มท.สั่งทุกจังหวัด ยกระดับแก้ปัญหา ‘ไฟป่า-หมอกควัน-ฝุ่นPM2.5’

มหาดไทย ยกระดับการแก้ไขปัญหา PM 2.5 สั่งการทุกจังหวัด เร่งแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก เน้นบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

12 มี.ค.2566-นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้สั่งการให้กรมป้องกันเเละบรรเทาสาธารณภัย ติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) อย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่าในหลายพื้นที่ของประเทศมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องและอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงมีหนังสือสั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้เร่งรัดดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และหากสถานการณ์ไม่มีแนวโน้มลดลง ได้กำชับรีบดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหา

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ PM 2.5 ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่องและยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ให้ยกระดับปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2562 ตามมาตรการที่ 1  คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่

โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 เมื่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร หน่วยงานดำเนินภารกิจตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่เพื่อควบคุมปริมาณ PM 2.5 ให้ลดลงหรือคงอยู่ในระดับคงที่ ต่อมาระดับที่ 2 เมื่อ PM 2.5 ระหว่าง 51 – 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร หน่วยงานดำเนินการเพิ่มและยกระดับมาตรการต่าง ๆ เข้มงวดขึ้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยมีส่วนราชการอื่น ๆ สนับสนุนการปฏิบัติ และต่อมาในระดับที่ 3 : PM 2.5 ระหว่าง 76 – 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เมื่อดำเนินการตามระดับ 2 แล้ว สถานการณ์ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าควบคุมแหล่งกำเนิด/หยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และมีคณะกรรมการควบคุมมลพิษให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งหากปริมาณความหนาเเน่นของฝุ่นละอองยังคงเพิ่มสูงขึ้น ให้ดำเนินการในระดับที่ 4 : PM 2.5 มากกว่า 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และดำเนินการในระดับ 3 แล้ว สถานการณ์ไม่มีแนวโน้มลดลง ให้มีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหา และนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาสั่งการ

ปลัด มท.กล่าวว่า ขณะนี้ได้เน้นย้ำการบูรณาการของหน่วยงานทุกภาคส่วน และสั่งการให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งกำเนิด/หยุดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) รวมทั้งกำกับ และติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 (1 สื่อสารเชิงรุก 5 ยกระดับปฏิบัติการ 1. สร้างการมีส่วนร่วม) โดยเร่งประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือประชาชน ตลอดจนภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการสอดส่อง ดูแลหมู่บ้าน/ชุมชน โดยงดการเผา และงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงมาตรการ และผลการปฏิบัติของภาครัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ตลอดจนช่องทางในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น การให้บริการห้องปลอดฝุ่นในพื้นที่ และแนวทางการดูแลสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง

2. เมื่อสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่ต่อเนื่อง และ 3. กำกับ ติดตามผลการดำเนินการในระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ผ่านกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางตามแนวทางที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเเก้ปัญหาสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน

นอกจากนี้ ในส่วนของการพิจารณายกระดับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ฝุ่นละออง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง  โดยสามารถประสานการดำเนินงานกับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า ภาคเหนือ) ในพื้นที่รับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว  และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพื้นที่มีปริมาณฝุ่นละอองในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ให้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนปฏิบัติการฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศอย่างต่อเนื่อง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลัวครหา! อนุทิน ไม่ลงช่วยผู้สมัคร นายกอบจ.สุรินทร์ หาเสียง แค่ส่งกำลังใจ

'อนุทิน' แจง ไม่ลงไปช่วยผู้สมัครนายกอบจ.สุรินทร์ ได้แต่ส่งกำลังใจ หวั่นมีข้อครหาเยอะ กำชับ ปลัดมท.สั่งข้าราชการฝ่ายปกครอง ต้องทำตัวเป็นกลาง บอกติดตลก เลือกตั้งครั้งหน้าทุกพรรคกวาดเก้าอี้เกิน200 เสียง คงมีสส.ในสภาฯ 2000 คน

สั่งผู้ว่าฯ นครพนมสอบข้อเท็จจริงปลัดอำเภอท่าอุเทนโผล่ทำงานหลังคดีตากใบหมดอายุความ!

'อนุทิน' มอบ ปลัด มท.สั่งผู้ว่าฯนครพนม สอบข้อเท็จจริง 'ปลัดอำเภอท่าอุเทน' 1 ใน 14 จำเลยคดีตากใบ ภายใน 15 วัน โผล่ทำงานวันแรก หลังคดีขาดอายุความ

ประกวด'ผ้าลายสิริวชิราภรณ์'เฟ้นผลงานทรงคุณค่า

ผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทยและช่างทอผ้าสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ฟันฝ่าเกณฑ์การตัดสินเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบรองชนะเลิศ (Semi Final)

'อนุทิน' แจงเหตุส่ง 'ว่าที่ปลัดมท.' ไปเชียงราย ตั้ง 'โชตินรินทร์' รักษาการผู้ว่าฯ

'อนุทิน' แจงเหตุ ส่ง 'อรรษิษฐ์' ว่าที่ปลัดมท.คนใหม่ ลงพื้นที่เชียงราย กำกับดูแลเรื่องเยียวยาน้ำท่วม พร้อมตั้ง 'โชตินรินทร์' รักษาการพ่อเมืองเชียงราย ปชช.เดือดร้อนปล่อยขาดช่วงไม่ได้

โอนเงินล็อตแรก! เยียวยาน้ำท่วมเชียงราย 3.6 พันครัวเรือน

ประเดิมโอนเงินเยียวยาผู้ประสบภัยเชียงราย 3,623 ครัวเรือน 'อนุทิน' กำชับ มท. ยึดข้อสั่งการนายกฯ อำนวยความสะดวกให้เงินถึงมือเร็วที่สุด