14 มี.ค. 2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา นาย อรรถการ ฟูเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้ทำหนังสือบันทึกข้อความ ถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ชี้เเจงการเพิกถอนหมายจับ สมาชิกวุฒิสภาคนดัง
โดยหนังสือระบุ ตามที่ท่านเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีหนังสือด่วนที่สุดเรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลคดี กรณีมีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอภิปราย พาดพิงศาลยุติธรรม ว่าศาลอาญามีการเพิกถอนหมายจับโดยมีการแทรกแซงจากรองอธิบดี ผู้พิพากษารายหนึ่ง ซึ่งมีข้อมูลว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขอหมายจับนาย อ ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา หลังจากนั้นมีการเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาแล้วศาลอาญามีคำสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าว โดย ต้องการทราบว่า ผู้ใดเป็นผู้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาเพื่อเพิกถอนหมายจับและผู้ที่สั่งทราบได้ อย่างไรว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น ความดังทราบแล้วนั้น
เดิมเมื่อวันที่ 9 ก.ย. พ.ต.ท.มานะพงษ์ วงศ์พิวัฒน์ สารวัตร กองกำกับการสืบสวน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้มาดำเนินการขอหมายจับบุคคล 9 คน ในความผิดฐานสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด และได้มีการกระทำความผิด ร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามที่ได้สมคบกันนั้น ฐานสนับสนุนช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือ ขณะกระทำความผิด ฐานจัดหาวัตถุใดๆ เพื่อประโยชน์ หรือให้ความสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือเพื่อไม่ให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ และฐานรับทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นๆ จากผู้กระทำความผิด เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด หรือ ไม่ให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯและประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ซึ่งต่อมาในเบื้องต้นจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 คน คือ 1.นายทุน มินหลัด (Mr. Tun Min Latt) สัญชาติเมียนมา 2.นาย ดีน ยัง จุดธุระ 3. น.ส.น้ำหอม เนตรตระกูล 4.นาง ปิยะดา คำต๊ะ5.บริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป (พีแอนด์อี) จำกัด โดยนายทุน มิน หลัก
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ต.ค.วลาประมาณ 10.00 น.พ.ต.ท. มานะพงษ์ ได้ยื่นคำร้องขอหมายจับ ส.ว.คนดังในข้อหาเช่นเดียวกับการขอหมายจับครั้ง แรกดังกล่าวข้างต้นทั้งเพิ่มเติมให้ดำเนินคดี ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน สมคบโดยตกลงตั้งแต่ สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ ได้มีการ สมคบกัน และสนับสนุนการฟอกเงิน ตาม
พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ด้วย เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมชำนาญงาน ซึ่งเป็นหัวหน้างานฝากขัง หมายค้น หมายจับ ได้เเจ้งเลขานุการศาลอาญา ทราบว่าบุคคลดังกล่าวเป็นวุฒิสมาชิก เพื่อรายงานนายศักดิ์ชัย รังษีวงศ์อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบตามลำดับ
ต่อมาเมื่อผู้พิพากษาศาลอาญาที่ทำหน้าที่พิจารณาออกหมาย ค้นหมายจับประจำวันดังกล่าวได้ทำการพิจารณาแล้วออกหมายจับนายอุปกิต ให้ พ.ต.ท. มานะพงษ์ไปดำเนินการแล้วเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมชำนาญงาน คนดังกล่าวได้โทรศัพท์รายงานเลขานุการศาลอาญาอีกครั้ง และ แจ้งว่าการออกหมายจับดังกล่าวน่าจะไม่ได้มีการปรึกษาผู้บริหารศาลอาญาก่อนออกหมายจับ เลขานุการศาลอาญาจึงได้รายงานแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และมาสอบถามข้าพเจ้าในฐานะ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคนที่ 1 ว่ามีเหตุการณ์ที่มีการออกหมายจับสมาชิกวุฒิสภาโดยยังมิได้มีการปรึกษาท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา (ที่เพิ่งมารับตำแหน่งเป็นวันแรก) ก่อน
ซึ่งข้าพเจ้าเห็น ว่าการออกหมายจับดังกล่าวยังเป็นการมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา ฉบับที่ 5พ.ศ. 2565 ข้อบังคับ ของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ. 2548 คำแนะนำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พ.ศ. 2565 ระเบียบศาลอาญา ว่าด้วยแนวทางการบริหารจัดการคดีของศาลอาญา ลงวันที่1 เม.ย.2565
และคำสั่งศาลอาญาที่ 110/2565 เรื่อง มอบหมายหน้าที่รองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญา และผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีพิเศษในศาลอาญา ลงวันที่3 ต.ค.65
เนื่องจาก การร้องขอให้ออกหมายจับ ผู้ร้องขอต้องเสนอพยานหลักฐานตามสมควรว่า ผู้จะถูกจับ น่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือน่าจะได้กระทำความผิด อาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่า นั่นจะหลบหนี ไปยุ่งกับพยานหลักฐาน หรือก่ออันตรายประการอื่น
พยานหลักฐานที่อาจพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุสมควรในการออกหมายจับ ให้รวมถึงข้อมูล ที่ได้จากการสืบสวน สอบสวน เช่นบันทึกสรุปข้อเท็จจริงจากสำนวนการสอบสวนที่เสนอต่อ ผู้บังคับบัญชา
ในการพิจารณาคำร้องขอหมายจับ แม้ในคดีที่มีอัตราโทษขั้นสูงเกิน 3 ปี ซึ่งอาจออก หมายจับได้ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(1) แต่หากไม่ปรากฏ เหตุว่า การออกหมายเรียกก่อนจะมีผลเสียหายแก่คดี เสี่ยงต่อการที่ผู้ต้องหาจะหลบหนี การจะไป ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะก่อเหตุอันตรายประการอื่นศาลจึงพิจารณาให้ออกหมายเรียกแทนที่จะออกหมายจับ
การปรึกษาคดีนอกจากคดีที่กำหนดไว้แล้ว ให้ผู้พิพากษาปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา คือ... คำร้องขอหมายค้นหรือหมายจับคดีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหาย เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญ บุคคลในสถานทูต หรือผู้พิพากษา คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาพรบ.ว่าด้วยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือกฎหมายอื่น คดีความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมคดีเกี่ยวกับ ความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีผลกระทบ ต่อสังคมเป็นพิเศษซึ่งคดีที่ต้องปรึกษานี้ ให้ผู้พิพากษาปรึกษารองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาก่อนที่จะไปปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาต่อไป
ให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาและผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีพิเศษปรึกษาอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาในคดีต่อไปนี้ ...
คำร้องขอหมายค้นหรือหมายจับคดีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือผู้เสียหาย เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นักการเมืองข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ บุคคลในสถานทูต หรือผู้พิพากษา คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญาพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือกฎหมายอื่น คดีความผิดเกี่ยวกับ การชุมนุมคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสังคมเป็นพิเศษ
ซึ่งปรากฏว่า เอกสารประกอบคำร้องขอหมายจับในคดีนี้ที่ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับได้ส่ง บันทึกข้อความลงวัน28 ก.ย.2565 เรื่องรายงานสืบสวนถึงผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของตน โดยรายงานการสืบสวนสรุปความว่า เห็นควรให้มีการดำเนินคดีกับนายอุปกิตในความผิดดังกล่าว แต่ผู้บังคับบัญชาของผู้ยื่นคำร้องขอยัง ไม่มีการเกษียนสั่งในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
