'เพื่อไทย' ข้องใจรัฐบาลเพิ่งออก พ.ร.ก.อาชญากรรมไซเบอร์ทั้งที่มีอำนาจเต็ม เห็นด้วยกับกฎหมายแต่ยังติดใจใน 2 เรื่อง พร้อมจี้ 'ชัยวุฒิ' ปราบแก๊งต้มตุ๋น
25 ม.ค.2566 - นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 อนุมัติร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ ว่าเหตุใดรัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่มา 8 ปีเพิ่งจะคิดทำเอาตอนนี้ ทั้งที่การออก พ.ร.ก.เป็นอำนาจเต็มของรัฐบาลที่ทำได้ทันที และทุกภาคส่วนก็เรียกร้องให้ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจังมานานมากแล้ว
“ที่ผ่านมาเกิดปัญหาภัยไซเบอร์มากมาย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีดีอีเอส ที่มีอำนาจอยู่เต็มมือ ต้องอธิบายกับสังคมให้ได้ว่าจงใจปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการให้เด็ดขาดหรือไม่ หรือดำเนินการล่าช้าเพราะอยู่ภายใต้รัฐบาลที่ทำงานไม่เป็น จนเกิดเป็นหลักฐานความล้มเหลวคาตาประชาชนมากมาย ทั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เว็บไซต์หลอกลวงและพนันออนไลน์ แอปพลิเคชันฝังมัลแวร์ล้วงข้อมูลประชาชนตลอดจนคดีออนไลน์กว่า 114,000 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 22,000 ล้านบาท”
นายชนินทร์กล่าวอีกว่า เห็นด้วยกับเนื้อหาหลายส่วนใน พ.ร.ก. แต่ยังมีข้อกังวล 2 ประการเกี่ยวกับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า 1.มีหน้าที่และอำนาจอย่างไรบ้าง เพราะควรมีความพอดีในอำนาจสิทธิ์ขาด อย่าให้เกิดการให้อำนาจล้นจนละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน และ 2.จะมีส่วนช่วยให้การแก้ปัญหาให้รวดเร็วขึ้นได้อย่างไร เพราะปัญหาเดิมที่แก้ไม่ได้คือความล่าช้าและไม่จริงใจในการดำเนินการ ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอท. รวมถึง ปปง. ทำงานเหนื่อยอยู่ปลายทางไปเรื่อยๆ แต่ไม่มีการแก้ไขเชิงรุก หรือเข้าไปดำเนินปิดกั้นเว็บไซต์ - แอปพลิเคชันที่ผิดกฎหมายอย่างรวดเร็ว เช่น แอปพลิเคชันล้วงข้อมูลกว่า 200 แอปที่มีการตรวจพบแล้ว แต่กลับไม่มีการขยายผลสร้างระบบป้องกัน ทำเพียงประกาศให้ประชาชนสำรวจด้วยตัวเอง หรือกรณีมีการพัฒนาแอปเตือนเบอร์โทรศัพท์เข้าที่มีความเสี่ยงเป็นเบอร์หลอกลวง ที่รัฐมนตรีเคยอ้างว่ากำลังพัฒนาอยู่ ก็ไม่เห็นมีความคืบหน้า ปล่อยให้ประชาชนโดนหลอกลวงซ้ำซากอยู่รายวัน สูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิตไปไม่น้อย
“รัฐมนตรีดีอีเอสต้องทำให้ชาวโลกเห็นว่า ประเทศไทยไม่ใช่สวรรค์ของธุรกิจสีเทา ไม่ใช่ประเทศที่คนพวกนี้จะเข้ามาหาประโยชน์จากพี่น้องประชาชนจนเฟื่องฟู พวกเขารวยขึ้น แต่คนไทยถูกหลอกจนหมดตัว ประเทศไทยต้องไม่เป็นฐานที่มั่นของแก๊งต้มตุ๋นหลอกลวงอีกต่อไป”นายชนินทร์กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้