9 มี.ค.2566 - เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลทำเนียบรัฐบาล กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) จำนวน 80 คน นำโดย นางณิชารีย์ กิตตะคุปต์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อขอให้ยุตินโยบายตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ 2/2566 (ครั้งที่ 58)โดยมี นายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นผู้แทนฯ รับเรื่องไว้ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
นางณิชารีย์ กล่าวว่า เนื่องจากผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน แจ้งมติคณะกรรมการคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ 2/2566 (ครั้งที่ 58) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เห็นด้วยกับมติเห็นชอบแนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐ ที่ฝ่ายบริหาร กฟผ. จะดำเนินการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกจาก กฟผ. ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. แนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐทั้ง 3 ข้อ ต้องการให้ กฟผ.บริหารแบบเอกชนเป็นการแปรรูปทางอ้อม โดยทำให้ กฟผ. เป็นเอกชนโดยปริยาย ซึ่งต้องเหมือนกับเอกชนทั่วไป บทบาทหน้าที่ของ กฟผ. จะเปลี่ยนไป ความมุ่งหมายขององค์กรก็เปลี่ยนไป จากทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เป็นการมุ่งกำไร เช่นเดียวกับเอกชนซึ่งขัดต่อ พรบ.กฟผ. พ.ศ. 2511 มาตรา 41 ในการดำเนินกิจการของ กฟผ. ให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน
2. ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ามีบทบาทหน้าที่ มีอำนาจควบคุมด้านความมั่นคงและความเป็นธรรมของระบบไฟฟ้าของประเทศ เป็นการควบคุมที่มีผลประโยชน์ ปัจจุบันรัฐมีนโยบายเอื้อประโยชน์เอกชน องค์กรนิติบุคคลใหม่ถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐก็ย่อมให้ประโยชน์แก่เอกชน ในกิจการไฟฟ้าเมื่อเอื้อต่อเอกชนมากเกินไปย่อมเป็นการทำลายรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นไปเอง อันเป็นการทำลายผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
3. ตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน ในมาตรา 8(5) รัฐ หมายถึง 3 การไฟฟ้าเท่านั้น ( กฟผ.,กฟภ,และ
กฟน.) ไม่มีองค์กรอื่น และแต่ละองค์กรก็ประกอบกิจการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้ประกอบกิจการระบบส่งไฟฟ้า โดยที่ระบบส่งไฟฟ้าครอบคลุมไปถึงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน ความพยายามในการแยกศูนย์ควบคุม ฯ จึงเป็นเรื่องผิดปกติ
นอกจากนี้ สร.กฟผ. ไม่เห็นด้วยกับมติที่เห็นชอบให้ยกเลิกการใช้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง(Reseve Margin) และให้เปลี่ยนมาใช้ดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (Loss of Load Expectation : LOLE ) เป็นเกณฑ์วัดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพราะว่าเป็นการบิดเบือนหลอกลวงประชาชน หลบเลี่ยงคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ
จากแนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐดังกล่าว เป็นการทำลายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็น
ทำลายความสมดุลย์ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพราะระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม มิใช่มีแต่เอกชนอย่างเดียว แต่ต้องมีภาครัฐด้วย ต้องมีความสมดุลย์ จึงจะพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ เมื่อรัฐพยายามทำลายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นภาครัฐ ก็เป็นการทำลายระบบเศษฐกิจ ท้ายที่สุดจะมาซึ่งการขูดรีดประชาชนด้วยการค้ากำไรเกินควรของภาคเอกชน จึงขอให้ยุตินโยบายตามแนวนโยบายดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
กฟผ.เปิดสนามแข่งจักรยาน มาตรฐานUCI ณ เขื่อนวชิราลงกรณ
กฟผ. จับมือสมาคมกีฬาจักรยานฯ เปิดประเดิมสนามแข่งจักรยานมาตรฐานนานาชาติ (UCI) รับ 3 รายการใหญ่ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์นานาชาติ และการแข่งขัน หนูน้อยขาไถ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามจักรยาน เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
‘ภูมิธรรม’ ทุบฝ่ายต้านบิดเบือน MOU เกาะกูด ทำผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน เมื่อการเมืองบิดเบือน MOU เกาะกูด" ระบุว่าการจุดประเด็นทางการเมืองเรื่อง MOU 44 ในช่วงนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในหลา
'วรงค์' เหนื่อยใจกับนายกฯอิ๊งค์ พูดวกวน เหมือนดีใจที่กัมพูชาลากเส้นไหล่ทวีปอ้อมเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "เหนื่อยใจกับอุ๊งอิ๊ง"