ศรชล. สัญจร ชงแผนรักษาความมั่นคงผลประโยชน์ทางทะเล 5ปี เปิดรับเทรนด์ 'เศรษฐกิจสีน้ำเงิน' เตรียมประชุมกับจัสแม๊กซ์สหรัฐฯใช้กม.เสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาคร่วมกัน ด้านองค์กรทางทะเลประเมินไทยใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการปฏิบัติงาน
10มี.ค.2566- ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จัดการประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. ครั้งที่ 1/2566 โดย พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และรอง ผอ.ศรชล. เป็นประธาน พร้อมด้วย พล.ร.อ.ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะเลขาธิการ ศรชล. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานหลัก 7 ศร ประกอบด้วย กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองบังคับการตํารวจน้ำ และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ร่วมประชุม
นับเป็นการประชุมรูปแบบสัญจรนัดแรกของปี 2566 ตามนโยบายผู้บังคับบัญชา ศรชล. เริ่มต้นจากพื้นที่ ศรชล.ภาค 1 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 แสน ตร.กม. ในเขต 11 จว.ชายทะเล ประกอบด้วย สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ ชุมพร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้สรุปเนื้อหาประชุมว่า ได้รับทราบผลการปฏิบัติล่าสุดของ ศรชล.ภาค 1 สนธิกำลังร่วมกับ ทรภ.1 จับกุมเรือ "ธนสิทธิ์" ที่ลักลอบบรรทุกน้ำมันเบนซินเถื่อนกว่า 7 แสนลิตร เข้ามาบริเวณปากร่องน้ำเจ้าพระยา อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นการสกัดกั้นขบวนการลักลอบขนน้ำมันเถื่อนเข้ามาในราชอาณาจักรล็อตใหญ่อีกครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีผลจับกุมได้ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงการเข้าช่วยเหลือเหตุเรือบรรทุกน้ำมันเตา "สมูธซี 22" ขนาด 2,996 ตันกรอส ระเบิดขณะจอดซ่อม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย ที่ จ.สมุทรสาคร ช่วงต้นปี 66 ยังได้เข้าช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบนเรือสำราญ MEIN SCHIFF 5 วัย 73 ปี ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เหตุเกิดกลางทะเลอ่าวไทย ลำเลียงขึ้นฝั่งส่งตัวถึงมือแพทย์ได้อย่างทันท่วงที และอีกหลายเหตุการณ์ที่สามารถตอบโต้สถานการณ์ภัยคุกคามทั้ง 9 ด้าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนงานร่วมกันของหน่วยงานหลักทั้ง 7 ศร. ที่มีประสิทธิภาพ โดย ศรชล. ได้เสนอร่างแผนการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 - 2570 ที่มี 4 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย กลยุทธ์ 1 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการดำเนินการด้านความมั่นคงทางทะเล มุ่งเน้นการบูรณาการด้านความมั่นคง กลยุทธ์ 2 การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างสมดุลและยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน มุ่งเน้นการบูรณาการด้านเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ 3 การบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเล และการสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญของทะเล มุ่งเน้นการบูรณาการหน่วยงานทางทะเล และ กลยุทธ์ 4 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางทะเล และด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มุ่งเน้นการบริการประชาชน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบตามขั้นตอน
ในช่วงปลายเดือน เม.ย.66 ศรชล. จะเป็นเจ้าภาพร่วมกับ คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (จัสแมกไทย) จัดการประชุมระดับผู้บังคับบัญชาตามกรอบความริเริ่มการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 9 (9th SEAMLEI CF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงและปลอดภัยทางทะเลร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหา หรือประเด็นความท้าทายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหน่วยยามฝั่งและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ ศรชล. ได้พัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงทางและในระดับภูมิภาค และสอดคล้องกับภารกิจ ศรชล. และแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี ศรชล. (พ.ศ.2566 - 2570)
สาระสำคัญการประชุมที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ผลการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMO Member State Audit Scheme : IMSAS) ระหว่างวันที่ 20 - 27 ก.พ.66 ทางคณะผู้ตรวจประเมินจาก IMO ได้แสดงความชื่นชมว่า ประเทศไทย มีระบบการปฏิบัติงานที่โดดเด่นในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การใช้เทคโนโลยีในการตรวจจับข้อบกพร่องของเครื่องหมายช่วยการเดินเรือ (Aids to Navigation : AtoN) ทำให้สามารถซ่อมบำรุงเครื่องหมายการเดินเรือได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2.การนำระบบบูรณาการข้อมูลกิจการทางทะเล (Thai Integrated Shipping Information System : THISIS) มาใช้ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และกำกับดูแลการดำเนินการตามตัวชี้วัด (KPI) ทำให้ประเทศไทยสามารถดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.การนำระบบแลกเปลี่ยนข่าวสารความปลอดภัยทางทะเล (MSI Platform) มาใช้ในการให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยทางทะเล โดยบูรณาการข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของไทย อาทิเช่น กรมเจ้าท่า กรมอุทกศาสตร์ กรมอุตุนิยมวิทยา สถานีวิทยุ Bangkok Radio และ ศรชล. ทำให้การให้ข้อมูลมีความเบ็ดเสร็จ รวดเร็ว ทันกับสถานการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานของ IMO และ 4.การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมความปลอดภัยและการจราจรทางน้ำ ซึ่งปฏิบัติงาน 24 ชม. ในการเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินเรือ การป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำ และการให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ดี การดำเนินการข้างต้น IMO จะนำไปเป็นต้นแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการดำเนินการตรวจประเมินประเทศสมาชิกของ IMO ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อปฏิบัติอันเป็นเลิศ (best practice) ระหว่างกันต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สุทิน' มอบ 5 นโยบายปฏิบัติ 'ศรชล.' ย้ำป้องกันรักษา-เพิ่มผลประโยชน์ทางทะเลในทุกมิติ
'สุทิน' มอบ 5 นโยบายปฏิบัติ ศรชล. แทนนายกฯ ย้ำ ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีหลากหลาย ขอป้องกันรักษา-เพิ่มผลประโยชน์ทางทะเลในทุกมิติ-รักษาอธิปไตย
ผลสอบ “รล.สุโขทัย” เขย่าโผโยกย้ายทัพเรือ
ผลการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย “เรือหลวงสุโขทัย” โดยชุดปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ 6 วันที่ผ่านมา ได้มีการถ่ายภาพสำรวจจุดต่างๆ
ทร. ยอม สหรัฐฯ เข้าเคลียร์ 'รล.สุโขทัย' ใต้ทะเล 'ผบ.ทร.' เบรกกู้เรือ ให้รอผลจากสหรัฐฯ
ทร. ยอม สหรัฐฯ เข้าเคลียร์ 'รล.สุโขทัย' ใต้ทะเล ผบ.ทร. เบรกกู้เรือ ให้รอผลจากสหรัฐฯ ดีเดย์ส่ง จนท. มาพร้อมฝึก Cobra Gold ก.พ.นี้ หลัง สหรัฐฯ รู้ไต๋ บริษัทร่วม 'ไทย-จีน' ได้รับคัดเลือก/ด้านสหรัฐฯจ่อกู้อาวุธ - อมภัณฑ์ พร้อม5ลูกเรือสูญหาย คงซากเรือไว้เป็นอนุสรณ์
เรือดำน้ำฝึก-อาวุธเรือฟริเกต รื้อสัญญา 'จีทูจี' ก่อนเจรจาจีน
การแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่จีนไม่สามารถนำเครื่องยนต์เยอรมันมาติดตั้งได้ตามสัญญา กลายเป็นเรื่องที่ “คาราคาซัง” มาเป็นปี จนวาระสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือของ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์
ทร.ไม่ทิ้งเรือดำน้ำ ชงใช้‘เครื่องยนต์’ ‘จีน’แทนเยอรมนี
"ผบ.ทร." เตรียมชงข้อมูลเครื่องยนต์จีนใส่เรือดำน้ำให้ "สุทิน" สัปดาห์หน้า มั่นใจปลอดภัยทดแทนเครื่องยนต์เยอรมันได้
ผบ.ทร.ลั่นไม่ได้ล้มประมูลกู้เรือหลวงสุโขทัยแค่ล้างไพ่เท่านั้น
ผบ.ทร.ยันไม่มีล้มประมูลกู้ ร.ล.สุโขทัย แจงเหตุล้างไพ่ให้ยื่นซองใหม่ เหตุ 16 บริษัทยื่นเอกสารไม่ครบ เปิดให้ยื่นใหม่ ต.ค.นี้ ยันไม่มีล็อกสเปกบริษัทนามสกุลหนุนภักดี