ฉุดไม่อยู่! 'ไทย-ซาอุ' ตกลงปรับเพิ่มขนส่งผู้โดยสารจากเดิม 9 เป็น 42 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

14 ก.พ.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 14 ก.พ. 66 ได้รับทราบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย พร้อมกับเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย (เนื้อหาเหมือนกับบันทึกความเข้าใจฯ) และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลบังคับของบันทึกความเข้าใจฯ ต่อไปสำหรับบันทึกความเข้าใจฯ นี้เกิดขึ้นจากที่คณะผู้แทนไทยและซาอุดีอาระเบีย ได้มีการประชุมเจราจาเพื่อปรับปรุงสิทธิการบินระหว่างกัน เมื่อเดือน ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศได้มีมิตรับทราบผลการเจรจาดังกล่าว โดยบันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อ 2 ฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตระหว่างกันน.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า  บันทึกความเข้าใจฯ และหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูต มีเนื้อหาครอบคลุม ประเด็นพิกัดเส้นทางการบินระหว่าง 2 ฝ่าย จากแบบกำหนดจุดเป็นพิกัดเส้นทางบินแบบเปิด, ความจุ ความถี่ กำหนดเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร จากเดิมฝ่ายละ 9 เที่ยวบิน/สัปดาห์ เฉพาะเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร เป็น ฝ่ายละไม่เกิน 42 เที่ยวบิน/สัปดาห์สำหรับเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร  และไม่จำกัดจำนวนเที่ยวสำหรับเที่ยวบินขนส่งสินค้า, การทำการบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งสายการบินของทั้งสองฝ่ายจะทำการขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่เดินอากาศ โดยต้องไม่กระทบต่อการทำการบินแบบประจำนอกจากนี้ บันทึกความเข้าใจฯ ยังครอบคลุมถึงกรณีทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code-Sharing)โดยสายการบินที่ทั้ง2ฝ่ายกำหนด จะมีสิทธิทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินของประเทศคู่ภาคีทั้งสิ้นทางระหว่างประเทศและเส้นทางภายในประเทศ รวมถึงสามารถใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินประเทศเดียวกันและร่วมกันกับสายการบินของประเทศที่สาม, การใช้อากาศยานเช่า โดยสายการบินของแต่ละฝ่ายอาจเช่าอากาศยาน [หรืออากาศยานพร้อมลูกเรือ(wet lease)] จากบริษัทหรือสายการบินใดๆ เพื่อทำการบินได้,การกำหนดสายการบิน ที่ทั้งสองฝ่ายสามารถแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดได้หลายสายน.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเจรจาเพื่อปรับปรุงสิทธิการบินระหว่าง 2 ประเทศ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำการบินของสายการบินทั้ง 2 ฝ่าย มีความคล่องตัว เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางแผนการตลาดให้การบริการเกิดความคุ้มทุนมากขึ้น  ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกแก่ผู้โดยสารด้วย นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจการขนส่งสินค้า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้าและการบริการระหว่าง 2ประเทศให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ และยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งระดับรัฐบาลและระดับธุรกิจของ 2 ประเทศด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึก! สาวโปแลนด์ ขู่บึ้มเครื่องบินกลางอากาศ ทสภ. งัดแผนเผชิญเหตุ

ศูนย์วิทยุสุวรรณภูมิภาคพื้นดิน รับแจ้งจากกัปตันเครื่องบิน เที่ยวบิน VZ 961 ของสายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ มีผู้โดยสารขู่วางระเบิด ระหว่างบินบนอากาศ

'สนามบินสุวรรณภูมิ' ซ้อมแผนเผชิญเหตุกราดยิง

เมื่อเวลา 01.00 น. นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) เป็นประธานในจัดการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise)

'พีระพันธุ์' เยือนซาอุดีอาระเบีย ปิดดีลใหญ่ ยกระดับความร่วมมือด้านพลังงาน 'ไทย-ซาอุฯ'

ภาคต่อความสัมพันธ์ครั้งประวัติศาสตร์!! 'พีระพันธุ์' นำทีมเยือนซาอุดีอาระเบีย ถกความร่วมมือด้านพลังงานอย่างจริงใจและจริงจัง เผย‘ซาอุฯ’พร้อมลงทุนไทยในทุกมิติ นำร่องผลิตพลังงานไฮโดรเจนระดับ ‘บิ๊กดีล’ ไฟเขียวถ่ายทอดองค์ความรู้ ‘วิทยาลัยพลังงาน’ หนุนการจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันของไทย