สส.มัลลิกา แนะทบทวนใหม่ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อฯ


7 ก.พ.2566 - นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 8 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2เป็นพิเศษบรรุจุวาระวันอังคาร ที่ 7 ก.พ.นั้น เป็นการที่ทั้งสองสภาจะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและเป็นการค้างมาจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่เสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อบรรจุนั้นลงลายมือเสนอโดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และเป็นร่างพระราชบัญญัติที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบให้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเป็นเจ้าภาพดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 บัดนี้ผ่านเข้าสู่ปีที่ 6 แล้วก็นำเข้าสู่การพิจารณาอย่างรวบรัดทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอย่างกว้างขวางรวมทั้งแวดวงสื่อมวลชนด้วย

" ที่เห็นได้ชัดคือสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย ออกมาคัดค้านกฎหมายนี้และเรียกว่ากฎหมายควบคุมสื่อ ส่วนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็ออกแถลงการณ์เสนอให้ถอนร่างนี้ออกไปและให้เอาไปชี้แจงต่อสาธารณะเสียก่อนด้วย

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่และสมาชิกจำนวนมากแสดงออกอย่างชัดเจนโดยการไม่เข้าร่วมประชุมส่วนด้านนอกสภาก็มีการออกแถลงการณ์ ก็ชัดเจนว่าการนำเสนอกฎหมายฉบับนี้ของรัฐบาลนั้นเป็นเรื่องนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางไม่ตกผลึกทางความคิดที่สำคัญที่สุดคือใช้เวลาร่างที่ยาวนานขณะที่บริบทของสังคมและบริบทของสื่อและนวัตกรรมของสี่อก็เปลี่ยนแปลงไปไกลแล้ว" นางมัลลิกา กล่าว

นางมัลลิกา กล่าวด้วยว่า ทุกฝ่ายแสดงความห่วงใยเรื่องนี้รวมทั้งตนด้วยเพราะในฐานะที่เคยประกอบวิชาชีพนักสื่อสารสื่อมวลชน ก็มีความกังวลประเด็นการเปิดช่องให้รัฐใช้อำนาจแทรกแซงความอิสระของสื่อมวลชนและทำลายกลไกการกำกับดูแลกันเอง ซึ่งตรงจุดนี้คือเกียรติยศของนักสื่อสารมวลชนและจุดนี้เองที่เรียกว่าจริยธรรมคุณธรรมแต่ในกฎหมายไม่สามารถนิยามสาระสำคัญนี้ได้ จึงไม่แปลกใจที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะนักสื่อสารมวลชนจะไม่ยอม

โดยเฉพาะที่มาของคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และที่มาของรายได้สภาวิชาชีพสื่อมวลชน เพราะร่างพ.ร.บ.ระบุในบทเฉพาะกาลให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นคณะกรรมการในวาระเริ่มแรกรวมทั้งให้รัฐบาลจ่ายเงินให้ทุนประเดิมและจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่าย รวมถึงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมปีละไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท ที่มาเหล่านี้ล้วนจะนำไปสู่การเข้าควบคุมสื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตนจึงเห็นว่าอะไรก็ตามที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งควรจะนุติและกลับไปทบทวน

นางมัลลิกา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับคณะรัฐมนตรีในชุดปัจจุบันด้วยเช่นกันอันเนื่องมาจากว่ากฎหมายฉบับนี้ร่างมาตั้งแต่ปี 2560 คือก่อนที่จะมีรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้วร่างมาต่อเนื่องทะลุมิติจนถึงรัฐบาลนี้ ขณะที่ผู้รับผิดชอบหลัก คือ นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน คือ พล เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เซ็นเสนอมาตอนที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดมติลับ สว.สีน้ำเงิน ‘มงคล’ นั่งประธานวุฒิฯ ‘บิ๊กเกรียง’ รองฯหนึ่ง ‘บุญส่ง’ รองฯสอง

เปิดมติลับ สว.สีน้ำเงิน 150 คนกลางวงโรงแรมพลูแมน “มงคล-สายตรงเนวิน ”ผงาดนั่งปธ.วุฒิฯ -“บิ๊กเกรียง”นั่งรองฯหนึ่ง “บุญส่ง”รองปธ.คนที่สอง

'บิ๊กป้อม' ประกาศจุดยืน พปชร. สั่ง สส. คว่ำร่างนิรโทษคดี 112 ทุกฉบับ

'บิ๊กป้อม' ส่ง 'ไพบูลย์' ย้ำจุดยืน 'พปชร.' ค้านรวมคดี ม.112 ทุกรูปแบบ ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหตุฝ่าฝืนคำวินิฉัยศาลรธน. ขืนดึงดันโหวตคว่ำตั้งแต่วาระแรก

'รัฐสภา' ไม่มีอำนาจรับรองวุฒิการศึกษา ปัดก้าวล่วงคุณสมบัติ สว.

'อาพัทธ์' โต้ 'สมชัย' รัฐสภาไม่มีอำนาจตรวจสอบ-รับรองวุฒิการศึกษา เผยต้องคุยฝ่ายกฎหมายก่อนเอาผิดได้หรือไม่ ปัดก้าวล่วงคุณสมบัติ สว.

เปิดศึก! สว.สีส้ม เตรียมชนบ้านใหญ่บุรีรัมย์ สะพัดกินเรียบ 3 เก้าอี้ใหญ่

วุฒิสภาฝุ่นตลบ เปิดอินไซด์สว.สีส้ม นัดเช็คเสียงผ่านซูม เตรียมชนบ้านใหญ่บุรีรัมย์ หลังสะพัด สีน้ำเงินรวบ 3 เก้าอี้ใหญ่สภาสูง ไม่แบ่งกลุ่มอื่น  

จับตายกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้า กังขาสภายกโขยงสัมพันธ์บริษัทจีน

นักวิชาการกังขา สภาฯ ดูงานบุหรี่ไฟฟ้าจีน ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทบุหรี่ เรียกร้องสังคมจับตา กมธ.เอาข้อมูลบริษัทบุหรี่มาอ้างยกเลิกแบนบุหรี่ไฟฟ้า