สมาคมชาวสวนยาง เสนอนายกรัฐมนตรี เคลื่อนยางพาราเข้าอีอีซี. นำกลุ่มนักลงทุนรายย่อย 10 ล้านบาท แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ พร้อมมอบเรื่องผ่านต่อให้ 9 พรรคการเมือง รับไปดำเนินการ
19 ก.พ.2566 – ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยางพาราหากยังดำเนินการรูปแบบเดิมคือผลิตยางดิบ เกษตรกรชาวสวนยางพาราจะไม่มีทิศทางที่ดีขึ้นและไปไม่ได้ ทางรอดที่ไปได้จะต้องแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง เช่น ผลิตภัณฑ์ยางรถ ล้อยางรถยนต์ รองเท้า ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ฯลฯ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ดร.อุทัย กล่าวว่า ยางพาราเป็นสินค้าเกษตรที่มาเป็นอันดับ 1 ของไทยทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จึงมีความมุ่งหวังให้ยางพาราเป็นครัสเตอร์ที่ 6 ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โครงการภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ประกาศเริ่มใช้ในปี 256 Eastern Economic Corridor (EEC) เพราะจากที่ อีซีซี.มีอาหารแปรรูปจำนวน 5 ครัสเตอร์ ตามมติ ครม.วันที่ 9 สิงหาคม 2565 มีผลไม้ มัน สมุนไพร ประมง เกษตรสูง แต่กลับไม่มียางพารา ทั้งที่ยางพาราไทยเป็นสินค้าสร้างรายได้อันดับ 1 ของประเทศ จึงยังได้เรียนท้วงไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยทำหนังสือลงวันที่ 1 ก.พ.66 ว่า ควรจะมีเรื่องยางพาราเป็นครัสเตอร์ที่ 6 และนายกรัฐมนตรีรับปากให้ยางพาราเป็นครัสเตอร์ที่ 6 แล้ว
ดร.อุทัย กล่าวว่า ยางพาราสินค้าสินค้าเกษตรที่สามารถจะพัฒนาเพิ่มมูลค่าได้ปริมาณมากจึงต้องเชิญนักลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุน เช่น รายละ 10 ล้านบาท เช่นจำนวน 10 ราย เป็น 100 ล้านบาท และนักลงทุนจำนวนหลาย ๆ รายที่เข้ามาดำเนินการก็จะมหาศาลและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในอีอีซี.จะมีสิทธิประโยชน์ เช่น สิทธิภาษีส่วนบุคคล 20 ปี ภาษีบีโอไอ 13 ปี เช่าที่ดิน 99 ปี โดยไม่ต้องเสีย
“เนื่องจากในอีอีซี.ไม่มีนักลงทุนรายย่อย จะมีนักลงทุนจากต่างประเทศ และนักลงทุนผู้ประกอบการรายใหญ่ตั้งแต่ 50 ล้าน 100 ล้าน จนถึง 1,000 ล้านบาท จึงเล็งเห็นโอกาสของนักลงทุนรายย่อย ๆ จะได้สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ” ดร.อุทัย ระบุ
ดร.อุทัย กล่าวอีกว่า ยางพาราครัสเตอร์ที่ 6 ในอีอีซี.จึงได้จัดงานมหกรรมยางพาราอีอีซี. ขึ้นในวันที่ 22 ก.พ. 66 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานเปิดงาน และนอกนั้นในวันที่ 26 ก.พ.66 มีการเชิญ 9 พรรคการเมือง มาร่วมดำเนินการว่าพรรคการเมือง นักการเมืองจะดำเนินการตอบรับอย่างไรกับยางพาราไทย โดยทางสมาคม ได้มอบรายละเอียดเรื่องดำเนินการยางพาราครัสเตอร์ที่ 6 ใน อีอีซี.ให้กับ 9 พรรคการเมืองแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับสถานการณ์สวนยางพาราได้เกิดโรคใบร่วงต่อเนื่องมาหลายปีจนถึงขณะนี้รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านไร่ โดยหลายหน่วยงานทั้งเอกชนและภาครัฐกำลังดำเนินการทำการวิจัยเพื่อหาวิธีการป้องกันโรคใบร่วงคาดว่าจะรู้ผลภายในระยะกี่เดือนข้างหน้านี้ โดยเฉพาะโรคร่วงเกิดระบาดมากที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างและชายแดนภาคใต้ ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านไร่ ส่งผลให้น้ำยางสดหดหายไปมาก
เกษตรกรชาวสวนยางพารา อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ยางโรคใบร่วง ปริมาณน้ำยางหดหายไปครึ่งต่อครึ่ง และตอนนี้ยางก็ผลัดใบและแตกยอดจนกว่าจะใบแก่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือน เมื่อพอถึงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ก็จะโดนฝนหรือไม่ และพอเดือนตุลาคมเป็นต้นไปก็ย่างเข้าฤดูฝนก็ไม่สามารถกรีดยางพาราได้เต็ม เพราะภาวะดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง ดังปีที่ผ่านมาเกิดประเภทฝน 10 แดด 2 กรีดยางพาราได้ปริมาณน้อยมาก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
'พิชัย' ชวนนักธุรกิจ นักลงทุน สหราชอาณาจักร ดึงเข้า อีอีซี - แลนด์บริดจ์
'พิชัย' เปิดเวทีชวนนักธุรกิจ นักลงทุนสหราชอาณาจักร ดึงเข้า อีอีซี แลนด์บริดจ์ พร้อมเจรจาปักหมุดให้ไทยอยู่ในโฟกัสชาวโลก
กยท. มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก. ทุ่ม400ล. เปิดโรงงานยางแท่ง STR20 รองรับEUDRตรวจสอบย้อนกลับ100%
กยท.มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก.อย่างแน่นอน ย้ำชัดครั้งนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ประกาศเดินหน้าเอาจริงปราบยางเถื่อนตรวจสอบเส้นทางด้านการเงิน