ป.ป.ช. เปิดยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์ ตั้งแต่ 1 เม.ย.

20 มี.ค. 2566 – นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เพิ่มช่องทางในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินผ่านทางระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.nacc.go.th และ https://asset.nacc.go.th./ods-app เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเดิมจะต้องดำเนินการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบ ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค

แต่ภายหลังที่สำนักงาน ป.ป.ช.ได้เปิดช่องทางยื่นฯ ผ่านระบบออนไลน์สำหรับระยะที่ 1 ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา นับว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ มีจำนวนผู้ยื่นบัญชีผ่านระบบแล้ว 138 ราย ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้อื่น เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว มีความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งานเพราะมีขั้นตอนยืนยันตัวตน โดยผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สินสามารถจัดเก็บและเรียกดูข้อมูลรายการทรัพย์สินของตนเองบนระบบได้ ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. วางแผนจะเพิ่มจำนวนผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ ผ่านระบบออนไลน์ให้ได้เป็นร้อยละ 50 ต่อไป ทั้งนี้ รายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นผ่านระบบออนไลน์ จะช่วยให้ผู้ตรวจสอบทรัพย์สินสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันที ส่งผลให้การตรวจสอบทรัพย์สินฯทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ขณะนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เตรียมพร้อมสำหรับระยะที่ 2 ที่จะเปิดให้เริ่มยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 โดยเปิดสำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ ตามมาตรา 102 (1-8) ได้แก่ (1) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ (4) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป (5) ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาล ปกครองชั้นต้นขึ้นไป (6) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป (7) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และ (8) ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ

ต่อด้วยระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 สำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (9) ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิก สภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยในปีที่ผ่านมาภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินสามารถจัดการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินฯ คงค้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. จะมุ่งเน้นการตรวจสอบเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบยืนยันและเชิงลึก ซึ่งจะนำไปสู่การไต่สวนคดีร่ำรวยผิดปกติเพื่อร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต่อไป

ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถเข้าใช้งานระบบการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (Online Declaration System หรือ ODS) โดยยื่นบัญชีฯ ในรูปแบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.nacc.go.th และ https://asset.nacc.go.th./ods-app สอบถามเพิ่มเติมโทรสายด่วน ป.ป.ช. 1205 ในวันและเวลาราชการ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.

ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

ต้องถึงศาล! แกนนำม็อบงัดกฤษฎีกาชี้ 'กิตติรัตน์' ขัดระเบียบฯยังไม่พ้น 'ตำแหน่งทางการเมือง' 1 ปี

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ต้องถึงศาล มีเนื้องหาดังนี้่