รัฐบาลขอความร่วมมือเอกชน แยกขยะตามนโยบาย BCG

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือภาคเอกชน ร่วมสร้างการรับรู้และแนวทางการปฏิบัติเรื่องการแยกขยะ ตามแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

30 ม.ค.2566-นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ติดตามการดำเนินงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบายหลักของ BCG Economy Model ที่รัฐบาลให้ความสำคัญและมุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะด้านการใช้พลาสติก ที่ส่งเสริมให้นำไปรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษในปีที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยรวมถึงขยะบรรจุภัณฑ์ยังคงมีปริมาณสูงเกือบ 25 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญต่อประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในส่วนของประเภทบรรจุภัณฑ์พบว่า กลุ่มที่บรรจุเครื่องดื่มยังคงมีปริมาณการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยในปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่ยังคงมีปริมาณสูง จึงขอความร่วมมือภาคเอกชน ได้ช่วยสร้างการรับรู้และแนวทางการปฏิบัติเรื่องการแยกขยะ ตามแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

“รัฐบาลคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน นายกฯจึงขอเชิญชวนภาคเอกชนร่วมกันศึกษา และพัฒนาแนวทางการจัดการด้านขยะพลาสติกตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมและผลักดันการจัดการด้านขยะพลาสติก สร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะพลาสติกที่ถูกวิธี และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากขยะพลาสติก เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย BCG Economy Model และบรรลุตามเจตนารมณ์ของประเทศในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)”

นายอนุชา กล่าวว่า ไทยตั้งเป้านำขยะพลาสติก 7 ชนิดกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2570 ขณะที่การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมขยะพลาสติก ซึ่งจะจัดทำร่างให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567 โดยจะเป็นการออกมาตรการและกฎระเบียบเพื่อควบคุมการผลิตและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ต้องมีหลักการจัดการพลาสติกตลอด Life Cycle ตั้งแต่การออกแบบ ผลิต การใช้งานและการจัดการหลังการใช้งานเสร็จแล้ว

ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ขณะนี้ประเทศไทยมีสตาร์ตอัพภาคเอกชนที่ร่วมมือกันนำเทคโนโลยีคลาวด์ และ AI มาใช้ตรวจสอบคุณภาพวัสดุ คัดแยกประเภทบรรจุภัณฑ์ พัฒนานวัตกรรมคืนขวด “เซอร์คูล่าร์วัน (CircularOne)” ตู้คืนขวด นวัตกรรมรับผิดชอบต่อโลก ที่เปิดให้ประชาชนนำขวดชนิดต่าง ๆ เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว รวมถึงกระป๋องอะลูมิเนียมจากการใช้แล้วมาหยอดในตู้เพื่อนำไปรีไซเคิล โดยมีจุดเด่นคือ ขวดที่นำมาหยอดตู้สามารถแลกเป็นเงินคืนให้กับผู้หยอดได้ ซึ่งเมื่อหยอดขวด-บรรจุภัณฑ์ใส่ในตู้ดังกล่าว จะสามารถเลือกรับเป็นเงิน หรือรับคะแนนสะสมเพื่อไปแลกรับส่วนลดจากร้านค้า หรืออื่น ๆ ผ่านการแสกนคิวอาร์โค้ด โดย CircularOne เป็นนวัตกรรมรับคืนบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปรียูสและรีไซเคิลแบบอัตโนมัติ หรือ Reverse Vending Machine รุ่นแรกของประเทศไทย ซึ่งมีความสามารถรับคืนขวดพลาสติกใส กระป๋องอลูมิเนียม ขวดแก้ว และไปจัดเก็บ คัดแยกประเภท ไว้ในสภาพสมบูรณ์ โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดขั้นตอน และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการคัดแยกขวดบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และตอบโจทย์เรื่องการส่งขวดไปรียูสที่โรงงาน สามารถช่วยลดขั้นตอนการผลิตของโรงงานได้อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศิริกัญญา' ปูดรัฐบาลวางแผนยึดการบินไทย

“ศิริกัญญา” ชวนจับตา “รัฐบาล” วางแผนยึด “การบินไทย” ส่งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่ม 2 คน กุมเสียงข้างมาก คลังจ่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนเต็มสิทธิ์ ถามเอาเงินจากไหน ไม่พ้นต้องควักเงินภาษี

'อิ๊งค์' แค่พยักหน้า ปม รพ.ตร. ไม่ยอมส่งเวชระเบียน 'พ่อนายกฯ' ให้ ป.ป.ช.

'นายกฯอิ๊งค์' ปฏิเสธตอบคำถาม ปม รพ.ตำรวจ ไม่ส่งเวชระเบียนรักษาตัว 'ทักษิณ' หลัง ‘ป.ป.ช.’ ทวงแล้ว 3 ครั้ง ทำแค่พยักหน้ารับทราบ