การที่จะออกหมายจับวุฒิสมาชิก ยังมิได้มีการดำเนินการปรึกษา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาก่อนมีคำสั่งแต่อย่างใด ซึ่งไม่เป็นไป ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ คำแนะนำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาฯ ระเบียบศาลอาญาฯ และคำสั่งศาลอาญาที่110/2565 ดังกล่าวข้างต้นด้วย ท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาและข้าพเจ้าจึงมอบหมายให้เลขานุการศาลอาญาแจ้ง เจ้าหน้าที่งานหมายค้นหมายจับ ประสาน พ.ต.ท.มานะพงษ์ ผู้ร้องขอออก หมายจับดังกล่าว นำหมายจับดังกล่าวกลับมาที่ศาลอาญาก่อนเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง
ในชั้นแรก ผู้ขอให้ออกหมายจับบ่ายเบี่ยงอ้างว่าออกหมายจับให้แล้วจะเรียกกลับไปทำไม ตนได้ส่งหมายจับดังกล่าวเข้าระบบหมายจับของตำรวจทั่วประเทศแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ยืนยันให้นำ หมายจับกลับมาพิจารณากันใหม่ก่อน เมื่อผู้ขอให้ออกหมายจับดังกล่าวมาที่ศาลอาญาพร้อมกับ ผู้กำกับการฯ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของตน ก็ได้ร่วมการประชุมปรึกษาร่วมกันกับอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญา ข้าพเจ้า ผู้พิพากษาที่ออกหมายจับดังกล่าว และเลขานุการศาลอาญาทำหน้าที่หาเอกสาร ต่างๆ
สอบถามแล้วได้ความว่า ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับอ้างว่าได้แจ้งให้กับเจ้าหน้าที่หมายจับหมาย ค้นของศาลแล้วว่ามาออกหมายจับวุฒิสมาชิก แต่ผู้พิพากษาผู้ที่ออกหมายจับไม่ได้รับแจ้งเรื่อง ดังกล่าว ทั้งวันดังกล่าวมีการขอออกหมายจับ หมายค้นเป็นจำนวนมาก ผู้พิพากษาได้พิจารณา ออกหมายจับ หมายค้นไปตามที่เคยปฏิบัติมา โดยไม่ได้สังเกตเห็นว่าเป็นวุฒิสมาชิก เนื่องจากในคำร้องดังกล่าวระบุว่าส.ว.ดังกล่าว เป็นวุฒิสมาชิกเพียงครั้งเดียวในหน้าที่ 2 ของคำร้องฯ จึงออกหมายจับให้ไปโดยมิได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าปรึกษากับผู้บริหารศาลอาญาตามระเบียบและ ข้อแนะนำดังกล่าวข้างต้นก่อน
ข้าพเจ้าได้สอบถามจากผู้กำกับการสืบสวน 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ของผู้ร้องขอให้ออกหมายจับแล้ว ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวเลย ขณะนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบระเบียบหรือ ข้อบังคับใดๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการขอหมายจับบุคคลสำคัญเช่นนี้จึงได้โทรศัพท์ สอบถาม พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ขณะนั้น)แจ้งว่าหน่วยงานดังกล่าว อยู่ในความรับผิดชอบของตน แต่ตนได้มอบหมายให้ รองผู้บัญชาการท่านอื่นดูแล เรื่องที่ขอหมายจับ ดังกล่าว ตนไม่ทราบ แต่แสดงความเห็นว่าการออกหมายจับวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของสถาบันหลักเช่นนี้น่าที่จะต้องขอออกหมายเรียกก่อนไม่ควรขอออกหมายจับทันที ข้าพเจ้าได้ โทรศัพท์สอบถาม พล.ต.ต.อรรถพล อนุสิทธิ์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 ที่ศาลอาญาอยู่ในเขต ความรับผิดชอบ ถึงเรื่องดังกล่าว พล.ต.ต.อรรถพล แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวควรจะขอออกหมายเรียก ก่อนเช่นกัน และจำได้ว่าน่าจะมีระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าต้องขออนุมัติจาก ผู้บังคับบัญชาระดับสูงด้วย โดยจะทำการตรวจสอบอีกครั้ง และต่อมาแจ้งว่าเรื่องการที่จะออก หมายเรียกหรือหมายจับสมาชิกรัฐสภาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายก่อนเท่านั้น และหากเป็นช่วงที่อยู่ในสมัยประชุม ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แม้แต่การออกหมายเรียก สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ต้อง ออกหนังสือขออนุญาตต่อประธานสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกก่อนด้วย ซึ่งในภายหลังได้ส่งตัวอย่างของการดำเนินคดีทำนองเดียวกันนี้มาให้ด้วย
