ฤดูหนาวปีนี้สิ้นสุดแล้ว เตือนพายุฤดูร้อน ถล่มไทยตอนบน 12-13 มี.ค.

4 มี.ค.2566 - เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 4-13 มี.ค.66 อัพเดท 2023030312 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่มีกำลังอ่อนลง (เส้นความกดอากาศเท่าเริ่มห่าง) ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีอากาศเย็นตอนเช้า ยอดดอย ยอดภู ยังมีอากาศหนาว กลางวันอากาศร้อน (ท้องฟ้าโปร่ง เมฆน้อย) ระยะนี้ไม่มีฝน 1-2 วันนี้ ลมที่พัดปกคลุมยังเป็นลมหนาวกำลังอ่อน ทิศทางลมจะเเริ่มแปรปรวนเป็นลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้,มากขึ้น พัดแทนที่ลมหนาว

ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (5 มี.ค.66) เป็นต้นไป จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว ฤดูหนาวปีนี้กำลังจะสิ้นสุดลง อากาศจะเริ่มร้อนขึ้น ระยะนี้ทิศทางลมยังแปรปรวน มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ต้องระมัดระวังรักษาสุขภาพ ช่วงนี้อากาศร้อนและแห้ง ระวังอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย การสะสมของฝุ่นก็เพิ่มขึ้นด้วยโดยเฉพาะในภาคเหนือ ส่วนภาคใต้ระยะนี้ยังมีฝนบางแห่ง จากอิทธิพลของลมตะวันออกที่พัดปกคลุม คลื่นลมจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง เดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค.66 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นที่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสานตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและร้อน ทำให้มีลมกระโชกแรงและมีฟ้าคะนอง และฟ้าผ่าได้ ต้องติดตามเป็นระยะๆ

นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (5/3/66) อากาศจะเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆ ไปถึงวันที่ 12 มีนาคม 2566 ก่อนที่วันที่ 12 ช่วงค่ำๆ จะมีฝนเข้ามา ทำให้วันที่ 13 อากาศเย็นลง

อัพเดทภาพเคลื่อนไหพยากรณ์ฝนทุกๆ 3 ชม. ลมผิวพื้น (สูงจากพื้นดิน 10ม.) ลมใกล้ผิวพื้นที่ระดับ 925hPa (สูงจากพื้นดินประมาณ 600ม.) และลมที่ระดับ 500hPa (สูงจากพื้นดินประมาณ 5.5 กม.) จาก ECMWF init.2023010312 : 4 - 11 มี.ค. 66 ยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะนี้ โอกาสจะเจอฝนจึงน้อยหรือไม่มีฝน เช้ายังมีอากาศเย็น ส่วนกลางวันอากาศเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆ มวลอากาศเย็นยังปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง ทำให้ลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลงด้วย แต่มีสัญญาณการเกิดพายุฤดูร้อน (พายุฝนฟ้าคะนอง)

ช่วงวันที่ 12 -13 มี.ค.66 บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้องติดตามและเฝ้าระวัง เนื่องจากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นที่คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสาน สำหรับภาคใต้โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ยังมีฝนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ลมตะวันออกพัดปกคลุม และยังมีหย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกของประเทศมาเลเซีย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