ม.สงขลา ชี้ฝุ่น PM 2.5 ภาคใต้ไม่ได้มาจากอินโดฯ

18 เม.ย. 2566 – เพจรายงานสถานการณ์หมอกควันในภาคใต้ โดยสถานีวิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โพสต์ข้อความระบุว่า

ฝุ่นควันที่ปกคลุมภาคใต้ ณ ขณะนี้ “ไม่ใช่ฝุ่นควันอินโด” #ฝุ่นควันภาคใต้

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในวันนี้ (17 เมษายน 2566) ยังคงมีค่าสูงกว่าปกติอยู่ในช่วง 35-50 ug/m3 ทั่วทั้งภาคใต้ ท้องฟ้ายังคงมีความขมุกขมัว อากาศร้อนอบอ้าว ไม่มีลม

หลายคนสงสัยว่าฝุ่นควันที่ปกคลุมภาคใต้ตอนนี้มาจากไหนเป็นฝุ่นควันจากอินโดหรือป่าว ❓

จากการทำแบบจำลองการเคลื่อนที่ของมวลอากาศแบบย้อนกลับ (Backward trajectory) ด้วย HYSPLIT model ในจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ ได้แก่ ระนอง สงขลา สุราษฏร์ธานี ภูเก็ต พบว่า

ลมที่ระดับความสูง 3000 เมตร AGL (เส้นลมสีชมพูในรูป) เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน hotspot บางส่วนทั้งจากประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม หอบฝุ่นควันเข้ามาสู่พื้นที่ภาคใต้ และลมที่ระดับ 1000 เมตรเป็นลมตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งอาจจะพัดพากลุ่มฝุ่นควันที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรอินเดียบางส่วนเข้ามาในภาคใต้อีกด้วย (ภาพถ่ายดาวเทียมกลุ่มก้อนฝุ่นควันในมหาสมุทรอินเดีย https://worldview.earthdata.nasa.gov)

ประกอบกับในช่วงนี้ภาคใต้มีลมผิวดินค่อนข้างต่ำ ทำให้อัตราการระบายอากาศไม่ดี เกิดการสะสมตัวของฝุ่นละอองในพื้นที่เพิ่มขึ้น

คาดว่าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ไปอีก 2-3 วัน (18-20 เมษายน 2566) เนื่องจากลมพื้นผิวจะมีกำลังแรงขึ้น การระบายอากาศจะเกิดขึ้นได้ดีขึ้น และลมที่ระดับความสูง 3000 เมตรอาจจะมีการเปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันออกมากขึ้นพัดผ่านจุดความร้อนน้อยลง ไม่หอบฝุ่นจากภายนอกเข้ามาเติมในพื้นที่ นอกจากนี้คาดว่าจะมีฝนตกในบางพื้นที่อีกด้วย คาดว่าสถานการณ์ฝุ่นควันภาคใต้จะดีขึ้นตามลำดับ

ในช่วงนี้ประชาชนในพื้นที่ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 เช่น การเผาชีวมวลหรือเผาขยะในที่โล่ง เป็นต้น
อย่าลืมเช็คข้อมูลฝุ่นที่ได้ https://airthai.in.th/th/

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)