หายใจโล่ง ค่าฝุ่น PM2.5 ในกทม. ไม่เกินมาตรฐาน

7 ก.พ. 2566 – ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)

ตรวจวัดได้ 11-33 มคก./ลบ.ม.

ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 20.2 มคก./ลบ.ม.

ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลงและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 11-32 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.)

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 6 – 12 ก.พ. 2566 คาดว่าอัตราการระบายอากาศดี อากาศค่อนข้างเปิด ประกอบกับมีฝนบางพื้นที่ เนื่องจากช่วงวันที่ 7-13 ก.พ. 66 มีเมฆบางส่วน กับมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย เกิดขึ้นได้บางพื้นที่ มีลมจากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว ส่วนมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น กลางวันอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มทรงตัว และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่

ช่วงวันที่ 7-13 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมีแนวโน้มคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศที่ดีเนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น และมีลมใต้ที่มีกำลังค่อนข้างแรงช่วยพัดพาฝุ่นละออง ออกจากพื้นที่ **

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 จุด ในวันที่ 6 ก.พ. 2566 เวลา 13.29 น. เขตวังทองหลาง

แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
แอปพลิเคชัน AirBKK

www.airbkk.com
www.pr-bangkok.com

FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
FB: กรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอชูชัย' ชงยุทธศาสตร์แก้ PM2.5 หนุน HIA สร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น ภาคธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

'หมอชูชัย' ชี้ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญ เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เสนอยุทธศาสตร์สนับสนุน HIA สร้างความเข้มแข็งอบจ.และชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ เรียกร้องภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบพัฒนาอย่างยั่งยืน