24 พ.ย.2564 - น.ส.ณิชชา บุญลือ สมาชิกพรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า หลังจากสภาพัฒน์เปิดเผยตัวเลขภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี มีจำนวนคนตกงาน 8.7 แสนคน เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% โดยกลุ่มที่จบปริญญาตรี ตกงานมากที่สุด รองลงมาเป็น ปวส. ส่วนใหญ่จบในสาขาบริหารธุรกิจ การตลาด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะตกงานยาวนาน เนื่องจากเศรษฐกิจยังขยายตัวอย่างจำกัด ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น และชะลอการรับแรงงานใหม่ ขณะเดียวกันประเทศไทยกำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤตการระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ระลอกสาม ที่ยังไม่มีตัวเลขใดๆที่จะให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววันหรือไม่ หากมองภาพของนโยบายฟื้นฟู หรือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ อาจจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานไทย รวมถึงการปรับโครงสร้างอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจที่ส่งผลต่อตลาดแรงงานโลก ทำให้ไม่สามารถชะลอการแก้ปัญหานี้ออกไปได้
“สถานการณ์โควิด-19 สร้างผลกระทบรุนแรงต่อตลาดแรงงาน ทำให้มีแรงงานตกงาน เป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี และยังมีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวสูงถึง 2.5 ล้านคน ซึ่งเป็นยอดตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะตลาดแรงงานไทยที่มีความอ่อนแอ ตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด จากทั้งจำนวนผู้มีงานทำ และจำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยที่มีแนวโน้มลดลงมาตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน และการออกจากแรงงานตามแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า รายได้จากการทำงานของคนไทยในภาพรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ซึ่งในปัจจัยหลายๆอย่างได้บ่งบอกว่า ลูกจ้างในระบบที่ตกงานมีการย้ายไปสู่การเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น เช่น อาชีพอิสระ งานรับจ้าง หรือธุรกิจส่วนตัว ซึ่งอาจมีรายได้น้อยกว่า แต่ได้งานทำอย่างอิสระ” นส.ณิชชา กล่าว
น.ส.ณิชชากล่าวอีกว่า ในสภาวะแบบนี้รัฐบาลต้องรีบเข้ามาแก้ไขปัญหา เพราะเป็นสภาวะที่ไม่ปกติในตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบระยะยาวในระดับโครงสร้างประเทศไทย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด ไม่ใช่การทำประชานิยมเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องมีการปรับเพิ่มฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ รวมถึงการแก้กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำมาหากินของคนตัวเล็ก เพื่อให้ประชาชนคนตัวเล็กสามารถอยู่รอดในสังคมได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์" ระดมทีมช่างฝีมือแรงงาน ทั่วภาคเหนือ ซ่อมฟรี! ระบบใช้ไฟฟ้าในบ้าน มอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยบรรเทาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย
วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 10.30น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และนางบังอร มะลิดิน
'สศช.'หนุนเจรจาหาประโยชน์ร่วมกัมพูชา
“สภาพัฒน์” หนุนเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลใช้ประโยชน์แหล่งพลังงานร่วมกันกับกัมพูชา จับตาครม. ต่ออายุ เลขาสศช.
ขึ้นค่าแรง 400 สะดุด! ไม่ทัน 1 ต.ค. 'บอร์ดไตรภาคี' เลื่อนยาว
'ปลัดแรงงาน' รับขึ้นค่าจ้าง 400 สะดุด ไม่ทัน 1 ต.ค. นี้ เหตุต้องรอ ธปท. ส่งตัวแทนคนใหม่ ร่วม คกก. ไตรภาคี
ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา