11 ก.พ.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศล่วงหน้า ในช่วงวันที่ 14-17 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีกำลังแรงขึ้น
ส่วนคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ. 66 ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้อัปเดตภาพกราฟิกพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 11-20 ก.พ.66 อัพเดท 2023021012 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : 11-13 ก.พ. 66 (เสาร์ -จันทร์) ฝนยังน้อย มีเกิดขึ้นได้บ้างเล็กน้อย บางแห่ง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน อากาศร้อนตอนกลางวัน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคอีสาน ประกอบกับมี ลมฝ่ายใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ ยังพัดปกคลุม ตอนเช้ายังมีอากาศเย็นและมีหมอกบางพื้นที่ ยอดดอย ยอดภู ยังมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ยังมีลมเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้ยังมีอากาศเย็นให้ได้สัมผัส
ส่วนภาคใต้ตอนล่าง มีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยถึงปานกลาง คลื่นลมในอ่าวไทย มีกำลังอ่อน ชาวเรือ ชาวประมงเดินเรือได้ตามปกติ ระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ช่วง 14 - 15 ก.พ.66 อากาศแปรปรวน จะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก #เนื่องจากจะมีมวลอากาศเย็นอีกระลอกแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคอีสาน ทิศทางลมยังแปรปรวนในช่วงแรก ก่อนที่จะกลายเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมหนาว) มีกำลังแรงขึ้น โดยเริ่มทางภาคอีสานก่อนในช่วงเย็นวันที่ 14 ก.พ.66 อากาศเย็นลง
ส่วนช่วงวันที่ 16 - 18 ก.พ.66 ยังมีคลื่นกระแสลมตะวันตกจากทางด้านประเทศเมียนมา พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง เพิ่มขึ้น และมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ส่วนภาคใต้จะเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้น คลื่นลมแรงขึ้น ต้องติดตามเฝ้าระวัง 19-20 ก.พ.66 ฝนน้อยลง ลมตะวันออกพัดปกคลุม
(ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ) เฉดสี แสดงถึงปริมาณฝนสะสมทุกๆ 24 ชม. สีฟ้าหมายถึงฝนเล็กน้อย สีแดง : ฝนตกหนัก สีชมพู: ฝนตกหนักมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั่วไทยอากาศยังหนาวเย็น ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนพื้นที่ฝนตกหนักในภาคใต้ ระวังอันตรายคลื่นลมแรง 15-18 ม.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 15-18 มกราคม 2568) ฉบับที่ 2
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย มวลอากาศเย็นมีกำลังอ่อนลง อ่าวไทย-อันดามันยังมีคลื่นลมแรง
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย รวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2568) ฉบับที่ 12
'ภูมิธรรม' สั่ง ศปช. เร่งสำรวจความเสียหายจากอุทกภัยและคลื่นซัดฝั่งภาคใต้
“ภูมิธรรม” สั่ง ศปช. เร่งสำรวจความเสียหายจากฝนตก และคลื่นซัดฝั่งภาคใต้ พร้อมสั่งเตรียมรับมือฝนตกเพิ่มอีก 15 - 17 ม.ค. 68 ส่วนเหนือ - อีสาน อากาศหนาวยาวถึงปลายเดือนนี้
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวยังพัดแรง ใต้มีฝนเพิ่มตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13 - 27 ม.ค. 68
ชาวเลเดือดร้อนหนัก! คลื่นลมแรงซัดถล่มบ้าน จ่ออพยพหนี
หลายพื้นที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนักคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงขึ้น ชาวบ้านซึ่งมีบ้านอยู่ติดชายทะเลได้รับความเดือดร้อน เช่น หมู่ 8 ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา