สหรัฐ ขนทหาร 6 พันนายร่วม 'คอบร้าโกลด์2023' มากที่สุดในรอบทศวรรษ

14 ก.พ.2566 - ที่กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ. ธิติชัย เทียนทอง เสนาธิการทหาร ร่วมกับ นายโรเบิร์ต เอฟ โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แถลงข่าวการฝึก คอบร้าโกลด์ 2023 ซึ่งเป็นการฝึกครั้งที่ 42 มีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และ มาเลเซีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย และออสเตรเลีย ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติหรือ MPAT(Multinational Planning Augmentation Team) 10 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ฟิจิสหราชอาณาจักร และบรูไน สำหรับประเทศที่ เข้าร่วมในโครงการสังเกตการณ์ฝึก (Combined Observer Liaison Team) : COLT) ฃ 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว บราซิล ปากีสถาน เวียดนาม เยอรมนี สวีเดน สาธารณรัฐเฮลเลนิก คูเวต และศรีลังกา รวมทั้งสิ้น 30 ประเทศ ยอดผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน 7,394 นาย ซึ่งปีนี้เป็นวงรอบการฝึก light year

พล.อ.ธิติชัย กล่าวว่า เนื่องจากปีนี้สถานการณ์ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จึงได้กำหนดแผนการฝึกให้กลับมาฝึกเต็มรูปแบบเหมือนเดิม แต่ยังคงใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มข้น โดยกำหนดการฝึกฯ ระหว่างวันที่ 27 ก.พ.- 10 มี.ค.2566 ประกอบด้วยการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) เป็นการฝึกอำนวยการยุทธ์ของ กำลังรบขนาดใหญ่ เพื่อรองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ในทุกมิติ (All Domain Operations)ได้แก่ ทางบก ทางทะเล ​ ทางอากาศ ทางด้านไซเบอร์ และทางอวกาศ สำหรับการฝึกด้าน Cyber เป็นการฝึกการวางแผน โดยเน้นวิธีการ ตรวจสอบภัยคุกคามเบื้องต้น และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อระบบอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน

สำหรับในปีนี้ เป็นปีแรกในการฝึกทางด้านอวกาศ เข้ามาร่วมในการฝึกการวางแผนของฝ่ายเสนาธิการ ร่วม/ผสม เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงผลกระทบในส่วนของการฝึกด้านอวกาศ (Space) โดยนำผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอวกาศ ที่มีผลต่อการปฏิบัติการทางทหารในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายอำนวยการ ได้วางแผนรองรับ และใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่มีผลต่อระบบการสื่อสาร สัญญาณดาวเทียม โดยมีหน่วยงานด้านอวกาศทั้งทางทหาร และพลเรือน ของไทย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนข้อมูล และการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ

นอกจากนั้นยังมีการฝึกโครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian Civic Assistance: HCA) ได้แก่ โครงการก่อสร้าง อาคารเอนกประสงค์ส าหรับโรงเรียนในพื้นที่การฝึก จำนวน 6 พื้นที่ การฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติประกอบด้วย การฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ (HADR-TTX) ในหัวข้อบทบาททางทหาร ในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติภายใต้กลไกลการตอบสนองในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมการฝึกสาธิตฯ (HADR-Demo) ซึ่งเป็นการฝึกสาธิตแนวทางในการปฏิบัติเป็นสถานี ได้แก่ การค้นหา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย การแพทย์ฉุกเฉิน การส่งกลับสายแพทย์ สารเคมีรั่วไหล และการดับเพลิง ของประเทศต่าง ๆ

รวมถึงการฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise: FTX) ประกอบด้วย การฝึกแลกเปลี่ยน CTX และการฝึกภาคสนามของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยมีกิจกรรมที่ส าคัญ ได้แก่ การฝึกการเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ (Joint Forcible Entry Operations: JFEO) ประกอบด้วย การฝึกการยุทธ์สะเทินน้ำ สะเทินบก การกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ การอพยพพลเรือนจากพื้นที่ความขัดแย้ง และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ ด้วยกระสุนจริง

เมื่อถามถึงการพิจารณาเชิญกลุ่มประเทศร่วมการฝึก พล.อ. ธิติชัย กล่าวว่า การฝึกคอบบร้าโกล มีมานานแล้ว ได้รับการยอมรับ ซึ่งหลายชาติทาบทามเข้าร่วมมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ดำเนินตามขั้นตอน การจัดกลุ่มประเทศเข้าฝึก 30 ชาติ แบ่งเป็น กลุ่มแรก ประเทศฝึกหลักรวม 7 ประเทศ ประเทศเข้าร่วมแบบจำกัดมี 3 ประเทศ กลุ่มที่เหลือกลุ่มประเทศเข้าร่วมเป็นบางส่วน ให้จัดฝ่ายเสนาธิการร่วมฝึกจำนวน 2 นาย และกลุ่มไม่สามารถเข้าร่วมได้ คือ ผู้สังเกตุการณ์ ทั้งนี้ ประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วม หรือประเทศอยากมาสังเกตการณ์ เชิญมาเพื่อให้เห็นโปร่งใส ความจริงใจการฝึก มีหลายประเทศ รวมในอาเซียนด้วย เราจะใช้ระบบหมุนเวียน เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เชิญกลุ่มประเทศสังเกตการณ์ ทำให้มีประเทศค้างอยู่พอสมควร จึงเลือกใช้นะบบหมุนเวียนจึงทำให้ บางประเทศไม่ได้รับเชิญในวงรอบนี้ แต่ส่วนใหญ่ประเทศในอาเซียนเคยเข้ามาสังเกตุกาณ์ทุกประเทศแล้ว เช่น บลาซิล ถือเป็นครั้งแรกที่เชิญมา ส่วนประเทศเมียนมาไม่ได้เข้าร่วมในการฝึกครั้งนี้ แต่ครั้งก่อนๆ เข้าร่วม

นายเบิร์ต เอฟ โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้ไม่ใช่แค่ปีที่ 42 ของการฝึกคอบร้าโกลด์เท่านั้น แต่ยังเป็นปีที่เรามาร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบ190 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยและชาวอเมริกันเป็นแรงขับเคลื่อนให้ประเทศทั้งสองมั่นคงและมั่งคั่งยิ่งขึ้นต่อไป คุโณปการณ์ของการฝึกคอบร้าโกล์ด ที่มีต่อพลเมืองประเทศทั้งสอง ตลอดจนการอำนวยการยุทธ์ร่วม และ การฝึกภาคสนามมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกร นักเรียน ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ โดยขอยกตัวอย่างว่า ประมาณร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจโลกอยู่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน3 ของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจทั้งหมดตลอด5 ปีที่ผ่านมา อย่างน้อยการค้าขายทางทะเลทั่วโลกเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ดังนั้นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันจึงช่วยให้สินค้าที่ผู้ประกอบการชาวไทยและชาวอเมริกันส่งออกสามารถที่จะขนย้ายผ่านภูมิภาคนี้ได้อย่างเสรีไม่ว่าจะเป็นทางน่านฟ้าและทะเล จะได้ช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่งร่วมกันระหว่างสองชาติทำให้คนสองชาติเดินทางไปมาได้อย่างปลอดภัย

ในปัจจุบันไทยมีธุรกรรมหมุนเวียนทางออนไลน์ร้อยละ 35 ซึ่งเรากำลังทำงานร่วมกันเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของเรามีความมั่นคงและปลอดภัย ในส่วนข้อมูลของธนาคารโลก มี 30ประเทศ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมากที่สุด โดย 13 ประเทศอยู่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค ไทยก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบนั้นเช่นกัน การฝึกคอบร้าโกลด์ครั้งนี้จะช่วยให้เรารับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งต่อไปอย่างรวดเร็วเหมือนที่เราได้ร่วมมือกันตลอดมา การฝึกคอบร้าโกลด์ ตลอดจนความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี และพหุภาคีที่คลอบคลุมทั้งภูมิภาคนี้ ช่วยส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เศรษฐกิจของภูมิภาค แม้บุคลากรจะมาจากหลายประเทศ และภูมิภาคที่แตกต่าง แต่เราอยู่ได้ด้วยเจตจำนงค์ร่วมที่จะผดุง สันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่งในภูมิภาค พลเมืองของเราจะสร้างรากฐานที่สำคัญในการการรับมือความท้าทายที่ซับซ้อน ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้ด้วยประเทศใดประเทศหนึ่ง

“คอบร้าโกลด์มีความพิเศษไม่เหมือนใครเพราะเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของสายสัมพันธ์แห่งมิตรแท้ที่เราร่วมถักทอต่อเนื่องมาตลอด 200 ปี ทหารไทยและสหรัฐฯ หลายพันนายได้สร้างมิตรภาพอันยั่งยืนผ่านการฝึกคอบร้าโกลด์และการร่วมกิจกรรมทางทหารอื่นๆ สนธิสัญญาและการร่วมกิจกรรมทางทหารอื่นๆ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ที่เราได้ลงนามเมื่อปี2376 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นข้อตกลงทางการค้าระดับทวิภาคี ได้พัฒนากลายเป็นความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไทย การฝึกคอบร้าโกลด์ก็ต่อยอดมาจากการฝึกซ้อมทางทะเลระดับทวิภาคีขนาดเล็ก ซึ่งต่อมาก็ขยายขอบเขตกลายเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับนานาชาติที่สำคัญที่สุดในโลก” นายโรเบิร์ต กล่าว

พ.อ.เคิร์ท เลฟเลอร์ นายทหทรอาวุโส และ ผช.ฑูตทหารฝ่ายทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้สหรัฐฯ ส่งกำลังพลกว่า 6,000 นาย เข้าร่วมการฝึก ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นับว่าเรากลับสู่ "คอบร้าโกลด์ดั้งเดิม" อย่างแท้จริงในด้านขนาดการฝึก ด้านขอบเขตการฝึก ทั้งจำนวนและความซับซ้อนของกิจกรรมต่าง ๆ นั้น การฝึกคอบร้าโกลด์ในปีนี้จะล้ำหน้าไปกว่าครั้งไหน ๆ ดังนั้นผมจึงอยากชื่นชมเจ้าหน้าที่จากประเทศเข้าร่วมการฝึกชื่งวางแผนร่วมกัน ความพยายามของพวกเขารับรองว่าจะเป็นประโยชนอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ เราไม่เพียงแต่สนใจประเด็นที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ความร่วมมือของเรายังคงมั่นคงในหลายทศวรรษที่จะมาถึง เราได้บูรณาการความร่วมมือด้านไซเบอร์และอวกาศเข้ามาในการฝึก อีกทั้งยังเดินหน้าทดลองแนวทางดำเนินกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบในอนาคต ในปีนี้การฝึกการควบคุมบังคับบัญชา เป็นโอกาสนการฝึกปฏิบัติการร่วมกันด้านขั้นตอนการดำเนินงานและสื่อสารและระเบียบปฏิบัติประจำระหว่างประเทศของเรา ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการตอบสนองในระดับนานาชาติต่อสถานการณ์วิกฤตในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล

ในการฝึกภาคสนาม กองกำลังมผสมของเราจะปฏิบัติภารกิจการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการเข้าโจมตีด้วยการกระโดดร่มระยะไกล จากDiego Garcia สู่ประเทศไทย และฝึกปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งเป็นการยกพลขึ้นบกจากฝั่งอ่าวไทย หลังจากนั้นจะดำเนินการฝึกเพิ่มเติมในพื้นที่การฝึกทั่วประเทศไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้กับนาวิกโยธิน และทหารเรือของเรา ได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวและวัฒนธรรมของตน การทำความรู้จักเพื่อนใหม่แต่ถักทอสายสัมพันธ์ของเราให้ยิ่งแน่นแฟ้น และในโครงการช่วยเหลือประชาชนด้านการก่อสร้าง ทหารช่างจะใช้ทักษะฝีมือในการสร้างอาคารให้โรงเรียนในไทยนี้ เราและภาคีจะสร้างอาคาร 6 หลังด้วยกัน คือ ในลพบุรีและจันทบุรี จังหวัดละ 1 หลัง และในสระแก้วและระยอง ละ 2 หลัง

พ.อ.เคิร์ท เลฟเลอร์ ยังกล่าวถึงการฝึกด้านอวกาศว่า เราจะทำงานร่วมกันในภาพกองกำลังผสมนานาชาติ และร่วมกันหาระเบียบประจำด้านอวกาศ ตลอดจนถึงผลกระทบสิ่งต่างๆอาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติทางอวกาศ และประเด็นที่จะมีผลกระทบอวกาศ สิ่งต่างๆถือเป็นเรื่องใหม่ ทำร่วมกัน ศึกษาร่วมกัน และเป็นความท้าทาย ส่วนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลดาวเทียมสหรัฐหรือไม่นั้น พ.อ.เคิร์ท กล่าวว่า เรื่องการฝึกมีโอกาสเข้าถึงดาต้า ดาวเทียม สหรัฐด้วยเช่นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ เตือนฝนตกหนัก 40 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และอ่าวไทย

กรมอุตุฯ สยบเฟกนิวส์ ยืนยันพายุโซนร้อน 'ซีมารอน' ไม่กระทบไทย

กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงกรณีข่าวลือที่เผยแพร่ผ่านทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คในขณะนี้ว่า พายุโซนร้อนซีมารอน (Cimaron) ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนนี้ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่

'มาดามกุ๊กไก่' ภรรยา ผบ.ตร. มั่นใจชี้แจงได้ คดีเว็บพนัน-ส่วย 18 ธุรกิจสีเทา

พล.ต.ท.สรศักดิ์ เย็นเปรม ประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) เปิดเผยว่าวันนี้ได้นัดหมายนางนิภาพรรณ สุขวิมล ภรรยา พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เข้ามาให้ปากคำกรณีปมส่วย 18 ธุรกิจ

'ภูมิธรรม' เผยนายกฯ-รมต. กระจายลงพื้นที่น้ำท่วมจุดวิกฤติพรุ่งนี้ จ่อสรุปเกณฑ์เยียวยาเพิ่ม

นายภูมิธรรม​ เวช​ย​ชัย​ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.เชียงใหม่​ และเชียงราย​ ก่อนการประชุม​ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย