2 เมษายน 2566 – กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป ระบุว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนบริเวณอื่นๆ มีการสะสมน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมและมีฝนตกในบางพื้นที่
ออกประกาศ 02 เมษายน 2566
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 20-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร
อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เผยลมหนาวแผ่ลงมาต่อเนื่องช่วงปีใหม่ 28 ธ.ค. ถึง 9 ม.ค.68
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 26 ธ.ค.67 - 9 ม.ค.68 init. 2024122512 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป
ทั่วไทยยังเจออากาศเย็นและหมอกในตอนเช้าแต่อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
กรมอุตุฯ คาดอากาศวันคริสต์มาสยังหนาวเย็นแต่อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
กรมอุตุฯ ประกาศพายุดีเปรสชันฉบับ 3 เตือนฝนตก 25-26 ธ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง
รับมือด่วน! ‘กรมอุตุฯ’ ประกาศ ฉ.1 เตือนพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง