หน่วยงานด้านการศึกษา-สาธารณสุข เสี่ยงถูกคุกคามโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุด

21 มี.ค.2566 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565 ตามที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เสนอ รายงานฉบับนี้ นำเสนอเกี่ยวกับสถิติเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติตรวจพบมากที่สุด มีจำนวนทั้งสิ้น 551 เหตุการณ์ อาทิ
 
1.การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์ (Hacked Website) การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์เพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การฝังมัลแวร์อันตรายบนหน้าเว็บไซต์หน่วยงานเพื่อหลอกให้ผู้เข้าถึงเว็บดาวน์โหลดไปติดตั้ง (Website Malware) รวม 367 เหตุการณ์
 
2.Ransomware เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่มีความสามารถเข้ารหัสลับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้ รวม 21 เหตุการณ์
 
3.Emotet Malware เป็นมัลแวร์ที่มีความสามารถในการขโมยข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์ และมีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองผ่านเครือข่ายและการส่งอีเมลหลอกลวง (Phishing mail) รวม 9 เหตุการณ์
 
สำหรับหน่วยงานที่ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ อาทิ หน่วยงานด้านการศึกษา 211 เหตุการณ์ หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ 135 เหตุการณ์ และหน่วยงานด้านสาธารณสุข 67 เหตุการณ์ ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิด อาทิ 1)การโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์หน่วยงานราชการและหน่วยงานสำคัญเป็นรูปแบบที่ถูกตรวจพบมากที่สุด 2)หน่วยงานด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขพบการโจมตีทางไซเบอร์สูงสุด และ 3)อาชญากรทางไซเบอร์ในไทยมีการใช้เทคนิคผสมผสานระหว่าง Phishing และ Social Engineering (เทคนิคการหลอกลวงโดยใช้หลักการพื้นฐานทางจิตวิทยาเพื่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูล) ทำให้มีหลากหลายรูปแบบในการหลอกลวงเหยื่อเพื่อให้ได้ทรัพย์สิน
 

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า รายงานฉบับนี้ ได้เสนอข้อแนะนำการแก้ปัญหาสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ คือ 1.การถูกโจมตีด้วยการแฮ็กเว็บไซต์ หน่วยงานภาครัฐและผู้ดูแลระบบดำเนินการปรับปรุง “แพทช์” ของระบบปฏิบัติการ หรือระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (แพทช์ คือ โปรแกรมที่ใช้ซ่อมแซมจุดบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือปรับปรุงข้อมูลโปรแกรมให้ทันสมัย เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น) 2.การดูแลเว็บไซต์และระบบที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐได้กำหนดนโยบายการดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ มุ่งรักษาระบบและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงแนวทางการกำหนดคุณสมบัติเพื่อการจัดจ้างทำเว็บไซต์ 3.หน่วยงานภาครัฐสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้ตระหนักรู้ถึงสถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง 4.การป้องกันความเสี่ยงมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดำเนินการปรับปรุงแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการสำรองข้อมูลและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

'บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต' เคาะแหล่งที่มาเงิน 4.5 แสนล้าน ไม่ง้อ ธ.ก.ส. ชง ครม. 23 ก.ค.

'บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต' เคาะงบ 4.5 แสนล้าน แจก 45 ล้านคน ตัดงบ ธ.ก.ส. ชง ครม. สัปดาห์หน้า แถลงใหญ่ 24 ก.ค. ยันลงทะเบียนไตรมาส 3 โอนเงินไตรมาส 4

‘หมอธีระวัฒน์’ ควง ‘รสนา-ปานเทพ’ นัดแถลงยื่น สธ. ประกาศกัญชาเป็นยาเสพติดแบบมีเงื่อนไข

ขอเชิญสื่อมวลชนและพี่น้องประชาชนผู้สนใจ ทำข่าวการยื่นหนังสือขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ครม. อนุมัติโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของกลาโหม ปีงบประมาณ 68-70

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม (กห.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570

ดีอี ประกาศแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับร้ายแรง

รมว. ดีอี ประกาศแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับร้ายแรงสั่งการ สกมช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สกัดโจรออนไลน์สร้างความเสียหายกว่า 2,600 ล้านบาทพร้อมปกป้อง ปชช. ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

ครม.อนุมัติแต่งตั้งขรก.หลายกระทรวง เห็นชอบ 'วิศิษฏ์' นั่งประธานบอร์ด ก.ล.ต.คนใหม่

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ/เห็นชอบในเรื่องแต่งตั้ง วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ดังนี้