18 พื้นที่อ่วม! เช็กค่าฝุ่นPM2.5 รายพื้นที่ทั่วกรุง

7 เม.ย. 2566 - ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 32-58 ไมโครกรัม (มคก.) / ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 45.3 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังคงเกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 18 พื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 33-57 มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 18 พื้นที่ ได้แก่

1.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

2.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

3.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

4.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

5.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

6.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

7.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

8.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

9.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

10.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

11.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

12.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

13.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

14.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

15.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

16.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

17.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

18.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 7-14 เม.ย. 2566 จะมีสภาพอากาศเปิดและมีฝนบางพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 7-9 เม.ย. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

ในวันที่ 7 เม.ย. 2566 อาจมีสภาพอากาศที่ปิดได้ในบางพื้นที่ แต่ภาพรวมของพื้นที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับช่วงวันที่ 7-13 เม.ย.2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
พบจุดความร้อน ดังนี้

ในวันที่ 6 เมษายน 2566 จำนวน 3 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 เวลา 13.25 น. แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก จุดที่ 2 เวลา 14.14 น. แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี จุดที่ 3 เวลา 14.14 น. แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก

ในวันที่ 7 เมษายน 2566 จำนวน 2 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 เวลา 01.58 น. แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก จุดที่ 2 เวลา 01.58 น. แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก (อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อน)

แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทางแอปพลิเคชัน AirBKK www.airbkk.com www.pr-bangkok.com FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม FB: กรุงเทพมหานคร LINE ALERT LINE OA @airbangkok

เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนกรุงยังอ่วม! ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน ระดับสีส้ม 51 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 43..4 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง เกินมาตรฐานระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 51 พื้นที่

ชลประทานเชียงใหม่ งัดไม้แข็งจะไม่ปล่อยน้ำ หากมีการเผาป่าในพื้นที่เกษตร

นายชัยณรงค์ นันตาสาย ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางณัฐธัญ กาหลง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่

'ดร.เอ้' เผยพ่อป่วยเข้าไอซียู เพราะสูดฝุ่นพิษ PM 2.5 เรื่องเศร้าคนกรุงตายผ่อนส่ง

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผมขอ "ขอบพระคุณ" ทุกท่านที่แสดงความห่วงใยคุณพ่อครับ

เปิดไทม์ไลน์ แก้ฝุ่นพิษ PM 2.5 จากฝั่งการเมือง ฉะยับหลายกระทรวงไม่ขยับ

นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตรองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊กกรณีค่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯอยู่ในระดับอันตรายว่า

กทม.อ่วม! ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน ระดับสีส้มทุกพื้นที่ สีแดง 1 พื้นที่ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568 ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 60.9 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานจำนวน 70 พื้นที่