23 พ.ย.2564 - เมื่อเวลา 13.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) บริษัทแม่กลุ่มทรู และกลุ่มเทเลนอร์ บริษัทแม่ของดีแทค จะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU-Memorandun of Understanding) ทางธุรกิจระหว่างกัน ว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้อยู่ในอำนาจของตนที่จะไปกำกับดูแล อย่างไรก็ตาม ในทางธุรกิจเป็นสิทธิ์ของบริษัทที่จะวางแผนหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน หรือลดค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้การบริการดีขึ้น
เมื่อถามว่า การควบรวมดังกล่าวจะเป็นการผูกขาดทางธุรกิจหรือไม่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า จะผูกขาดอย่างไร เพราะเรื่องมือถือมีการแข่งขันอยู่แล้ว และมีการกำกับดูแลโดย กสทช. ถือเป็นเรื่องปกติ ธุรกิจประเภทมีหลายเจ้า ผูกขาดไม่ได้อยู่แล้ว เขาลงทุนสูง ต้องมีการขอสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ บางประเทศยังมีแค่เจ้าเดียว ถ้ามีหลายเจ้าและต่างคนต่างลงทุนจะเป็นการสิ้นเปลือง ต้นทุนสูงขึ้น ประชาชนต้องจ่ายบริการเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนธุรกิจ ส่วนรัฐบาลเพียงเข้าไปกำกับดูแลว่าให้บริการกี่เจ้า และจะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ในอดีตเคยมีเหตุการณ์ลักษณะนี้ เช่น การควบรวมสื่อ การขายหุ้นดาวเทียม จนเหมือนการผูกขาด แล้วถูกนำไปปลุกกระแสทางการเมือง ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมมายังรัฐบาล นายชัยวุฒิ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล การควบรวมกิจการเป็นเรื่องธุรกิจ รัฐบาลไม่ได้เกี่ยวข้อง ส่วนจะทำได้หรือไม่ได้ เป็นเรื่องที่เขาต้องตกลงกัน รัฐบาลไม่มีอำนาจไปสั่งหรือกำกับดูแลโดยตรงว่าให้รวมหรือไม่รวมได้ แต่ในภาพรวมคงต้องดูว่าถ้ารวมกันแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อธุรกิจ
ถามว่า บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที จะตั้งรับอย่างไร เพื่อแข่งขันกับเอกชนให้ได้ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ยังไม่ถึงเวลา เพราะเอ็นทีก็มีธุรกิจของตัวเองอยู่แล้ว และมีรายได้ของตัวเอง ยังไม่ผลกระทบอะไร เรื่องนี้เป็นระยะยาว ให้ดูไปก่อน แต่เชื่อว่าไม่มีผลกระทบในเชิงลบแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประธานกสทช. สั่งบี้ ‘ทรู-ดีแทค’ ต่อเนื่องโต้ ‘ศิริกัญญา’ ยันบอร์ดทำตามกฎหมาย
ประธานกสทช. เดินหน้าขับเคลื่อนแผนคุ้มครองลูกค้าทรู-ดีแทค ทั้งด้านโปรโมชั่นและบริการ รับยังไม่พอใจผลการหารือกับผู้ประกอบการ เร่งสำนักงานกสทช.หาพื้นที่มีปัญหาให้ชัดจะแก้ตรงจุด ตอบโต้ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ย้ำวาระบอร์ดทำตามกระบวนการกฎหมาย กรรมการ 4 คน เสนอมาก็ต้องไม่ลัดขั้นตอนหรือใช้ต่อรองเพื่อเข้าร่วมประชุม
กสทช.ตื่นนัดสื่อแถลงข่าวมาตรการเยียวยาผู้บริโภค กรณีทรู-ดีแทค วันนี้
ผู้สื่อข่าว รายงานข่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้แจ้งสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ จะมีการจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้บริโภคในเรื่องอัตราค่าบริการ คุณภาพสัญญาณ
'ทรู' โร่ชี้แจง กสทช. ยันหลังควบรวมดีแทค สัญญาณดีขึ้น - ลูกค้าใช้งานเพิ่ม
ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าชี้แจง กสทช. คลายปมประเด็นคุณภาพสัญญาณ และแพ็กเกจค่าบริการย้ำจุดยืนควบรวมสู่บริษัทโทรคมนาคม - เทคโนโลยีชั้นนำของไทย เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า
ทรู - ดีแทค แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ
เนื่องจาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีหลายฝ่าย อาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง แล้วมีการสื่อสารจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้บริการของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่ง บริษัทฯ ได้ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายรวมทั้งเงื่อนไขภายหลังการควบรวมของ กสทช. มาโดยตลอด
ทรู ยืนยันผลคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไม่กระทบการควบรวมทรู ดีแทค
ตามที่เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม 2566) ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องในคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติ กสทช. ที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปนั้น