กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หวั่นยอดผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งสูง หลังประชาชนเดินทางท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ แนะให้สังเกตอาการตนเอง หากพบว่ามีอาการป่วยให้ตรวจ ATK ก่อนเริ่มกลับเข้าทำงาน รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัย
18 เม.ย. 2566 – ดร.นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 9-15 เมษายน 2566 พบว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในโรงพยาบาล จำนวน 435 คน เฉลี่ยวันละ 62 คน เพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าจากสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 2-8 เมษายน 2566 ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 168 คน เฉลี่ยวันละ 24 คน สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติ หลังห่างหายจากเทศกาลสงกรานต์มานาน การเดินทางไปท่องเที่ยว กลับภูมิลำเนา รวมทั้งสถานประกอบการ สถานบันเทิง มหกรรมรื่นเริงกลับมาคึกคักอีกครั้ง ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดร.นายแพทย์สราวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะที่ประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทยมีรายงานพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ จำนวน 6 ราย ทั้งนี้เชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 มีความสามารถในการติดต่อสูงกว่าเชื้อสายพันธุ์อื่น แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรงอื่นๆ เพิ่มเติม กระทรวงสาธารณสุขจึงมีการเตรียมความพร้อมรับมือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้สามารถเข้ารับการรักษา
ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการของโรค ผู้ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาตามอาการ และกลับไปรักษาต่อที่บ้านได้ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและโรคประจำตัว จะได้รับการวินิจฉัยให้ยาต้านไวรัสตามความเหมาะสม แต่จะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในกลุ่มผู้ที่มีปอดอักเสบรุนแรง และมีภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ร่วมด้วย ซึ่งจากข้อมูลวันที่ 8 เมษายน 2566 พบผู้ป่วยปอดอักเสบ จำนวน 19 คน และใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 14 คน สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงที่อยู่บ้าน อาจได้รับการแพร่เชื้อจากบุคคลในครอบครัวที่เดินทางมาเยี่ยมตามประเพณี หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้รีบปรึกษาเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขทันที
“อีกทั้ง กรมอนามัยขอให้ประชาชนเฝ้าระวังตนเอง โดยสังเกตอาการ หากไอ เจ็บคอ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ หายใจลำบาก ให้ตรวจ ATK เพื่อความมั่นใจ รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อกลับเข้าไปทำงาน และล้างมือเป็นประจำ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพราะหากเกิดการระบาดเป็นวงกว้างอาจส่งผลต่อการทำงาน ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานอาจพิจารณาให้พนักงานที่ป่วยทำงานที่บ้าน สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้ายเป็นระยะเวลา 4 เดือน สามารถเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งสามารถลดอาการรุนแรงของโรค และป้องกันการเสียชีวิตได้” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
รัฐบาลพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน เช็กสุขภาพ-เยียวยาจิตใจทันที
นายกฯ รับรายงานพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน ด้าน สธ. เตรียมทีมดูแลสุขภาพกาย-จิตใจ ทันทีที่เหยียบแผ่นดินไทย
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform