มัลลิกา โชว์ เสนอร่างกฎหมาย 3 ฉบับ "ช่วยประชาชน" ปิดจ๊อบงาน 6 เดือนในสภาผู้แทนชุด 25 พร้อมชูประธาน "ชวน หลีกภัย" สุดยอดผู้นำรัฐสภา "เมตตาธรรมและค้ำจุน สถาบันนิติบัญญัติ"
1 มี.ค.2566 - นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนรู้สึกขอบคุณ รัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎรที่มีโอกาสเป็นสมาชิกและทำงานในช่วงเวลา 6 เดือน ซึ่งถือเป็นช่วงท้ายสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎรก่อนจะปิดสมัยประชุมเมื่อวานนี้ (28 ก.พ.2566) แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาที่สั้น แต่ด้วยความตั้งใจจึงขอเรียนให้ทราบว่าในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนกฎหมายขึ้นแล้วเสนอร่างกฎหมายได้ทั้งหมด 3 ฉบับโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 21 คนลงชื่อสนับสนุนบรรจุไว้ในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว
นางมัลลิกา กล่าวว่าร่างกฎหมายที่เสนอล้วนจะเป็นประโยชน์และช่วยประชาชนคือ 1.ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายอาญา แทรกความผิดหนัก"การกระทําผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์"กำหนดโทษแรงเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนในยุคที่การสื่อสาร รวดเร็วตามยุคสมัยปัจจุบัน 2.ร่างพระราชบัญญัติ กสทช.ฉบับแก้ไข เพื่อให้"ค่าบริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตลดลง" ตามปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว เสนอไว้ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2565 และ3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการนำงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามวัตถุประสงค์แห่งการจ้าง กรณีที่ผู้สร้างสรรค์สร้างสรรค์งานขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ให้ผู้สร้างสรรค์และนายจ้างสามารถแก้ไขข้อตกลงกันในการนำงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคู่สัญญา
" ในส่วนฉบับที่สามแม้ว่าจะอยู่ในระหว่างที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนำไปปรึกษาหารือกับสำนักประธานว่าจะเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ได้เสนอไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อศิลปิน ส่วนอีก 2 ฉบับ แรกก็เป็นประโยชน์ต่อเด็กเยาวชนผู้ปกครองประชาชนทั้งปวงทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจแม้จะใช้เวลาที่สั้น แต่ด้วยความร่วมมือของสมาชิกสภาผู้แทนคณะที่ปรึกษาและฝ่ายนิติกรของสภาผู้แทนตรวจทาน ใช้เวลาอย่างรวดเร็วก็ทำให้ความตั้งใจในการทำหน้าที่ของเรานั้นบรรลุผลสำเร็จ รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นี้และตัวเราเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากประธานรัฐสภานายชวน หลีกภัย ที่มีเมตตาสูงทรงทั้งเป็นผู้นำรัฐสภาที่เยี่ยมยอดทำหน้าที่อย่างมืออาชีพและรู้กฎระเบียบชัดเจนรวมทั้งคอยชี้แนะให้คำปรึกษาหารือที่ดีอย่างเท่าเทียมไม่ว่าเราจะเป็นพรรคอะไรในสภาก็ตาม ท่านประธานชวนคือเป็นบุคคลที่เป็นผู้นำน่ายกย่องมีเมตตาธรรมและค้ำจุนสถาบันนิติบัญญัติ ไม่ให้ด่างพร้อยและทำให้สภาเป็นความหวังของพี่น้องประชาชน " นางมัลลิกา ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น