ดูแลผู้สูงวัย กทม.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัว “7 นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย” ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ เตรียมพร้อมรับมือ Super Aged Society พร้อมมอบนวัตกรรม SIT-TO-STAND TRAINER อุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย

เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete

'เกษียร' แย้ง 'พุทธทาส' เมื่อไหร่เอาศาสนกิจมาเป็นเกณฑ์กำหนดการเมือง เมื่อนั้นจะได้เผด็จการโดยธรรม

ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักรัฐศาสตร์อาวุโส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Kasian Tejapira ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีไว้เพื่อ

'ธรรมศาสตร์' จัดงานครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย

“ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์” นำอ่านประกาศสันติภาพ 16 สิงหาคม 2488 ในงาน “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดรำลึกปฏิบัติการกอบกู้ชาติของ “ขบวนการเสรีไทย” จน

'ธรรมศาสตร์' ชวนรำลึกวันวาน กับคอนเสิร์ตเพื่อคุณภาพชีวิต

ธรรมศาสตร์ ณ ลุ่มเจ้าพระยา ชวนรำลึกวันวาน 90 ปี ธรรมศาสตร์ กับ คอนเสิร์ตการกุศล เพื่อคุณภาพชีวิต 90ปี ธรรมศาสตร์ กับสุนทราภรณ์ พบกับวงดนตรีสุนทราภรณ์เต็มวงชุดใหญ่ พร้อมนักร้องรับเชิญ อาร์ม-กรกันต์ สุทธิโกเศศ รองชนะเลิศอันดับ 1 KPN Award เคยรับบทเป็น อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ วัยหนุ่มในละครเวที มังกรสลัดเกร็ด