กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 1 พายุฝนฟ้าคะนองระลอกแรกเข้าหน้าร้อน 12-14 มี.ค. ฝนมาในช่วงกลางคืนวันที่ 12 มี.ค.นี้ เตือนภาคเหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก กทม.และปริมณฑลระวังอันตราย เลี่ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง
8 มี.ค.2566 - เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 8-17 มี.ค.66 อัพเดท 2023030712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 8 - 11 มี.ค. 66 ประเทศไทยตอนบน ยังไม่มีฝน อากาศเริ่มร้อนขึ้นในตอนกลางวัน เช้าๆ ยังมีอากาศเย็นบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ระวังโรคลมแดด
ช่วงนี้อากาศร้อนและแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะในภาคเหนือ ออกนอกบ้านต้องสวมหน้กากอนามัยป้องกันเมื่อออกนอกบ้าน
อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค.66 โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน (กลางวันอากาศยังร้อน ฝนมากลางคืนของวันที่ 12) จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นที่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน จะเกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อน ทำให้มีพายุฤดูร้อน(พายุฝนฟ้าคะนอง) ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้ ในช่วงแรก ต้องติดตามและเฝ้าระวัง เตรียมการรับมือ
ส่วน 14 -17 มี.ค.66 ตอนบนอากาศเย็นลงเล็กน้อย ฝนมีบางแห่งภาคเหนือตอนบน ลมใต้ และตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ช่วยคลายร้อนได้บ้าง
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 9 มีนาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 1 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2566) ในช่วงวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ
"ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้"
จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศ 24 ชม. ทั่วประเทศอากาศเย็นลง ‘กทม.’ ต่ำสุด 18 องศาฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน
เหนือ อีสาน กลาง อุณหภูมิลดลง ภาคใต้ตอนล่างรับมือฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ ลมหนาวกำลังแรงแผ่ลงมาแล้ว เช็กเลยภาคไหนอุณหภูมิลดลง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
3-7 ม.ค. ลมหนาวอีกระลอกแผ่ลงมา อุณหภูมิลดลง 2-5 องศา กทม.เย็น 16 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 3 - 9 มกราคม พ.ศ. 2568
ต้นปี 68 ยังหนาวเย็นต่อเนื่อง ไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว
ลมหนาวยาวไป! กรมอุตุฯ เผยอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศา ช่วง 4-7 ม.ค.นี้
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 1 – 3 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน