กสม.เผยหนึ่งในเป้าทำงานคือประเด็นสถานะบุคคล เล็งนับถอยหลังติดตามเป้าหมายการขจัดการไร้รัฐในประเทศไทย ปี 2567
16 ก.พ.2566 - นายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า กสม.ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ มาอย่างต่อเนื่อง โดย กสม.ชุดปัจจุบันได้พิจารณาและกำหนดให้ประเด็นสถานะบุคคลเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนและสร้างผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงาน โดยจากการติดตามการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลในประเทศไทย พบว่า ตั้งแต่ปี 2548 รัฐบาลไทยใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อขจัดหรือลดการไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างเป็นระบบ โดยมีพัฒนาการเชิงบวกทั้งการรับแจ้งเกิดและออกสูติบัตรแบบถ้วนทั่ว (universal birth registration) การพิจารณากำหนดสถานะบุคคลและให้สัญชาติกับบุตรของบุคคลที่เดินทางเข้าเมืองและมีความผสมกลมกลืนกับสังคมไทยในลักษณะต่างๆ และการอนุญาตให้สิทธิในการอยู่อาศัยและการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะการศึกษาและสุขภาพ
โดยในปี 2557 รัฐบาลไทยได้ประกาศเป็นหุ้นส่วนที่ดีของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) โดยได้รับการหยิบยกเป็นตัวอย่างของภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหาบุคคลไร้รัฐในประเทศ พร้อมกับเข้าเป็นประเทศร่วมก่อตั้งและเป็นผู้นำในกลุ่ม Group of Friends (GoF) ของโครงการ Global Campaign to End Statelessness by 2024 (#IBelong Campaign) ของ UNHCR ซึ่งมีเป้าหมายขจัดปัญหาการไร้รัฐให้หมดไปภายใน 10 ปี คือ ในปี 2567 (ค.ศ. 2024) ด้วย
นายชนินทร์กล่าวอีกว่า ในการประชุมสมัชชาสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 - 2 ก.ย. 2565 กสม. และภาคีเครือข่ายด้านสถานะบุคคล ได้ร่วมกันติดตามและประเมินสถานการณ์สถานะบุคคล และพบข้อจำกัดหลักใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.ปัญหาต้นน้ำ จากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขอพิสูจน์หรือแก้ไขสถานะบุคคล รวมถึงทัศนคติและความเข้าใจที่ผิดพลาดทั้งของประชาชนผู้ทรงสิทธิที่ยื่นคำขอพิสูจน์สถานะบุคคลและหน่วยปฏิบัติงานโดยตรง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้บางครั้ง มีการใช้ดุลพินิจ หรือสร้างภาระการพิสูจน์สถานะบุคคลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และ 2.ปัญหาความล่าช้าของการตรวจพิสูจน์และการกำหนดสถานะบุคคล ทั้งจากขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่คล่องตัว จำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ รวมถึงการสับเปลี่ยนโยกย้ายบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ทำให้ระบบการทำงานสะดุดและขาดการฝึกฝนความเชี่ยวชาญต่อเนื่อง
จากการประชุมดังกล่าว กสม. ภาคีเครือข่ายด้านสถานะบุคคล ได้มีมติขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยติดตามเป้าหมายการขจัดการไร้รัฐในปี 2567 ผ่านการประสานพลังภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล เช่น การประสานความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการพิจารณาสถานะให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติ การเสริมสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาสำหรับกลุ่มชายขอบ อาทิ กลุ่มเด็กนักเรียนกลุ่ม G กลุ่มบุตรหลานติดตามแรงงาน กลุ่มภิกษุและสามเณรและกลุ่มผู้เฒ่าไร้รัฐไร้สัญชาติ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ การเดินทาง และสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้งมีแผนการสร้างเสริมศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลในประเทศไทย เช่น การเร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคล การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิในสถานะบุคคลและสัญชาติ รวมถึงขั้นตอนการยื่นคำขอพิสูจน์สถานะบุคคล การนำเสนอการปรับปรุงโครงสร้างและกระบวนการงานทะเบียนและงานสถานะบุคคลที่กรมการปกครองรับผิดชอบ และการนำเทคโนโลยีเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านสถานะบุคคลมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านสถานะบุคคล
นายชนินทร์กล่าวอีกว่า ภายหลังจากการออกมติดังกล่าว ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 กสม. และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานขับเคลื่อนมติในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ 1.การตรวจสอบกรณีร้องเรียนและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานะและสิทธิของกลุ่มประชากรไร้รัฐไร้สัญชาติ 2.การจัดทำคลินิกงานสถานะบุคคลในลักษณะกิจกรรมเคลื่อนที่และเข้าถึงประชากรกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ และสามจังหวัดชายแดนใต้ 3.การศึกษาวิจัยปัญหาและประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเฉพาะ อาทิ กรณีคนไทยพลัดถิ่น และกรณีพระสงฆ์และสามเณรไร้รัฐไร้สัญชาติ 4.การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลายของประชากร กลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงสิทธิในสถานะบุคคล และ 5.การประชุมหารือเชิงนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและระหว่างประเทศ
“ในโอกาสที่ปี 2567 เป็นปีเป้าหมายขจัดปัญหาการไร้รัฐให้หมดไปภายใน 10 ปี ตามโครงการ Global Campaign to End Statelessness by 2024 หรือ #IBelong แคมเปญ กสม. จะได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งแรงในการขับเคลื่อนและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องดังกล่าวของประเทศไทย ซึ่งในการจัดงานสมัชชาสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2 ซึ่งมีกำหนดจัดในเดือนกรกฎาคม 2566 จะมีการติดตามสถานการณ์ และนำเสนอตัวเลขของการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติในภาพรวมของประเทศไทย นำเสนอต่อสาธารณะชนต่อไป” นายชนินทร์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2
กสม.แถลงค้าน ปิดศูนย์เรียนรู้เด็กข้ามชาติ ชี้สถานศึกษาในพื้นที่ ยังไม่มีความพร้อม
ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกาศปิดศูนย์การเรียนมิตตาเย๊ะ บางกุ้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
'ทวี' ขึงขัง! สั่ง 'กรมคุก' ตามดู 'นช.ทักษิณ' รักษาตัวชั้น 14 ละเมิดสิทธิผู้ต้องขังภาพรวมหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ส่งเรื่องให้
เอาแล้ว! ป.ป.ช.รับข้อมูล กสม. พิจารณา ปมเอื้อ ‘ทักษิณ’ รักษาตัวชั้น 14
เรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานของคณะทำงานไต่สวนที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและทบทวนพยานหลักฐาน ซึ่งสุดตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ส่งรายงานการพิจารณาของกสม.มาให้ป.ป.ช.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
กสม. ชงแก้กม. ให้ผู้ติดยาเสพติดได้บำบัดรักษา โดยไม่ถูกจำกัดสิทธิ
'กสม.' ชงแก้ไข กม. ให้ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้ โดยไม่จำกัดสิทธิว่าเป็นผู้กระทำผิด ตามหลักสากล 'ผู้เสพคือผู้ป่วย'
เปิดผลสอบ 'กสม.' ชี้ชัด 'ทักษิณ' อภิสิทธิ์ชน ยื่น ป.ป.ช. ฟัน 'เรือนจำ-รพ.ตำรวจ'
กสม. สอบร้องเรียนปม 'ทักษิณ' ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น ชี้ชัด 'เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ-รพ.ตำรวจ' เลือกปฏิบัติละเมิดสิทธิ ยื่น ป.ป.ช.ฟัน