ข้าพเจ้าได้สอบถามผู้พิพากษาที่ทำการออกหมายจับเรื่องดังกล่าวว่า หากท่านพบ โดยชัดแจ้งว่า ผู้ที่ถูกร้องขอให้ออกหมายจับเป็นบุคคลสำคัญเช่นวุฒิสมาชิกเช่นนี้ ท่านจะปฏิบัติ อย่างไร ท่านผู้พิพากษาผู้ออกหมายจับแจ้งว่าหากตนพบเช่นนั้นก็จะต้องนำเรื่องมาปรึกษารองอธิบดีและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาก่อนอย่างแน่นอน
อีกประการหนึ่งข้าพเจ้าได้สอบถามผู้ร้องขอให้ออกหมายจับว่า คดีดังกล่าวเนื่องจาก มีการจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 คน ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนายอุปกิตมาก่อนแล้ว คดีนี้จึงมี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวน เหตุใดจึงไม่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจเป็นผู้มาทำการขอหมายด้วยตนเอง และเหตุใดจึงไม่มีการขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายก่อน ผู้ร้องขอให้ออกหมายจับแจ้งว่า นายอุปกิตคนนี้เส้นใหญ่มาก ไม่มีทางที่พนักงานสอบสวน จะดำเนินการหรือดำเนินคดีใดๆ กับส.ว.คนดังกล่าวอย่างแน่นอน ตนสืบสวนมาตั้งแต่ต้นจึงต้องดำเนินการจับกุมเอง ในการประชุมนั้นข้าพเจ้าเห็นว่า หากให้มีการนำหมายจับที่ออกโดยไม่ชอบ ดังกล่าว ไป ดำเนินการจับ คนซึ่งเป็นวุฒิสมาชิก และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของวุฒิสภา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และของศาลยุติธรรมแล้ว ย่อมจะต้องมีผลเสียหายกลับมาสู่ ศาลยุติธรรมอย่างแน่นอน วุฒิสภาต้องทำการตรวจสอบเรื่องนี้ และก็จะพบว่าความบกพร่อง ส่วนหนึ่งก็มาจากศาลยุติธรรม ซึ่งไม่อาจปล่อยให้เป็นเช่นนั้นได้ ประกอบกับแม้จะมีการออกหมายจับไปแล้วแต่ก็ยังมิได้มีการนำหมายจับดังกล่าวไปแสดงเพื่อจับกุมนายอุปกิตแต่อย่างใด จึงสมควรที่ทำ การแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องโดยการเพิกถอนหมายจับดังกล่าว จากนั้นข้าพเจ้าจึงขอตัวกลับไปที่ ห้องทำงานเนื่องจากมีผู้พิพากษามาปรึกษาคดี ในที่ประชุมจึงมีความเห็นร่วมกันว่า คำร้องขอออกหมายจับของผู้ร้องดังกล่าวน่าจะยัง ไม่ชอบเนื่องจากผู้บังคับบัญชายังไม่มีคำสั่งมอบหมายให้ดำเนินการ และไม่ได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำการเพิกถอนหมายจับดังกล่าว เพื่อให้ออกหมายเรียกก่อนภายใน 15 วัน
หากทางบุคคลสำคัญ ดังกล่าวไม่มาตามหมายเรียก ก็ให้ผู้ร้องดำเนินการขอหมายจับต่อไป สำหรับหมายเรียกให้พนักงาน สอบสวนเป็นผู้ดำเนินการโดยด่วน ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ข้าพเจ้า ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ของศาลอาญาที่เกี่ยวข้องทุกคน ไม่มีผู้ใดรู้จัก หรือทำการเพื่อช่วยเหลือบุคคลซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกคนดังกล่าวแต่อย่างใด การประชุมปรึกษาหารือและมีคำสั่งเพิกถอนหมายจับดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และคำเเนะนำทางกฎหมายทั้งสิ้น จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร
กองปราบ ยื่นขอหมายจับ 'เจ๊พัช กฤษอนงค์' 2 ข้อหาหนัก!
พ.ต.อ.มิ่งมนตรี ศิริพงษ์ ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป. ได้นำหลักฐานและคำให้การของพยานในคดีทั้งห
'ฟิล์ม-เจ๊พัช' ระทึก! 'ผบ.ตร.' ชี้ผิดจริง หมดสิทธิ์ลอยกระทง
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวการออกหมายเรียก หรือหมายจับ ฟิล์ม-นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์
สส.รังสิมันต์ แจงเหตุกมธ.มั่นคงฯ เชิญ 'ทักษิณ' แจงปมนักโทษเทวดาชั้น 14
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึง
'ทนายตั้ม' พร้อมนอนคุก! เตรียมหลักทรัพย์ยื่นประกันเฉพาะเมีย
ทนายเผย 'ตั้ม' ยังไม่ยื่นประกันตัววันนี้ เตรียมหลักทรัพย์ประกันเฉพาะเมียแทน 'ทนายเจ๊อ้อย’ โผล่ ยื่นค้านประกันตัวชี้มีพฤติกรรมหลบหนี หวั่นยุ่งเหยิงพยาน
ผู้ช่วย ผบ.ตร. เผย 'ทนายตั้ม' เตรียมหนีออกนอกประเทศ ประสานตร.ทางหลวงสกัดจับ
พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงการจับกุม ทนายตั้มและภรรยา ว่าคดีดังกล่าว ทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำชับให้ตนเข้ามาดูแล