กรมอุตุฯ เผยลมหนาวระลอกใหม่มาเป็นระยะๆ ต่อเนื่องถึงต้น มี.ค.

18 ก.พ.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในวันที่ 18 ก.พ. 66 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 19 – 24 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 – 24 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้

คาดหมายอากาศรายภาค

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 18 – 24 ก.พ. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ในวันที่ 18 ก.พ. 66 ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 13 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3 – 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 18 ก.พ. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 – 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 24 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 – 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.

ภาคกลาง ในวันที่ 18 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในวันที่ 19 - 24 ก.พ. 66 มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก ในวันที่ 18 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 34 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 19 - 24 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) ในช่วงวันที่ 19 - 24 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 19 – 24 ก.พ. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 18 – 19 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.พ. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า พยากรณ์โอกาสการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน บริเวณทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทะเลอันดามัน และพยากรณ์ฝน ทุกๆ 6 ชม. จาก ECMWF init.2023021712 : ภาคใต้ยังมีฝนฟ้าคะนอง บางพื้นที่ มีสัญญาณการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก โดยในขณะนี้ยังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นได้ในระยะ 1- 2 วันนี้ แต่ไม่มีทิศทางเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด

สัปดาห์หน้าฝนยังน้อย ลมหนาวยังคงพัดปกคลุม มวลอากาศเย็นยังแผ่เสริมลงมาปกคลุมเป็นระยะๆ ไปถึงต้นเดือนหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